Abstract:
การศึกษาวิจัยเพื่อวิเคราะห์บทบาทหน้าที่และการพิจารณานโยบายประชานิยมของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งในการหาเสียงของพรรคการเมือง: กรณีศึกษานโยบายแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทหน้าที่ กฎหมาย หลักเกณฑ์และข้อจำกัดของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กับการพิจารณา“นโยบายการแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท” รวมทั้งเสนอแนะบทบาทหน้าที่ของ กกต. ที่ควรมีในการกำกับดูแลและการรับมือกับการออกนโยบายประชานิยมของพรรคการเมืองในอนาคต โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและสัมภาษณ์ความเห็นของเจ้าหน้าที่ กกต. และนักการเมือง นักวิชาการ
ผลการศึกษาพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง ปี พ.ศ. 2560 มาตรา 57 จากการวิเคราะห์ทางเลือกที่ให้อำนาจ กกต. สามารถเรียกข้อมูลแหล่งที่มาของเงินจากพรรคการเมืองที่กำหนดนโยบายที่ใช้ปริมาณสูง ซึ่งมีกระแสทางสังคมและผู้วิจัยเห็นเพิ่มว่า กกต. ควรมีบทบาทในการพิจารณารับรอง ยับยั้งนโยบายประชานิยม ข้อเสนอนี้มีความสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ ปี พ.ศ. 2560 มาตรา 245 เปิดช่องทางให้ กกต. เข้ามีส่วนร่วมกับองค์กรอิสระ ในการพิจารณาตรวจสอบการดำเนินนโยบายของรัฐบาลที่มีความสุ่มเสี่ยงต่อการขาดวินัยการคลัง อย่างไรก็ดี การให้อำนาจแก่ กกต.ในการดำเนินการนอกเหนือจากการจัดการเลือกตั้งยังเป็นข้อถกเถึยงจากมุมมองที่แตกต่างซึ่งอาจส่งผลต่อสถานะความเป็นกลางของ กกต.