Abstract:
การศึกษาครั้งนี้มี 3 วัตถุประสงค์ คือ 1) ศึกษาปัจจัยในการตัดสินใจเปลี่ยนสถานภาพจากข้าราชการเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเปลี่ยนสถานภาพจากข้าราชการเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย และ 3) เพื่อสำรวจความคิดเห็นของข้าราชการต่อปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเปลี่ยนสถานภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษา คือ ข้าราชการ สายวิชาการ จำนวน 190 คน จากวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบไม่ใช้ความน่าจะเป็น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 1) สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าจำนวน ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) สถิติเชิงอนุมาน โดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ (Multiple Regression Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับความสำคัญของปัจจัยโดยรวม มีผลต่อการตัดสินใจเปลี่ยนสถานภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยอยู่ในระดับมาก โดยปัจจัยภายใน คือ แรงจูงใจ และปัจจัยแวดล้อม คือ ความมั่นคงในการทำงาน 2) ปัจจัยภายในและปัจจัยแวดล้อมไม่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเปลี่ยนสถานภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยปัจจัยแวดล้อมมีค่าความสัมพันธ์มากกว่าปัจจัยภายใน 3) ระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยโดยรวมมีผลต่อการตัดสินใจเปลี่ยนสถานภาพอยู่ในระดับปานกลาง โดยปัจจัยภายใน คือ ด้านเจตคติ และปัจจัยแวดล้อม คือ ด้านสวัสดิการและสิทธิประโยชน์
ผลตรวจสอบสมมติฐาน พบว่าปัจจัยภายในและปัจจัยแวดล้อมไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจเปลี่ยนสถานภาพจากข้าราชการเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 โดยปัจจัยแวดล้อมสามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 0.6 ส่วนปัจจัยแวดล้อมสามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 9.9