Abstract:
การจัดทำสารนิพนธ์ ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่ออธิบายความแตกต่างการพัฒนาตนเอง กับการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ CHULA MOOC ของพนักงานสายปฏิบัติการ ระดับ P7 ที่ต่างสังกัด (2) เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาตนเอง กับการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ CHULA MOOC ของพนักงานสายปฏิบัติการ ระดับ P7 (3) เพื่อหาแนวในการส่งเสริมการพัฒนาตนเอง ของพนักงานสายปฏิบัติการ ระดับ P7 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพิ่มเติมในอนาคต โดยมีกลุ่มตัวอย่าง เป็นพนักงานสายปฏิบัติการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 120 คน แบ่งเป็น คณะรัฐศาสตร์ จำนวน 60 คน และคณะวิศกรรมศาสตร์ จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ มี 2 ชุดได้แก่ชุดที่ 1 แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรสำเร็จรูปทางสถิติ (SPSS) สถิติทีใช้ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าเฉลี่ย Independent Sample T-Test การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ของ Pearson’s และชุดที่ 2 แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ
ผลการศึกษา สรุปได้ดังนี้ (1) ผลการทดสอบค่าเฉลี่ย Independent Sample T-Test พบว่าคณะรัฐศาสตร์ (ค่าเฉลี่ยรวม = 3.18) สูงกว่า คณะวิศกรรมศาสตร์ (ค่าเฉลี่ยรวม = 2.51) จึงสรุปได้ว่าพนักงานสายปฏิบัติการที่ต่างสังกัด มีการพัฒนาตนเองกับการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ CHULA MOOC แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 (2) ผลการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ของ Pearson’s พบว่า การพัฒนาตนเองกับการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ CHULA MOOC ของพนักงานสายปฏิบัติการ มีความสัมพันธ์กัน ระดับสูง ในเชิงบวก (r > 0.70) จึงสรุปได้ว่าพนักงานสายปฏิบัติการมีแรงจูงใจ และสามารถพัฒนาตนเองด้วยการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ CHULA MOOC ได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05