dc.contributor.advisor |
ณัฏฐพล ภู่ตระกูลโชติ |
|
dc.contributor.advisor |
สมชาย เกียรติกมลชัย |
|
dc.contributor.author |
สุทธิดา จงอุดมฤกษ์ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2024-02-05T10:35:03Z |
|
dc.date.available |
2024-02-05T10:35:03Z |
|
dc.date.issued |
2562 |
|
dc.identifier.uri |
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84381 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562 |
|
dc.description.abstract |
ในงานวิจัยที่ผ่านมามีแนวความคิดสร้างอุปกรณ์ร่วมระหว่างเซลล์สุริยะและเทอร์โมอิเล็กทริกเพื่อใช้แปลงพลังงานจากแสงและความร้อนที่ได้จากดวงอาทิตย์มาผลิตไฟฟ้าได้ในเวลาเดียวกัน อย่างไรก็ตาม อุปกรณ์ร่วมดังกล่าวผลิตจากวัสดุมีที่มีโลหะหนักและเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้น ในงานวิจัยนี้จึงได้ศึกษาสมบัติทางเทอร์โมอิเล็กทริกของพอลิเมอร์ที่มีหมู่ฟังก์ชั่นชนิดพอลิ(3,4เอททีลีนไดออกซีไทโอฟีน):พอลิ(สไตรีนซัลโฟเนต) (PEDOT:PSS) เพื่อนำมาใช้เป็นวัสดุเทอร์โมอิเล็กทริกทดแทนวัสดุที่เป็นพิษดังกล่าวข้างต้น จากผลการทดสอบเบื้องต้น พบว่า สภาพนำไฟฟ้าของ PEDOT:PSS เมื่อเติมสารเจือชนิดเอททีลีนไกลคอล (EG) เพิ่มขึ้นเมื่อปริมาณร้อยละของ EG เพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่สัมประสิทธิ์ซีเบกมีค่าคงที่และมีค่าเพิ่มขึ้นเป็น 20.0±0.1 μV/K เมื่อเติมสารเจือชนิดไฮดราซีนไฮเดรต ร้อยละ 1.58 โดยน้ำหนัก อย่างไรก็ตาม สภาพนำไฟฟ้าของ PEDOT:PSS เจือด้วย EG ร้อยละ 48 โดยน้ำหนักมีค่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเติมสารเจือชนิดไฮดราซีนไฮเดรต เมื่อพิจารณาผลของแฟกเตอร์กำลังไฟฟ้ามีค่าสูงสุดที่ 4.38±0.40 µW/m∙K2 เมื่อเติมสารเจือ EG ร้อยละ 48 โดยน้ำหนักและปราศจากการเจือด้วยสารเจือชนิดไฮดราซีนไฮเดรต ผลการนำสารละลาย PEDOT:PSS ที่ผ่านการปรับปรุงสมบัติทางเทอร์โมอิเล็กทริกมาขึ้นรูปเป็นวัสดุเทอร์โมอิเล็กทริกเพื่อใช้ในอุปกรณ์ร่วมเซลล์สุริยะ/เทอร์โมอิเล็กทริก พบว่า อุปกรณ์ร่วมเซลล์สุริยะ/เทอร์โมอิเล็กทริกสามารถผลิตกำลังไฟฟ้าได้มากกว่าเซลล์สุริยะเดี่ยวได้ถึง ร้อยละ 15 ที่ผลต่างอุณหภูมิ 35 องศาเซลเซียสระหว่างฝั่งด้านร้อนและด้านเย็นของเทอร์โมอิเล็กทริก ผลงานวิจัยที่ได้สามารถใช้เป็นพื้นฐานเพื่อต่อยอดแนวคิดสำหรับการพัฒนาอุปกรณ์ร่วมเซลล์สุริยะ/เทอร์โมอิเล็กทริก สำหรับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์อย่างมีประสิทธิผลโดยใช้วัสดุเทอร์โมอิเล็กทริกฐานพอลิเมอร์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม |
|
dc.description.abstractalternative |
To generate electrical power from both sunlight and sun heat simultaneously, the concept of hybrid photovoltaic (PV) and thermoelectric (TE) solar converter has been proposed. Recent research on PV/TE devices are based on heavy metals which are toxic to environment. This research investigates the thermoelectric properties of the functional polymer; poly (3,4-ethylenedioxythiophene) - poly (styrenesulfonate) (PEDOT:PSS), and its use as thermoelectric materials incorporate with the PV device to obtain the efficient hybrid PV/TE solar converter. Preliminary results reveal that the electrical conductivity of PEDOT:PSS proportionally increases with an addition of 0-48% weight of ethylene glycol(EG); the Seebeck coefficient remains unchanged. The Seebeck coefficient of PEDOT:PSS reads 20.0±0.1 µV/K when 1.58% weight of hydrazine hydrate was added. However, the electrical conductivity of PEDOT:PSS mixed with 48% of EG drops significantly with increasing hydrazine hydrate content in it. The maximum power factor of 4.38±0.40 µW/m∙K2 was obtained from PEDOT:PSS with 48% weight of EG without hydrazine hydrate. The results suggest that EG modified PEDOT:PSS can be further applied to produce the hybrid solar cell/thermoelectric device. Preliminary tests showed that this hybrid solar cell/thermoelectric device generates the power output 15% higher than solar cell alone at different temperature 35°C between cold side and hot side of thermoelectric material. The results provide the novel strategy to utilize solar energy to generate power effectively using an environmental-friendly, polymer-based hybrid device. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject.classification |
Energy |
|
dc.subject.classification |
Other service activities |
|
dc.title |
อุปกรณ์ไฮบริดเซลล์สุริยะ/เทอร์โมอิเล็กทริกสำหรับการใช้พลังงานแสงอาทิตย์อย่างมีประสิทธิภาพ |
|
dc.title.alternative |
Solar cell/thermoelectric hybrid device for efficient utilization of solar energy |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
เคมีเทคนิค |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|