DSpace Repository

บทบาทของจีนในการแก้ปัญหาอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือในห้วงปี ค.ศ. 2016 ถึง ค.ศ. 2022

Show simple item record

dc.contributor.advisor พงศ์พิสุทธิ์ บุษบารัตน์
dc.contributor.author รัชชานนท์ ประจำค่าย
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
dc.date.accessioned 2024-02-05T11:09:44Z
dc.date.available 2024-02-05T11:09:44Z
dc.date.issued 2565
dc.identifier.uri https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84594
dc.description สารนิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565
dc.description.abstract ระหว่างปี ค.ศ. 2016 – 2022 ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับเกาหลีเหนือมีพลวัตอย่างมาก ซึ่งเป็นผลมาจากการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ ด้วยเหตุนี้ ผู้วิจัยจึงต้องการศึกษานโยบายของจีนในการแก้ปัญหาอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือในช่วงเวลาดังกล่าว พร้อมทั้งวิเคราะห์บทบาท ตลอดจนอุปสรรคและข้อจำกัดของจีนในการแก้ปัญหาข้างต้น โดยผู้วิจัยได้ใช้แนวคิดสัจนิยมเชิงรับ (Defensive Realism) เป็นกรอบในการวิเคราะห์และศึกษาการดำเนินนโยบายต่างประเทศของจีนต่อกรณีการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ เนื่องจากมองว่า จีนดำเนินนโยบายเพื่อตอบสนองต่อผลประโยชน์แห่งชาติและข้อห่วงกังวลด้านความมั่นคง โดยพลวัตความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับเกาหลีเหนือเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อบทบาทของรัฐบาลจีนในการแก้ไขปัญหาอาวุธนิวเคลียร์เกาหลีเหนือที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ เมื่อประเมินบทบาทของจีนในการแก้ไขปัญหาอาวุธนิวเคลียร์เกาหลีเหนือในห้วงเวลาดังกล่าวแล้ว ผู้วิจัยพบว่ารัฐบาลจีนได้สนับสนุนและบังคับใช้มาตรการคว่ำบาตรต่อเกาหลีเหนืออย่างจริงจัง ตลอดจนเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาให้ทั้งสองฝ่ายพิจารณา และไม่นำความขัดแย้งกับสหรัฐฯ มาเป็นอุปสรรคในการร่วมมือกันเพื่อแก้ปัญหา อย่างไรก็ตาม จีนก็เผชิญอุปสรรคและข้อจำกัดบางประการในการแสดงบทบาทดังกล่าว
dc.description.abstractalternative The development of North Korea's nuclear program has brought instability to the Korean Peninsula and significantly impacted Sino-North Korea relations between 2016 and 2022. Consequently, this individual study aims to examine China's involvement in the denuclearization of North Korea during that period. It seeks to analyze Chinese roles, obstacles, and limitations by applying the Defensive Realism theory, which suggests that China pursues a policy toward North Korea's nuclear issue driven by national interests and security concerns. Furthermore, the United States and North Korea dynamics have also played a crucial role in shaping China's different stances on the nuclear issue. This study finds that China proactively implemented policies on denuclearization because China implemented sanctions against North Korea, proposed a peaceful resolution, and excluded the Sino-USA conflict from this issue. However, China encountered certain obstacles that constrained its role in the denuclearization process.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Social Sciences
dc.subject.classification Public administration and defence; compulsory social security
dc.subject.classification Political science and civics
dc.title บทบาทของจีนในการแก้ปัญหาอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือในห้วงปี ค.ศ. 2016 ถึง ค.ศ. 2022
dc.title.alternative China's role in denuclearizing North Korea between 2016 - 2022
dc.type Independent Study
dc.degree.name รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Pol - Independent Studies [518]
    สารนิพนธ์ คณะรัฐศาสตร์ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2562 เป็นต้นไป

Show simple item record