DSpace Repository

การศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาเกมมิฟิเคชันเพื่อการเลี้ยงสุนัขอย่างเหมาะสม

Show simple item record

dc.contributor.advisor ภัทรสินี ภัทรโกศล
dc.contributor.author กนกพรรณ จิตต์ชื่น
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned 2024-02-05T11:02:08Z
dc.date.available 2024-02-05T11:02:08Z
dc.date.issued 2565
dc.identifier.uri https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84507
dc.description สารนิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565
dc.description.abstract ในอดีตพฤติกรรมการเลี้ยงสุนัขนั้นเลี้ยงเพื่อเฝ้าบ้านและเป็นสัตว์เลี้ยงคลายเหงา นิยมนำสุนัขมาเลี้ยงก่อนแล้วจึงค่อยศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลในการเลี้ยง หรือใช้วิธีสังเกตุพฤติกรรมของสุนัขด้วยตนเอง แต่ในปัจจุบันเทรนด์การเลี้ยงสุนัขเสมือนคนในครอบครัว ทำให้คนเลี้ยงดู และใส่ใจในการเลี้ยงสุนัขมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ดีปัญหาที่พบในบางกลุ่มคนเลี้ยงสุนัข คือ ยังขาดความรู้ในการเริ่มต้นเลี้ยงสุนัขอย่างถูกวิธี ซึ่งสุนัขแต่ละสายพันธุ์มีวิธีดูแลที่แตกต่างกันออกไป งานวิจัยฉบับนี้เป็นการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาเกมมิฟิเคชันเพื่อการเลี้ยงสุนัขอย่างเหมาะสม โดยให้บริการข้อมูลข่าวสารและองค์ความรู้ในการเลี้ยงสุนัข สอดแทรกวิธีการดูแลสุนัขอย่างถูกต้องตามแต่ละสายพันธุ์ และช่วงอายุของสุนัขให้แก่ผู้สนใจการเลี้ยงสุนัขผ่านเกมมิฟิเคชัน อีกทั้งช่วยสร้างระเบียบวินัยให้กับผู้สนใจเลี้ยงสุนัข โดยผู้วิจัยได้สำรวจข้อมูลและวิเคราะห์พฤติกรรมจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 100 คน ทั้งผู้ที่เคยมีประสบการณ์เลี้ยงสุนัข และยังไม่เคยมีประสบการณ์ในการเลี้ยงสุนัขมาก่อน โดยการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าอัตราส่วนร้อยละสำหรับอธิบายข้อมูลของกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม โดยผู้วิจัยยังได้นำตัวต้นแบบแอปพลิเคชันไปทดลองต่อกลุ่มเป้าหมาย ผลการศึกษาวิจัยพบว่า กลุ่มเป้าหมายมีความสนใจในการใช้งานแอปพลิเคชันร้อยละ 84 และเล็งเห็นถึงประโยชน์ในการใช้งานแอปพลิเคชันถึงร้อยละ 96 การวิเคราะห์ผลจากผู้ทดลองใช้งานส่วนใหญ่เห็นว่า เกมมิฟิเคชันเพื่อการเลี้ยงสุนัขอย่างเหมาะสมนี้สามารถช่วยพัฒนาทักษะในการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และช่วยประหยัดเวลาในการค้นหาข้อมูล
dc.description.abstractalternative In the past, the dog's behavior was traditionally trained to guard the house and serve as a companion animal to relieve loneliness. Most dog owners raised their dogs before learning how to properly raise them, or alternatively, observe the dog by themselves. Currently, the popular dog trend is called Pet Humanization, which is raising and caring for dogs like family members. However, some groups of dog owners are lack of knowledge on how to properly start raising dogs because each breed has different way to take care of them. Therefore, this research presents the use of gamification for properly raising dogs, which provides appropriate knowledge for each dog breed and aging, and also creates discipline for dog owners and those who are interested in raising dogs. The researcher surveyed data and examined behavior from a sample of 100 people, including those who had prior experience with dogs and those who had never raised dogs before from assessing the data by percentage ratio to characterize the general information of the respondents. The application prototype was also delivered by the researcher for testing with the intended audience. The results of the study found that 84 percent of the target group is interested in utilizing the application, and 96 percent recognize its advantages. An evaluation from the most of users revealed that gamification for properly raising dogs can assist in the development of learning abilities and save time searching for information.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Business
dc.subject.classification Education
dc.title การศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาเกมมิฟิเคชันเพื่อการเลี้ยงสุนัขอย่างเหมาะสม
dc.title.alternative A feasibility study in the development of a gamification for properly raising dogs
dc.type Independent Study
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline ธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Grad - Independent Studies [269]
    สารนิพนธ์ บัณฑิตวิทยาลัย ตั้งแต่ปีการศึกษา 2562 เป็นต้นไป

Show simple item record