Abstract:
สิ่งของหรือสถานที่ได้ขึ้นชื่อว่าเป็น ‘มรดกโลก’ จากองค์กรยูเนสโกนั้นถือว่าเป็นสิ่งที่แสดงคุณค่าว่าพื้นที่แห่งนั้นมีคุณค่าแก่การเยี่ยมชม เปรียบเสมือน “สิ่งมหัศจรรย์ของโลก” ยุคใหม่ ซึ่งจะช่วยปลูกฝังความภาคภูมิใจและสนับสนุนประเทศต่าง ๆ ในการที่จะรักษาสถานที่นั้น อย่างไรก็ตาม ‘สถานที่ปฏิวัติอุตสาหกรรมสมัยเมจิ’ (the Sites of Japan’s Meiji Industrial Revolution) หรือ SJMIR ในฐานะมรดกโลกนั้นได้เป็นโครงการหลักระดับชาติในการเผยแพร่เรื่องราวทางประวัติศาสตร์อันรุ่งโรจน์ของญี่ปุ่นในยุคเมจิสู่สากล ภายใต้รัฐบาลอนุรักษ์นิยมของนายกรัฐมนตรีชินโซะ อาเบะ ค.ศ. 2012-2020 กลับมีจุดประสงค์เพื่อแสวงหา ‘การเป็นที่ยอมรับ’ นับหน้าถือตาในเวทีระหว่างประเทศ ในขณะที่ความจริงแล้วอำนาจของญี่ปุ่นมีสถานะที่ลดน้อยถอยลง และถึงแม้ว่าความคิดถึงระดับชาตินี้จะตรงกับวาทกรรมทางการเมืองร่วมสมัยของเขาเกี่ยวกับการเอาชนะความท้าทายในประเทศและระหว่างประเทศของญี่ปุ่นในศตวรรษที่ 21 แต่ก็กระตุ้นให้ผู้คนหลงลืมมุมมองอื่นที่เกี่ยวข้องกับความทรงจำของชาวเกาหลีเกี่ยวกับการบังคับใช้แรงงาน ลัทธิล่าอาณานิคม และสงคราม เช่นกัน โดยสารนิพนธ์ฉบับนี้จะสำรวจถึงกระบวนการการผลักดันการขึ้นทะเบียนมรดกโลก ‘สถานที่ปฏิวัติอุตสาหกรรมสมัยเมจิ’ ซึ่งในเนื้อหาดังกล่าวจะชี้ให้เห็นถึงบทบาทของผู้เชี่ยวชาญด้านมรดกของญี่ปุ่นที่พยายามนำเสนอเพียงแต่เรื่องราวเชิงบวกถึงการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็วของญี่ปุ่นเท่านั้น อีกทั้งพยายามบิดเบือนเรื่องเล่าทางประวัติศาสตร์ทางเลือกให้ถูกลืมเลือนไป