Abstract:
ในปัจจุบันที่โครงการทำงานและท่องเที่ยวภาคฤดูร้อน (Summer Work/Travel Program: WAT) ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องจากเยาวชนไทย กระนั้นยังมีความเสี่ยงอันตรายจากการเข้าร่วมโครงการฯ เช่น การต้องเสียชีวิตของผู้เข้าร่วม การถูกเอารัดเอาเปรียบจากการทำงานในต่างแดน ฯลฯ งานวิจัยนี้เคสนอโจทย์ต่อปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นว่า “เราจะปรับตัวและเผชิญหน้ากับปรากฎการณ์ที่มาพร้อมโลกาภิวัตน์ดังโครงการ WAT อย่างเท่าทันและมีสติได้อย่างไร” ผู้วิจัยศึกษาโครงการฯ ผ่านประสบการณ์ของเยาวชน จากการเก็บข้อมูลเชิงเอกสาร การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เยาวชนปรคะกอบการจัดเสวนาระดมความคิดเห็น ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า ในด้านหนึ่ง โครงการนี้ดำเนินไปด้วยแรงขับจากความต้องการแรงงานราคาถูกและควาคมต้องการรายได้และประสบการณ์ของเยาวชนไทยโดยไม่มีการดูแลจากภาครัฐหรือการเอาใจใส่จากภาคประชาสังคมเพียงพอ ในอีกด้านหนึ่ง ความเสี่ยงอันตรายของโครงการนี้เกิดจากความไม่สอดคล้องกันของระบบการทำงานต่างๆที่เกี่ยวข้องกับโครงการ และขาดองค์กรที่มีความรับผิดชอบโดยคตรง จนทำให้เกิดความทับซ้อนกันของความรับผิดชอบจากหลายฝ่าย แต่กระนั้นการตระหนักรู้ของเยาวชนต่อความเสี่ยงอันตรายก็ยังไม่บังเกิดขึ้นเท่าที่ควร เนื่องมาจากการรับรู้ของเยาวชนที่ไม่ได้ตีความความเสี่ยงอันตรายว่าสามารถควบคุมได้ แต่กลับตีความว่าเป็นเรื่องของดวงหรือโชคชะตา งานวิจัยเสนอว่า ในระบบการดำเนินโครงการฯ ควรเพิ่มบทบาทของระบบการดูแลจากภาครัฐไทยและการเฝ้าระวังจากภาคประชาสังคม เสริมแรงด้วยการเร่งพัฒนากระบวนการเรียนรู้ในประเด็นดังกล่าวด้วยการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ในฐานคิดต่าง ๆ อีกมาก สิ่งสำคัญอันดับแรกทางนคโยบาย คือ ยังไม่มีการตื่นตัวจากหน่วยงานภาครัฐและรับเป็นเจ้าภาพจัดการในเรื่องดังกล่าว จึงเป็นหน้าที่ของผู้กำหนดนโยบายควรรับไว้พิจาครณาต่อไป