DSpace Repository

การประเมินความคุ้มค่าของระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา กรณีศึกษา : บริษัทอุตสาหกรรมเวชภัณฑ์ยา

Show simple item record

dc.contributor.advisor พิชญ รัชฎาวงศ์
dc.contributor.author วิภวา อัศวโนดม
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned 2024-02-05T11:02:07Z
dc.date.available 2024-02-05T11:02:07Z
dc.date.issued 2565
dc.identifier.uri https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84502
dc.description สารนิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565
dc.description.abstract สถานการณ์การใช้พลังงานไฟฟ้าภายในโรงงานกรณีศึกษา เพิ่มสูงขึ้นทุกปี การผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา เป็นหนึ่งทางเลือกที่สามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายพลังงานจากสายส่งของการไฟฟ้าลงได้ จึงเป็นที่มาของการวิจัยนี้ โดยทำการศึกษาความคุ้มค่าทางการเงินของการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าฯของโรงงานกรณีศึกษา พื้นที่ติดตั้งทั้งหมด 2,500 ตรม.(อาคารที่1,2และ4) โดยใช้แผงโซลาร์เซลล์ต่างกันทั้งหมด 3 กรณี ได้แก่ กรณีที่1 แผงMonocrystalline Full Cell , กรณีที่2 แผง Polycrystalline Full Cell และกรณีที่ 3 แผงMonocrystalline Half-Perc Cell ผ่านโปรแกรม PVSyst เพื่อเปรียบเทียบค่าพลังงานที่ผลิตได้และมีความคุ้มค่าที่สุด ผลที่ได้คือ กรณีที่ 3 มีความคุ้มค่าทางการเงินและประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้ามากที่สุด คือมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (24,624,574.60 บาท), ผลตอบแทนภายในที่สูงที่สุด(22.99%) และมีระยะเวลาคืนทุน(4.31ปี) ที่สั้นที่สุด นอกจากนี้ ค่าต้นทุนเฉลี่ยต่อหน่วยไฟฟ้าตลอดอายุโครงการ(3.53 บาท/หน่วย) ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยต้นทุนเฉลี่ยต่อหน่วยไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวงที่ทางโรงงานใช้อยู่(4.18 บาท/หน่วย)  รองลงมาคือกรณีที่ 1 และ กรณีที่ 2 ตามลำดับ อีกทั้งหลังคาที่ติดตั้งโซล่าเซลล์สามารถช่วยสกัดกั้นการถ่ายเทความร้อนรวมของหลังคาได้ดีกว่าหลังคาที่ไม่ทำการติดตั้งจากการประเมินผ่านโปรแกรม BEC คือมีค่า RTTV = 8.743 W/m2 ผ่านเกณฑ์ประกาศกระทรวงพลังงานซึ่งต้องไม่เกิน RTTV=10 W/m2  นอกจากนี้งานวิจัยได้ทำการวิเคราะห์ความอ่อนไหว (Sensitivity Analysis) จากปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อผลตอบแทนของโครงการ โดย อัตราค่าไฟฟ้า มีผลต่อโครงการมากที่สุด และค่าต้นทุนโครงการ CAPEX และ OPEX ตามลำดับ ซึ่งทุกกรณีเป็นไปในทางเดียวกันและยังคงมีความคุ้มทุนในการลงทุน
dc.description.abstractalternative Electric energy consumption of : a case study has increased every year. As rooftop solar power is an interesting option to reduce electric energy cost, this research aimed to study the cost-effectiveness of rooftop solar power system installation on top of 3 factory buildings (2,500 ). At first, the PVSyst program was used to simulate an installation with 3 different types of panels which are case1 Monocrystalline panel (Full Cell), case2 Polycrystalline panel (Full Cell) and case3 Monocrystalline Half-Perc Cell, in order to identify the most cost-effective panel type and the most electric power. Results from the study show that the third type was the best solar panel type for investment by evaluating in Discounted Cash Flow model. Net Present Value: NPV= 24,624,574.60 THB, Internal Rate Ratio: IRR = 22.99%, Payback Period: PB = 4.31 years and Levelized Cost of Energy: LCOE = 4.18 THB/Unit, followed by the first type and the second type respectively. Furthermore, the roof with solar panels was found by the BEC assessment program show that be able to protect the Roof Thermal Transfer Value better than the roof without the panels as It meet the requirements for being the energy-efficient building with excellent level (RTTV = 8.743 W/m2 ) based on the Energy and Environmental Assessment of the Ministry of Energy. Moreover , the sensitivity analysis was carried out to evaluate the effect of the risk factors ,including 1.) the electricity escalation rate , 2. the capital cost (CAPEX) and 3. the operating cost (OPEX) , on project's return.The results shown that all cases are in the same direction and worth the investment which the electricity escalation rate have the greatest impact on the project's return and following with CAPEX and OPEX.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Energy
dc.subject.classification Electricity, gas, steam and air conditioning supply
dc.subject.classification Biology and biochemistry
dc.title การประเมินความคุ้มค่าของระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา กรณีศึกษา : บริษัทอุตสาหกรรมเวชภัณฑ์ยา
dc.title.alternative The feasibility of study of installing rooftop PV system for Pharmaceutical Industry Companies
dc.type Independent Study
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline เทคโนโลยีและการจัดการพลังงาน
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Grad - Independent Studies [269]
    สารนิพนธ์ บัณฑิตวิทยาลัย ตั้งแต่ปีการศึกษา 2562 เป็นต้นไป

Show simple item record