DSpace Repository

โครงการวิจัยเพื่อปรับปรุงวิธีการกำหนดช่องสัญญาณแบบพลวัต ในระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเซลลูลาร์

Show simple item record

dc.contributor.author วาทิต เบญจพลกุล
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2008-12-24T07:45:57Z
dc.date.available 2008-12-24T07:45:57Z
dc.date.issued 2543
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8564
dc.description โครงการวิจัย (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยและพัฒนาคณะวิศวกรรมศาสตร์) ; เลขที่ 53G-EE-2542 en
dc.description.abstract โครงการวิจัยนี้ เสนอการปรับปรุงการจัดสรรช่องสรรญาณแบบพลวัตที่มีการควบคุมแบบกระจาย วิธีที่เสนอนี้ใช้เทคนิคของค่าลำดับความสำคัญและการอินทราเซลล์แฮนด์โอเวอร์ ซึ่งปรับปรุงมาจากวิธี channel segregation และวิธี aggressive สำหรับวิธี aggressive จะใช้วิธีที่เรียกว่า polite aggressive และ persistent polite aggressive ซึ่งมีเสถียรภาพมากกว่าวิธีที่เสนอเรียกว่า SEG-PA และ SEG-PPA โดยการวัดประสิทธิภาพจากอัตราการบล็อกค่าความจุของทราฟฟิกที่รองรับได้ที่อัตราบล็อก 2 เปอร์เซ็นต์ และอัตราการอินทราเซลล์แฮนด์โอเวอร์ ผลที่ได้จากการจำลองแบบแสดงว่าวิธี SEG-PA จะให้อัตราการบล็อกที่ต่ำกว่าวิธี SEG ไม่มากนัก ค่าความจุเพิ่มขึ้นเฉลี่ยเท่ากับ 3.09 เปอร์เซ็นต์กรณีที่รูปแบบทราฟฟิกกระจายแบบสม่ำเสมอ และเท่ากับ 2.33 เปอร์เซ็นต์ กรณีที่รูปแบบทราฟฟิกกระจายแบบไม่สม่ำเสมอและมีอัตราการอินทราเซลล์แฮนด์โอเวอร์เพียงเล็กน้อย อยู่ในช่วง 2 ถึง 9 เปอร์เซ็นต์ สำหรับวิธี SEG-PPA อัตราการบล็อกต่ำกว่าวิธี SEG ค่อนข้างมาก ค่าความจุเพิ่มขึ้นเฉลี่ยเท่ากับ 10.50เปอร์เซ็นต์ กรณีที่รูปแบบทราฟฟิกกระจายแบบสม่ำเสมอ และค่าความจุเพิ่มขึ้นเฉลี่ยเท่ากับ 13.02 เปอร์เซ็นต์ กรณีที่รูปแบบทราฟฟิกกระจายแบบไม่สม่ำเสมอ ในขณะเดียวกันอัตราการอินทราเซลล์แฮนด์โอเวอร์ก็สูงด้วย อยู่ในช่วง 8 ถึง 24 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสูงเป็น 2 ถึง 3 เท่า เมื่อเทียบกับวิธี SEG-PA en
dc.description.abstractalternative This research project proposes an improvement of channel assignment which is a dynamic and distributed scheme. This proposed method combines two techniques, priority and intrahandover modified from channel segregation and aggressive methods. In aggressive technique, we utilized polite aggressive and persistent polite aggressive which are more stable. The proposed methods are called SEG-PA and SEG-PPA. Performance is also evaluated based on blocking rate, increasing traffic capacity at 2 percent of blocking rate and intrahandover rate. The simulation results show that for SEG-PA, blocking rate is slightly rate is slightly better than that of SEG. Traffic capacity increases at an average of 3.09 percent for uniform and 2.33 percent for nonnuniform traffic with a few increase in intrahandover rate ranging between 2 and 9 percent. For SEG-PPA, blocking rate is significantly better than that of SEG. Traffic capacity increases at an average of 10.50 percent for uniform traffic and 13.02 percent for nonuniform traffic but intrahandover rate is high ranging between 8 and 24 percent, 2-3 times higher compared to SEG-PA. en
dc.description.sponsorship ทุนอุดหนุนงบประมาณแผ่นดิน ปี 2542 en
dc.format.extent 48485089 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject โทรศัพท์เคลื่อนที่ en
dc.title โครงการวิจัยเพื่อปรับปรุงวิธีการกำหนดช่องสัญญาณแบบพลวัต ในระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเซลลูลาร์ en
dc.title.alternative การวิจัยเพื่อปรับปรุงวิธีการกำหนดช่องสัญญาณแบบพลวัต ในระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเซลลูลาร์ en
dc.type Technical Report es
dc.email.author Watit.B@chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record