Abstract:
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการขับเคลื่อนระบบข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูงในหน่วยงานราชการของประเทศของไทย โดยเป็นงานวิจัยแบบผสมซึ่งอาศัยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารหลักฐานและการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มตัวอย่าง 17 ราย จากหน่วยงานราชการทั้งสิ้น 5 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงาน ก.พ. สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี กรมชลประทาน กรมการปกครอง และกรมการพัฒนาชุมชน
จากการศึกษาพบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อการขับเคลื่อนระบบข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูง มีทั้งหมด 19 ปัจจัย ได้แก่ 1. แรงจูงใจในรูปแบบของการพัฒนาตนเอง 2. แรงจูงใจในรูปแบบของเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพ 3. แรงจูงใจในรูปแบบของการสร้างเครือข่าย 4. แรงจูงใจในรูปแบบของการมองประโยชน์ขององค์กรเป็นสำคัญ 5. แรงจูงใจจากการเห็นเป็นแบบอย่าง 6. การกำหนดคุณสมบัติด้านภาษาของผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือก 7. การมอบอำนาจให้หน่วยงานราชการคัดเลือกข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูงเอง 8. ความไม่เข้าใจในสาระสำคัญของกระบวนการพัฒนา 9. ปัญหาด้านงบประมาณเมื่อเวียนกรอบโดยคำสั่งปฏิบัติงาน 10. การลาออกจากระบบระหว่างการเวียนกรอบสั่งสมประสบการณ์ของตัวข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูง 11. การหลีกเลี่ยงการอบรมที่ใช้ระยะเวลานาน 12. มุมมองที่ส่วนราชการมีต่อการกำหนดตำแหน่งเป็นการเฉพาะคราว 13. ส่วนราชการไม่ได้จัดสรรค่าตอบแทนพิเศษให้กับข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูง 14. การรวบรวมผลงานที่ยากและการเวียนกรอบที่ไม่ตรงกับตำแหน่งเป้าหมาย 15. การติดตามของกองการเจ้าหน้าที่ 16. การดำเนินการของหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้อง 17. ข้าราชการผู้ได้รับการกำหนดตำแหน่งเป็นการเฉพาะคราวไม่สามารถกลับเข้าสู่โครงสร้างของหน่วยงานได้ 18. ข้อจำกัดในการขึ้นสู่ระดับเชี่ยวชาญของข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูง และ 19. ข้อจำกัดในการขึ้นสู่ระดับอำนวยการของข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูง