DSpace Repository

การศึกษาความเป็นไปได้ในเชิงพาณิชย์ของลูกอมที่มีสารช่วยในการเติมเนื้อฟัน

Show simple item record

dc.contributor.advisor คเณศ วงษ์ระวี
dc.contributor.author จิตธนา สันทวี
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned 2024-02-05T11:02:09Z
dc.date.available 2024-02-05T11:02:09Z
dc.date.issued 2565
dc.identifier.uri https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84509
dc.description สารนิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565
dc.description.abstract การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ลูกอมที่มีสารช่วยเติมเนื้อฟันที่มีประสิทธิภาพในการคืนกลับเนื้อฟัน และเพื่อศึกษาประเมินศักยภาพความเป็นไปได้ในเชิงพาณิชย์ วิเคราะห์การตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ลูกอมที่มีสารช่วยเติมเนื้อฟัน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการเพิ่มประสบการณ์ประสาทสัมผัสการรับรสของบริการสปา โดยได้ศึกษาความเป็นไปได้ด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวนทั้งสิ้น 60 คน สำหรับการวัดในเชิงปริมาณ และ การสังเกตพฤติกรรมการรับประทานผลิตภัณฑ์ลูกอมต้นแบบสำหรับการวัดในเชิงคุณภาพ ผลการวิเคราะห์จากแบบสอบถามพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกบริโภคลูกอมของผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ รสชาติ กลิ่น และ สี  โดยคุณสมบัติความสามารถของลูกอมที่ผู้ให้ข้อมูลสนใจนอกเหนือจากการทำให้ชุ่มคอหรือการช่วยระงับกลิ่นไม่พึงประสงค์ที่มีอยู่ทั่วไปในตลาดนั้น คือ การช่วยรักษาสุขภาพฟันแข็งแรง และยินยอมที่ซื้อผลิตภัณฑ์ลูกอมในราคาที่สูงขึ้นหากตัวผลิตภัณฑ์มีคุณสมบัติและประโยชน์ที่คุ้มค่า และผลการวิเคราะห์จากการสังเกตพฤติกรรมการรับประทานผลิตภัณฑ์ลูกอมต้นแบบพบว่าผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่มีส่วนผสมของสารช่วยในการเติมเนื้อฟันไม่ทำให้ลูกอมสูญเสียรสชาติ หรือ แตกต่างไปจากเดิม คณะผู้วิจัยได้นำเสนอลูกอมที่มีสารช่วยในการเติมเนื้อฟัน พบว่า ผู้ให้ข้อมูลมีความสนใจต่อนวัตกรรม และรับรู้ถึงประโยชน์ของนวัตกรรม ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงนำลูกอมที่มีสารช่วยเติมเนื้อฟันไปทำการศึกษาต่อยอดถึงความเป็นไปได้ในเชิงธุรกิจต่อไป
dc.description.abstractalternative This research study aims to develop a prototype of a candy product that contains an effective remineralization material for remineralizing teeth, and to evaluate its commercial feasibility by analyzing the market potential. The incorporation of this material in candy could potentially enhance the sensory tasting experiences in the spa services sector.The study was conducted using a questionnaire with a sample group of 60 people for quantitative measurement, and observation of behaviour in consuming the prototype candy product for qualitative measurement. The analysis from the questionnaire found that taste, smell, and color are factors influencing the decision to consume the candy. The respondents were interested in functions of the candy that go beyond just moisturizing the throat or helping to suppress unwanted odor, which are common in the market. Additionally, the respondents were interested in the function of maintaining strong dental health. They are willing to purchase the candy product at a higher price if the product offered value-for-money benefits. Furthermore, the analysis from the observational study revealed that the prototype candy product with tooth-remineralizing material did not alter the taste or deviate from the original candy.The research team has presented the candy with tooth-remineralizing material and found that the respondents were interested in this innovation and recognized its benefits. Hence, the researchers will further study the commercial feasibility of this candy with tooth-remineralizing material.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Business
dc.subject.classification Accommodation and food service activities
dc.title การศึกษาความเป็นไปได้ในเชิงพาณิชย์ของลูกอมที่มีสารช่วยในการเติมเนื้อฟัน
dc.title.alternative Feasibility study for commercialization of candy with remineralization material for remineralizing teeth
dc.type Independent Study
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline ธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Grad - Independent Studies [269]
    สารนิพนธ์ บัณฑิตวิทยาลัย ตั้งแต่ปีการศึกษา 2562 เป็นต้นไป

Show simple item record