DSpace Repository

การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเดินทางจากการใช้สกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าร่วมกันในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Show simple item record

dc.contributor.advisor ศักดิ์สิทธิ์ เฉลิมพงศ์
dc.contributor.advisor อรณิชา อนุชิตชาญชัย
dc.contributor.author รัฐพล ทองแป้น
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2024-02-05T10:45:16Z
dc.date.available 2024-02-05T10:45:16Z
dc.date.issued 2566
dc.identifier.uri https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84468
dc.description วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2566
dc.description.abstract งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงบทบาทการใช้งานสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าที่ใช้ร่วมกันต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเดินทางโดยรวม ศึกษาปัจจัยเกี่ยวกับลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคม พฤติกรรมในการเดินทาง ทัศนคติและบุคลิกภาพที่ส่งผลต่อความถี่การใช้งานสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าที่ใช้ร่วมกัน และศึกษาผลกระทบของการใช้สกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าร่วมกันในการเดินทางที่มีต่อค่าการปล่อยคาร์บอนในพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สามย่าน โดยกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาคือ นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเฉพาะผู้ที่เคยใช้สกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าร่วมกัน ตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไป ใช้วิธีการเก็บข้อมูลแบบสอบถามร่วมกับการสัมภาษณ์และสุ่มตัวอย่างแบบสุ่มอย่างง่าย โดยการวิเคราะห์ประกอบด้วย 1) การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา 2) การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการสร้างแบบจำลองทางสถิติ ผลการศึกษาพบว่า เมื่อมีบริการสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าร่วมกันจะส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงจำนวนเที่ยวการเดินทางโดยเฉลี่ยต่อวันลดลง และมีระยะการเดินทางเพิ่มขึ้น โดยผู้ใช้สกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าร่วมกันส่วนใหญ่เป็นกลุ่มนิสิตเพศชาย มีวัตถุประสงค์การเดินทางเพื่อไปเรียนเป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้ปัจจัยที่ส่งผลต่อความถี่การใช้สกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าร่วมกันมากที่สุด คือ ราคา รองลงมาคือ ความปลอดภัยในการเดินทางและตำแหน่งจุดจอดสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้า โดยผลที่ได้จากการวิจัยสามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาสำหรับการวางแผนหรือกำหนดนโยบายในการควบคุมดูแลหรือส่งเสริมรูปแบบการเดินทางดังกล่าว เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพของระบบการขนส่งโดยรวมต่อไป
dc.description.abstractalternative This research aims to study the role of sharing electric scooter use in changing overall travel behavior, study factors related to socioeconomic characteristics, travel behavior, attitudes and personality influences on the frequency of use of sharing electric scooters and study the impact of using electric scooters to travel on carbon emissions in the Chulalongkorn University-Sam Yan area. The target group used in the study is Chulalongkorn University students, only those who have used sharing electric scooters  2 or more times, used questionnaires combined with interviews and simple random sampling to collect data. The data analysis consists of 1) Data analysis using descriptive statistics 2) Data analysis using statistical modeling. The results of the study found that when there is a shared electric scooter service, it will result in a change in the average number of trips taken per day and increased travel distance. The factor that most affects the frequency of sharing electric scooters is price, safety and the location of electric scooter parking spots. The results of the research can be used as information for consideration in planning or formulating policies to control or promote such travel patterns in order to further develop the efficiency of the overall transportation system.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Engineering
dc.subject.classification Transportation and storage
dc.title การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเดินทางจากการใช้สกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าร่วมกันในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.title.alternative Changing travel behavior from sharing electric scooters in Chulalongkorn University
dc.type Thesis
dc.degree.name วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline วิศวกรรมโยธา
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record