Abstract:
การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์3 ประการ ดังนี้ 1.เพื่อศึกษามุมมองและความคิดเห็นของผู้ประกอบการทอผ้าชาติพันธุ์ภายใต้มาตรการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้และสวมใส่ผ้าไทยที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจฐานราก 2.เพื่อศึกษาการดำเนินงานของมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้และสวมใส่ผ้าไทยที่สามารถตอบสนองความต้องการหรือเรื่องใดไม่ตอบสนองต่อผู้ประกอบการทอผ้าชาติพันธุ์ในจังหวัดราชบุรีเพื่อหาข้อเสนอแนะในการพัฒนาแนวทางในการปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม หากนโยบายดังกล่าวมีการดำเนินงานที่ไม่เพียงพอผู้ประกอบการต้องการการสนับสนุนด้านใดบ้าง 3.เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ความสำเร็จของผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จที่สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดและมีรายได้ประจำจากการประกอบอาขีพทอผ้าว่าปัจจัยความสำเร็จคืออะไร มีความสัมพันธ์อย่างไรกับอัตลักษณ์ของชุมชน โดยการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพดำเนินการศึกษาด้วยการใช้เทคนิคการปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญซึ่งเป็นกลุ่มผู้ประกอบการทอผ้าชาติพันธุ์ จำนวน 3 กลุ่ม โดยใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง ทั้งนี้ผลการศึกษาพบว่าผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ให้มุมมองและความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้และสวมใส่ผ้าไทยที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจฐานราก ไว้ว่าเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนช่วยเหลือการสร้างงาน สร้างรายได้ เสริมสร้างเศรษฐกิจฐานราก เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและคงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ของผ้าทอพื้นถิ่นของชาติพันธุ์ในจังหวัดราชบุรี รวมถึงการมีกิจกรรมการพัฒนาผู้ประกอบการผ้าทอพื้นถิ่นของชาติพันธุ์ที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจฐานรากตามมาตรการการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้และสวมใส่ผ้าไทยแนวทางการดำเนินการพัฒนาในการตอบสนองความต้องการและเกิดประโยชน์แท้จริงแก่ผู้ประกอบการทอผ้าชาติพันธุ์ในจังหวัดราชบุรี