DSpace Repository

การกักเก็บน้ำหอมโดยใช้โซเดียมไตรโพลีฟอสเฟตและแป้งดัดแปรสำหรับผงซักฟอก

Show simple item record

dc.contributor.advisor อภินันท์ สุทธิธารธวัช
dc.contributor.author ธีราพัฒน์ บุญชัยพัฒน์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2024-02-05T10:12:27Z
dc.date.available 2024-02-05T10:12:27Z
dc.date.issued 2566
dc.identifier.uri https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84307
dc.description วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2566
dc.description.abstract น้ำหอมเป็นหนึ่งในองค์ประกอบหลักที่สำคัญของผงซักฟอก  มีหน้าที่ให้ความหอมแก่เนื้อผ้า  ทั้งยังมีส่วนดึงดูดให้ผู้ใช้ตัดสินใจเลือกซื้อ  ในกระบวนการผลิตผงซักฟอกโดยทั่วไปนั้น  น้ำหอมจะถูกผสมลงไปในรูปของเหลว  ซึ่งเพิ่มความชื้นให้แก่ผงซักฟอก  และหากเติมมากจนเกินไปผงซักฟอกก็จะจับตัวกันเป็นก้อน  ดังนั้น  การใช้น้ำหอมในรูปแบบผงจึงถูกพัฒนาขึ้นเพื่อลดข้อด้อยดังกล่าว  ผู้ผลิตรายใหญ่เริ่มปรับเปลี่ยนมาใช้ผงน้ำหอม  ซึ่งทำมาจาก Melamine-formaldehyde ที่ห่อหุ่มน้ำหอมไว้ในรูปแบบผง  แต่สารห่อหุ้มดังกล่าวก็ยังมีข้อเสียที่ปลดปล่อย Microplastic กลับสู่สิ่งแวดล้อม  เพื่อแก้ไขจุดอ่อนนี้  สารห่อหุ่มชนิดต่างๆ จึงได้รับการพัฒนาขึ้น  รวมถึงงานวิจัยนี้ที่จะนำเสนอแนวทางการทำผงน้ำหอมด้วยเทคนิคสเปรย์ดราย  โดยนำส่วนผสมที่มีอยู่แล้วในผงซักฟอกนำมาใช้เป็นสารห่อหุ้ม  สำหรับงานวิจัยนี้ได้เลือกใช้ Sodium tripolyphosphate (STPP) และ HI-CAP® 100 (HICAP) เป็นสารห่อหุ้ม  มี D-limonene (DL) เป็นน้ำหอมต้นแบบ  มี Solid content = 21%  และมี Core/Wall Ratio = 0.2  การทำผงน้ำหอมมีด้วยกัน 2 ขั้นตอน  คือ  การทำอิมัลชันและการทำสเปรย์ดราย  โดยทำการทดลองเปลี่ยนแปลงอัตราส่วน STPP : HICAP ในขั้นตอนการเตรียมอิมัลชัน  และเปลี่ยนแปลง Inlet Temperature ในการขั้นตอนการทำสเปรย์ดราย  ผลที่ได้คือ  วิธีการเติม STPP มีผลต่อขนาดและการกระจายตัวของอนุภาคอิมัลชัน  โดยที่ HICAP มีส่วนช่วยในการรวมตัวเป็นอิมัลชันได้ดีขึ้น  สำหรับอัตราส่วนระหว่าง STPP : HICAP ที่ 1 : 1 นั้นมีมากเพียงพอที่จะห่อหุ้ม DL ไว้  ทั้งนี้  ขนาดและการกระจายตัวของอนุภาคอิมัลชัน  ไม่ได้เป็นปัจจัยเดียวที่ส่งผลต่อการกักเก็บน้ำหอม  อัตราส่วนของสารห่อหุ้มก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่ง  สำหรับการเพิ่ม Inlet temperature  ในขั้นตอนการทำสเปรย์ดราย  มีส่วนทำให้ปริมาณ DL บนพื้นผิวและความชื้นของผงน้ำหอมลดลง  ในขณะที่เมื่อดูลักษณะทางกายภาพของผงน้ำหอม  พื้นผิวของผงน้ำหอมที่มีลักษณะเป็นทรงกลมและผิวย่น  สามารถบ่งบอกเบื้องต้นได้ว่ามีปริมาณ DL ที่คงอยู่ในผงน้ำหอมมากกว่า  พื้นผิวของผงน้ำหอมที่มีลักษณะทรงกลมผิวเรียบ  และเมื่อศึกษาในด้านความคงตัว STPP กับ HICAP  สามารถห่อหุ้มป้องกันการออกซิไดซ์ของ DL ในผงซักฟอกได้ในช่วง 21 วัน  โดยผงซักฟอกที่ใส่ผงน้ำหอมที่มีปริมาณ HICAP มาก  จะแสดงลักษณะการเสื่อมสภาพของผงซักฟอกได้ชัดเจนขึ้น
dc.description.abstractalternative Fragrance plays an essential role in detergents, serving both aesthetic and marketing functions.  In traditional detergent manufacturing, liquid perfume is incorporated, introducing moisture and the risk of clumping if excessive.  To address this concern, perfume in powder form has been introduced, notably utilizing melamine-formaldehyde as an encapsulant.  However, the environmental release of microplastics remains a drawback.  In response to this issue, various encapsulating materials have been investigated, including the focus of this research, which aims to establish guidelines for perfume powder using the spray drying technique.  Sodium tripolyphosphate (STPP) and HI-CAP® 100 (HICAP) were chosen as wall-materials, with D-limonene (DL) as a model perfume, maintaining a solid content of 21%, and a Core/Wall Ratio of 0.2.  The production of perfume powder involves two key steps: emulsion preparation and spray drying.  The experimental manipulation of the STPP:HICAP ratio during emulsion preparation revealed that a 1:1 ratio is sufficient for effective DL encapsulation.  However, the method of adding STPP affected emulsion particle size distribution, while HICAP contributed to enhanced emulsion combination.  Additionally, varying the Inlet Temperature during the spray drying process demonstrated its impact on DL content on surface, and moisture content in the perfume powder.  The morphology of the perfume powder revealed distinct surface characteristics, indicating varying DL concentrations.  Moreover, the stability of the perfume powder was assessed over 21 days.  However, detergent formulations with a higher HICAP content exhibited more pronounced deterioration characteristics.  This research provides valuable insights into optimizing the encapsulation of perfume in detergent powders, contributing to both aesthetic and functional aspects.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Chemical Engineering
dc.subject.classification Manufacturing
dc.subject.classification Chemical and process
dc.title การกักเก็บน้ำหอมโดยใช้โซเดียมไตรโพลีฟอสเฟตและแป้งดัดแปรสำหรับผงซักฟอก
dc.title.alternative Fragrance encapsulation using sodium tripolyphosphate and a modified starch for powder detergent
dc.type Thesis
dc.degree.name วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline วิศวกรรมเคมี
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record