DSpace Repository

การพัฒนาอิมัลชันลิพิดทางการแพทย์โดยใช้เลซิทินที่มีกรดไขมันชนิดโอเมก้า 3 เป็นตัวอิมัลซิฟายเออร์ : รายงานวิจัย

Show simple item record

dc.contributor.author วินัย ดะห์ลัน
dc.contributor.author สมเกียรติ ปิยะธีรธิติวรกุล
dc.contributor.author วิชัย เชิดชีวศาสตร์
dc.contributor.author สุพันธิตรา ชาญประเสริฐ
dc.contributor.author โสภณา จาตนิลพันธ์
dc.contributor.author พิมพ์พร อินนพคุณ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสหเวชศาสตร์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสหเวชศาสตร์
dc.contributor.other ไม่มีข้อมูล
dc.contributor.other ไม่มีข้อมูล
dc.date.accessioned 2008-11-13T06:59:54Z
dc.date.available 2008-11-13T06:59:54Z
dc.date.issued 2542
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8442
dc.description.abstract ความเป็นมา การให้อิมัลชันลิพิดทางหลอดเลือดผู้ป่วยเป็นเวลานาน เลซิทินที่ใช้เป็นอิมัลซิฟายเออร์ของอิมัลชันลิพิดสามารถเหนี่ยวนำให้ดุลของฟอสโฟลิปิดบนเมมเบรนของเซลล์เปลี่ยนแปลง ก่อให้เกิดผลเชิงบวกและเชิงลบต่ออุบัติการณ์เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เลซิทินที่ใช้เป็นอิมัลซิฟายเออร์ทั่วไปมีกรดไขมันโอเมก้า 6 เป็นหลักอาจก่อผลเชิงลบ ขณะเดียวกันมีข้อมูลสนับสนุนว่าการให้เลซิทินที่มีโอเมก้า 3 ให้ผลเขิงบวก อย่างไรก็ตามยังไม่มีข้อมูลสนับสนุนว่าเลซิทินที่มีโอเมก้า 3 เป็นอิมัลซิฟายเออร์ที่ดีสำหรับการเตรียมอิมัลชันลิพิดหรือไม่ วัตถุประสงค์ การวิจัยครั้งนี้เพื่อหาแหล่งของเลซิทินที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 ในปริมาณสูง ใช้เลซิทินดังกล่าวในการพัฒนาอิมัลชันลิพิดและทดสอบการย่อยสลายอิมัลชันลิพิดด้วยเอนไซม์ไลเปส โดยเปรียบเทียบกับอิมัลชันลิพิดที่เตรียมจากเลซิทินของไข่แดงและเลซิทินของถั่วเหลือง วิธีการ ทำการศึกษาวัตถุดิบชนิดต่างๆ ได้แก่ ปลาป่น (FM) ไข่แดง (EY) ถั่วเหลือง (SY) วิเคราะห์ปริมาณกรดไขมันตลอดจนชนิดของเลซิทินที่พบในวัตถุดิบ ทำการคัดเลือกแหล่งที่มีเลซิทินชนิดที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 ปริมาณสูง พัฒนาวิธีการสกัดเลซิทินออกจากวัตถุดิบดังกล่าว จัดเตรียมอิลมัลชันลิพิดที่มีเลซิทินสูง (LRFE) และศึกษาคุณสมบัติทางเคมีของพาร์ติเคิลของอิมัลชันและการย่อยสลายพาร์ติเคิลอิมัลชันลิพิดโดยเอนไซม์ไลเปส ผลการศึกษาและวิจารณ์ การศึกษา พบว่าปลาป่นท้องถิ่นและต่างประเทศมีไขมันและเลซิทินเป็นองค์ประกอบ 11-14 และ 1-2 กรัม/100 กรัมตัวอย่างตามลำดับ มีกรดดีเอชเอซึ่งเป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูงกลุ่มโอเมก้า 3 อยู่ในเลซิทิน 11-21% การเตรียมเลซิทินทำโดยสกัดปลาป่นต่างประเทศด้วยตัวทำละลายอินทรีย์สามชนิดตามลำดับคือ เมธานอล/นอร์มอลเฮกเซน/อะซีโตน เลซิทินที่สกัดได้มีฟอสโฟลิปิดชนิดที่มีโคลีนสูงถึง 68% และมีกรดดีเอชเอ 17.5% การใช้ methanol ในการสกัดทำให้ปริมาณเลซิทินที่สกัดได้สูงกว่าการใช้ ethanol 10% มีดีเอชเอสูงกว่า 20% เมื่อเตรียมอิมัลชันที่มีเลซิทินสูง พบว่าอิมัลชันลิพิดที่มีเลซิทินสูงของปลาป่น (FM-LRFE) มีกรดดีเอชเอบริเวณผิวอิมัลชันเฉลี่ย 28.10 สูงกว่าที่พบในอิมัลชันที่เตรียมจากเลซิทินไข่ไก่ (EY-LRFE) และถั่วเหลือง (SY-LRFE) ซึ่งเท่ากับ 2.05 และ 0 กรัม/กรดไขมัน 100 กรัม ตามลำดับ การทำงานของเอนไซม์ไลเปสในการย่อยสลายกรดไขมันออกจากอิมัลชันลิพิดเมื่อทำโดยการศึกษาปริมาณร้อยละของไตรกลีเซอไรด์ส่วนที่เหลืออยู่ในพาร์ติเคิลอิมัลชันลิพิดภายหลังการ incubation 60 นาทีพบว่า SY>FM>EY ในสัดส่วน 63:53:42 โดยกรดไขมันที่ถูกย่อยสลายออกจากพาร์ติเคิลของอิมัลชันลิพิดทั้งสามสูตรจะเป็นไปในลักษณะคล้ายคลึงกันนั่นคือกรดไขมันอิ่มตัว (SFA) กรดไขมันไม่อิ่มตัวหนึ่งตำแหน่ง (MUFA) และกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง (PUFA) ถูกย่อยสลายในอัตราใกล้เคียงกัน อย่างไรก็ตามพบว่ากรดไขมันโอเมก้า 3 ใน FM-LRFE ย่อยสลายช้ากว่ากรดไขมันโอเมก้า 6 อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) สรุปผลการศึกษา ปลาป่นสามารถใช้เป็นแหล่งของเลซิทินที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 ได้และเมื่อเตรียมเป็นอิมัลชันลิพิด เลซิทินจากปลาป่นแสดงคุณสมบัติไม่ต่างจากเลซิทินจากไข่แดงและถั่วเหลืองโดยไตรกลีเซอไรด์ที่อยู่ภายในพาร์ติเคิลของเลซิทินจากปลาป่นถูกย่อยสลายช้ากว่าพาร์ติเคิลของเลซิทินจากไข่แดงเล็กน้อยแต่เร็วกว่าพาร์ติเคิลของเลซิทินจากถั่วเหลืองเล็กน้อยเช่นกัน กรดไขมันโอเมก้า 3 ในส่วนของไตรกลีเซอไรด์มีแนวโน้มที่จะถูกย่อยสลายด้วยเอนไซม์ไลเปสช้ากว่ากรดไขมันกลุ่มอื่น en
dc.description.sponsorship ทุนวิจัยเงินทุนอุดหนุนเพื่อเพิ่มพูนและพัฒนาประสิทธิภาพทางวิชาการ ปีงบประมาณ 2538 (ครั้งที่ 2) และ 2539 (ครั้งที่ 2) เพื่อการจัดตั้ง "ศูนย์วิจัยไขมันและน้ำมัน" en
dc.format.extent 5643873 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศูนย์วิจัยไขมันและน้ำมัน en
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject เลซิติน en
dc.subject กรดไขมันโอเมกา 3 en
dc.subject ปลาป่น en
dc.subject ลิพิด en
dc.title การพัฒนาอิมัลชันลิพิดทางการแพทย์โดยใช้เลซิทินที่มีกรดไขมันชนิดโอเมก้า 3 เป็นตัวอิมัลซิฟายเออร์ : รายงานวิจัย en
dc.title.alternative Development of medical lipid emulsion with omega 3 containing lecithins as emulsifier en
dc.type Technical Report es
dc.email.author dwinai@netserv.ac.th, winaidahlan@yahoo.com
dc.email.author Psomkiat@Chula.ac.th
dc.email.author ไม่มีข้อมูล
dc.email.author Suprata.P@chula.ac.th
dc.email.author ไม่มีข้อมูล
dc.email.author ไม่มีข้อมูล


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record