Abstract:
การศึกษางานนี้ต้องการชี้ให้เห็นนโยบายต่างประเทศของจีนในสมัยประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ที่ดำเนินการต่อกรณีพิพาททะเลจีนใต้ ว่าสหรัฐอเมริกาเป็นปัจจัยหลักหรือไม่ ที่ทำให้จีนเลือกดำเนินนโยบายต่างประเทศต่อกรณีพิพาททะเลจีนใต้ดังเช่นที่ผ่านมา โดยเลือกพิจารณาเหตุการณ์ตั้งแต่ นายสี จิ้นผิง เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีของจีนจนถึงปัจจุบัน นโยบายต่างประเทศจีนต่อกรณีพิพาททะเลจีนใต้ ในสมัยประธานาธิบดีสี จิ้นผิง พบว่าบทบาทของสหรัฐในฐานะเป็นประเทศภายนอกภูมิภาค ที่ไม่ได้มีความเกี่ยวกับข้องกับข้อพิพาททะเลจีนใต้โดยตรง แต่สหรัฐเลือกที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในภูมิภาค ทั้งทางด้านความร่วมมือทางการทูต ทางทหาร เป็นต้น เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้จีนมีปฏิกิริยาที่ตอบโต้ในข้อพิพาททะเลจีนใต้ก้าวร้าวมากขึ้น และจีนมองว่าสหรัฐเป็นปัจจัยหลักที่จะเข้ามาแทรกแซงการขยายอำนาจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของจีน และลดความเชื่อมั่นในของประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่มีต่อจีน จีนจึงเลือกที่จะเพิ่มกำลังทหารในทะเลจีนใต้ แสดงความเป็นมหาอำนาจในพื้นที่ทะเลจีนใต้โดยการสร้างเกาะเทียม และฝึกซ้อมรบต่างๆ เพื่อแสดงศักยภาพในภูมิภาค และเพื่อลดทอนอำนาจของสหรัฐอเมริกาในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกด้วย เพื่อจุดประสงค์สุดท้ายแล้วของจีนคือก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจคนใหม่ ดังนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ประเทศมหาอำนาจจะแสวงหาโอกาสที่จะให้ได้มาซึ่งการมีอำนาจเหนือคู่แข่งของตน และรัฐมีเป้าหมายสูงสุดอยู่ที่การครองความเป็นเจ้า ความเป็นมหาอำนาจ (hegemony) หรือผู้ที่แข็งแกร่งที่สุด เพื่อให้เป็นอิสระจากรัฐอื่น และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมหาอำนาจจึงถูกกำหนดให้เป็นรูปแบบของการแข่งขันด้านความมั่นคงอยู่ตลอด รัฐจึงต้องขยายอำนาจทางการทหาร เศรษฐกิจและภูมิศาสตร์เพื่อเพิ่มความมั่นคงของรัฐ จึงสามารถที่จะอธิบายเหตุผลที่จีนเลือกดำเนินนโยบายต่างประเทศดังกล่าวได้ด้วยทฤษฎี offensive realism เพื่ออธิบายการแสดงออกของชาติมหาอำนาจและรัฐอื่นๆ ในระบบการเมืองระหว่างประเทศ