DSpace Repository

เทคนิคการฟื้นสภาพดินโดยการเติมธาตุอาหารธรรมชาติจากหินบะซอลต์ผุ: การทดลองสำหรับปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในจังหวัดอุดรธานี

Show simple item record

dc.contributor.advisor มนตรี ชูวงษ์
dc.contributor.author วีระพล แก้วอินทร์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned 2024-02-05T10:06:37Z
dc.date.available 2024-02-05T10:06:37Z
dc.date.issued 2565
dc.identifier.uri https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84237
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565
dc.description.abstract หินบะซอลต์อุดมไปด้วยซิลิกาและสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช ดินบะซอลต์ที่เกิดจากการผุพังและย่อยสลายของหินบะซอลต์นั้นยังประกอบไปด้วยธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และจุลธาตุซึ่งมีความจำเป็นสำหรับพืช รวมถึงมีความสำคัญต่อลักษณะเฉพาะบางประการและพืชบางชนิดด้วย เช่น กลิ่นหอมของข้าว เป็นต้น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาแหล่งหินบะซอลต์ผุที่มีศักยภาพ  ทั้งลักษณะทางกายภาพ เคมี และมีความเหมาะสมเชิงพื้นที่ เพื่อนำบะซอลต์ผุที่มีศักยภาพเหล่านั้นไปทดลองปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 (KDML105) วัดผลอัตราการเติบโตรวมถึงผลผลิตของข้าวด้วย เราให้ความสนใจพื้นที่เขากระโดงซึ่งเป็นภูเขาไฟที่ดับแล้วและมีบะซอลต์ผุอยู่มากมายทั้งบริเวณโดยรอบและบริเวณใกล้เคียง วิธีการเริ่มจากการประมวลผลภาพถ่ายดาวเทียมจำนวน 3 ดวงด้วยเทคนิค GIS เพื่อค้นหาและเปรียบเทียบขอบเขตและการกระจายตัวของบะซอลต์ จากนั้นจึงกำหนดพื้นที่เป้าหมาย 3 แห่ง สำหรับการขุดดินบะซอลต์ วิเคราะห์ตัวอย่างดินจาก 7 โปรไฟล์ด้วย XRD และ XRF พบว่าพื้นที่หลังองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยราช ไปทางทิศใต้ประมาณ 0.8 กิโลเมตร เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพและมีความเหมาะสมที่สุด จากนั้นจึงนำบะซอลต์ผุไปทำการทดลองแบบ RCBD ในพื้นที่ทดลองในจังหวัดอุดรธานี ทำการสังเกตการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวขาวดอกมะลิ 105 รวมถึงการตรวจวัดคุณสมบัติทางด้านความหอมของเมล็ดข้าวด้วย ผลการวิจัยพบว่าหินบะซอลต์ผุมีผลต่อความสูงของต้นข้าว การแตกหน่อ จำนวนรวง จำนวนเมล็ดต่อรวง และน้ำหนักผลผลิตโดยรวม บะซอลต์ผุ 25% ต่อดินเสื่อมโทรม 75% คืออัตราส่วนที่เหมาะสมในการปรับสภาพดินที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของข้าวได้ดีทำให้ข้าวมีความสมบูรณ์ทั้งระยะการเจริญเติบโตช่วงต้นและระยะการสร้างเมล็ด รวมถึงทำให้ได้ผลผลิตรวมที่ดีที่สุดสำหรับการทดลองในครั้งนี้
dc.description.abstractalternative Basalt is rich in silica and essential nutrients for plant growth. Residual basaltic soil contains various primary, secondary, and micronutrients, including some unique plant characteristics, such as the fragrance of rice. This research aimed to find residual basalt sites where relevant physical, chemical, and spatial characteristics are appropriate to test the growth rate of KDML 105. We focused on the Khao Kradong where extinct volcanoes and residual soils are extensively located nearby. The method started with the processing in three series of satellite images by GIS technique. As a result, we determined three target areas for excavating the residual soils. Soil samples from 7 profiles were analyzed by XRD and XRF.   We found that the area behind Huai Rat Sub-district Administrative Organization to the south, about 0.8 kilometers, is the most suitable among all of basaltic residual soil sites. Then, the residual basalt was used for the RCBD experiment in UdonThani province where the observation of KDML 105 growth and yield, coupled with aromatic properties were carried out. The results showed that residual basalt significantly affected the height of rice, germination, number of ears, number of seeds per ear, and the total yield weight. Overall, the specific properties of weathering basalt that are rich in plant nutrients in an appropriate ratio of 1 part of residual basalt to 3 parts of soil degradation will help to improve the soil condition to be suitable for the rice growth, and yield.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Earth and Planetary Sciences
dc.subject.classification Agricultural and Biological Sciences
dc.subject.classification Environmental Science
dc.subject.classification Agriculture,forestry and fishing
dc.subject.classification Crop and livestock production
dc.title เทคนิคการฟื้นสภาพดินโดยการเติมธาตุอาหารธรรมชาติจากหินบะซอลต์ผุ: การทดลองสำหรับปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในจังหวัดอุดรธานี
dc.title.alternative Re-soil technique by adding natural nutrient from residual basalt: an experiment for KDML 105 in Udonthani province
dc.type Thesis
dc.degree.name วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record