DSpace Repository

แรงจูงใจของอาเซียนต่อการเข้าร่วมความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคของอินเดีย

Show simple item record

dc.contributor.advisor กษิร ชีพเป็นสุข
dc.contributor.author จุฑารัตน์ บัวศรีจันทร์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
dc.date.accessioned 2024-02-05T11:09:28Z
dc.date.available 2024-02-05T11:09:28Z
dc.date.issued 2565
dc.identifier.uri https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84562
dc.description สารนิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565
dc.description.abstract ท่ามกลางสภาวะการพึ่งพาซึ่งกันและกันทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้นในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ภายหลังสงครามเย็นสิ้นสุด อาเซียนได้ริเริ่มจัดทำความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค หรือ RCEP ขึ้น เพื่อส่งเสริมการบูรณาการทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค โดยเมื่อแรกเริ่มเจรจา RCEP มีสมาชิกทั้งหมด 16 ประเทศ แต่ภายหลังในปี 2019 อินเดียได้ถอนตัวออกจากการเจรจา จากความต้องการรักษาผลประโยชน์ภายในประเทศ อย่างไรก็ดี อินเดียมีแนวโน้มที่จะกลับเข้ามาร่วมความตกลงอีกครั้งในช่วงที่เศรษฐกิจกำลังชะลอตัวและเศรษฐกิจโลกอยู่ในภาวะถดถอย ซึ่ง RCEP เองก็ยังคงเปิดรับอินเดียให้กลับเข้ามาร่วมในฐานะสมาชิกดั้งเดิมได้เสมอ ซึ่งหากอินเดียตัดสินใจกลับเข้ามาร่วมในความตกลง RCEP อีกครั้งในอนาคต การตัดสินใจดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย โดยเฉพาะอาเซียน ซึ่งมีการพึ่งพาซึ่งกันและกันทางเศรษฐกิจกับประเทศในภูมิภาคเอเชียค่อยข้างสูง โดยจากการศึกษาพบว่า อินเดียจะมีส่วนสำคัญในการสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจของอาเซียนอย่างมาก โดยคาดว่าจะทำให้มูลค่า GDP ของอาเซียนเพิ่มขึ้น และการค้าระหว่างอาเซียนกับอินเดียภายใต้ความตกลง RCEP มีแนวโน้มที่จะมีมูลค่าสูงกว่าการค้าระหว่างอาเซียนกับอินเดียภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน-อินเดีย ซึ่งมีการเปิดเสรีในระดับที่น้อยกว่า นอกจากนี้ อินเดียจะช่วยให้อาเซียนมีดุลทางการค้าภายใต้ความตกลง RCEP เพิ่มขึ้น และสนับสนุนอาเซียนในการเข้าถึงตลาดใหม่ ๆ ในเอเชียใต้ รวมถึงการที่อินเดียเป็นสมาชิก RCEP จะส่งผลดีต่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างอาเซียนกับอินเดีย ภายใต้กรอบความร่วมมืออื่น ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต จากการพึ่งพาซึ่งกันและกันทางเศรษฐกิจที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจร่วมกัน
dc.description.abstractalternative Amidst the rising economic interdependence within the Asia-Pacific region after the end of the Cold War, ASEAN has initiated the Regional Comprehensive Economic Partnership (RCEP) to promote regional economic integration. During the initial negotiations, RCEP had 16 member countries, but later on in 2019, India decided to opt-out from the RCEP as it sought to protect its own domestic interests. However, there is a possibility that India may consider rejoining the partnership once more due to its economic slowdown and global economic recession, regarding which RCEP has stated that India is always welcome to rejoin the partnership as one of its original members. Should India decide to rejoin RCEP in the future, such a decision would benefit all relevant parties, especially ASEAN, which has a high level of economic interdependence with countries in Asia. Studies showed that India will play a crucial role in significantly contributing to ASEAN’s economic growth. ASEAN’s GDP is expected to increase and trade between ASEAN and India under RCEP showed a trend of having a higher value than that of ASEAN-India trade under the ASEAN-India FTA, which is less liberalized. In addition, India will help ASEAN achieve a better balance of trade under RCEP and support ASEAN in accessing new markets in South Asia. Furthermore, India as a member of RCEP will have a positive effect on economic cooperation between ASEAN and India under other cooperation frameworks that may occur in the future through deepening economic interdependence, which will lead to the achievement of mutual economic growth.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Social Sciences
dc.subject.classification Economics
dc.subject.classification Activities of extraterritorial organizations and bodies
dc.subject.classification Economics
dc.title แรงจูงใจของอาเซียนต่อการเข้าร่วมความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคของอินเดีย
dc.title.alternative ASEAN's incentives towards India's joining the regional comprehensive economic partnership (RCEP)
dc.type Independent Study
dc.degree.name รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Pol - Independent Studies [518]
    สารนิพนธ์ คณะรัฐศาสตร์ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2562 เป็นต้นไป

Show simple item record