DSpace Repository

Influence of rice bran wax and policosanol organogels on physicochemical properties of water-in-oil emulsion

Show simple item record

dc.contributor.advisor Sasikan Kupongsak
dc.contributor.author Sawanya Pandolsook
dc.contributor.other Chulalongkorn University. Faculty of Science
dc.date.accessioned 2024-02-05T10:34:55Z
dc.date.available 2024-02-05T10:34:55Z
dc.date.issued 2018
dc.identifier.uri https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84358
dc.description Thesis (Ph.D.)--Chulalongkorn University, 2018
dc.description.abstract Bleached rice bran wax (BRX) is a by-product of rice bran oil purification. It has a variety of uses in the food industry and can also be utilized as a gelling agent in food. This research aims to study the production of organogels and water-in-oil emulsion (W/O emulsion) from BRX and policosanol (PC) extracted from BRX. Physicochemical properties and changes in properties during storage at 4°C and 30°C for 90 days were evaluated. Regarding morphology, BRX appeared to have a needle-like shape and an arrangement with beta prime- and beta- form formations. BRX had a high crystalline temperature (TC) and melting temperature (TM) of 71.47°C and 73.99°C, respectively. Bleached rice bran wax organogels (BRXO) were prepared by mixing rice bran oil with BRX at wax concentrations of 3, 5, 7 and 9 wt%. BRXO formed gels at a minimum concentration of 5 wt%. The concentration of added wax influenced physicochemical properties of BRXO, including gelation time, oil binding capacity, colour, solid fat content, textural characteristics, crystal morphology and thermal behaviour (p
dc.description.abstractalternative ไขรำข้าวฟอกสี (BRX) เป็นผลพลอยได้จากกระบวนทำบริสุทธิ์น้ำมันรำข้าว ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์สำหรับอุตสาหกรรมอาหารได้หลากหลาย และสามารถนำมาใช้เพื่อเป็นสารก่อเจลในอาหารได้ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาการผลิตออร์แกโนเจล และอิมัลชันชนิดน้ำในน้ำมัน (W/O emulsion) จาก BRX และโพลิโคซานอล (PC) ที่สกัดได้จาก BRX ศึกษาคุณสมบัติทางเคมีกายภาพ และการเปลี่ยนแปลงสมบัติระหว่างการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 4 และ 30ºC นาน 90 วัน ลักษณะผลึกของ BRX มีลักษณะแบบรูปร่างคล้ายเข็ม (needle-like) และมีการจัดเรียงตัวแบบ beta prime- และ beta-form BRX มีอุณหภูมิในการเกิดผลึก (TC) และอุณหภูมิในการหลอมเหลว (TM) สูง เท่ากับ 71.47 และ 73.99ºC ตามลำดับ ออร์แกโนเจลจากไขรำข้าวฟอกสี (BRXOs) ผลิตโดยผสมน้ำมันรำข้าวกับ BRX ที่ระดับความเข้มข้นของไขร้อยละ 3, 5, 7 และ 9 โดยน้ำหนัก BRXO สามารถเกิดเจลได้ที่ระดับความเข้มข้นของไขต่ำสุดเท่ากับ ร้อยละ 5 โดยระดับความเข้มข้นของไขที่เติมมีอิทธิพลต่อคุณสมบัติทางเคมีกายภาพของ BRXO ได้แก่ ระยะเวลาในการเกิดเจล ความสามารถในการกักเก็บน้ำมัน สี ปริมาณไขมันแข็ง (SFC) ลักษณะเนื้อสัมผัส ลักษณะผลึก และพฤติกรรมทางความร้อน (p < 0.05) เมื่อนำ BRXO ที่ระดับความเข้มข้นไข ร้อยละ 9 มาผลิตอิมัลชัน (EO) พบว่า EO มีความคงตัวที่ดี ระหว่างการเก็บรักษาตัวอย่าง BRXO และ EO มีความคงตัวต่อการเปลี่ยนแปลงคุณภาพทางเคมีกายภาพ และแสดงให้เห็นถึงความคงตัวต่อการเกิดออกซิเดชัน เมื่อพิจารณาค่าเปอร์ออกไซด์ (PV) และค่า Thiobarbituric acid reactive substances (TBARS) พบว่า BRXO และ EO มีความคงตัวต่อการเกิดออกซิเดชันมากกว่าน้ำมันรำข้าว (RO) และอิมัลชันที่ไม่มีการเติมออร์แกโนเจล (E) ตามลำดับ ปริมาณพอลิโคซานอล (PC) ที่สกัดจาก BRX เท่ากับร้อยละ 31.21 โดยน้ำหนัก องค์ประกอบของ PC ที่สกัดได้ ประกอบด้วย tetracosanol (C24), hexacosanol (C26), octacosanol (C28), และ triacosanol (C30) เท่ากับ 58.63, 75.93, 125.50 และ143.24 มิลลิกรัม/กรัมตัวอย่าง ตามลำดับ PC มีค่า TC และTM เท่ากับ 79.53 และ 78.15ºC ผลึกของ PC มีลักษณะคล้ายเข็ม และจัดเรียงตัวแบบ beta prime- และ beta-form ผลิตออร์แกโนเจลจาก PC (PCOs) โดยผสมน้ำมันรำข้าวกับสารสกัด PC ที่ระดับความเข้มข้นร้อยละ 12.5, 13 และ 15 โดยน้ำหนัก พบว่า ที่ความเข้มข้นของ PC ร้อยละ 15 ให้ออร์แกโนเจลที่มีคุณภาพทางเคมีกายภาพดีที่สุด คุณลักษณะของ PCOs เปลี่ยนแปลงตามความเข้มข้นของ PC (p < 0.05) เช่นเดียวกับลักษณะของ BRXO ลักษณะผลึกของ PCOs เป็นแบบ dendrite-like และเปลี่ยนเป็นแบบ spherulite เมื่อระยะเวลาการเก็บรักษาเพิ่มขึ้น อิมัลชันที่ผลิตจาก PCO ที่ความเข้มข้น PC ร้อยละ15 (PCE) และอิมัลชันที่ผสม PCO และ BRXO ในอัตราส่วน 50:50 (PCM) แสดงให้เห็นว่าอิมัลชันมีความคงตัว และมีโครงสร้างที่แข็งแรง ตัวอย่าง PCO, PCE และ PCM มีความคงตัวต่อการเกิดออกซิเดชันสูง โดยพบว่าค่า PV ของ PCE และ PCM สูงกว่า EO ขณะที่ TBARS มีค่าที่ใกล้เคียงกัน
dc.language.iso en
dc.publisher Chulalongkorn University
dc.rights Chulalongkorn University
dc.subject.classification Agricultural and Biological Sciences
dc.subject.classification Agriculture,forestry and fishing
dc.title Influence of rice bran wax and policosanol organogels on physicochemical properties of water-in-oil emulsion
dc.title.alternative อิทธิพลของออร์แกโนเจลจากไขรำข้าวและออร์แกโนเจลจากพอลิโคซานอลต่อสมบัติทางเคมีกายภาพของอิมัลชันชนิดน้ำในน้ำมัน
dc.type Thesis
dc.degree.name Doctor of Philosophy
dc.degree.level Doctoral Degree
dc.degree.discipline Food Technology
dc.degree.grantor Chulalongkorn University


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record