DSpace Repository

การลดซีโอดีและสีของน้ำกากส่าโดยใช้กากตะกอนระบบผลิตน้ำประปาเถ้าลอยแอสฟัลท์และไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ : รายงานวิจัย

Show simple item record

dc.contributor.author ธเรศ ศรีสถิตย์
dc.contributor.author ปภาวดี โชคสุวรรณกิจ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.contributor.other ไม่มีข้อมูล
dc.date.accessioned 2009-01-20T07:14:56Z
dc.date.available 2009-01-20T07:14:56Z
dc.date.issued 2551
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8700
dc.description.abstract งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาความสามารถของกากตะกอนจากระบบผลิตน้ำประปาและเถ้าลอยแอสฟัลท์ในการลดซีโอดีและสีในน้ำกากส่าเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้สารส้มและปูนขาวเป็นโคแอกกูแลนต์โดยใช้ จาร์เทสต์ และศึกษาประสิทธิภาพการบำบัดน้ำกากส่าเมื่อใช้กากตะกอนจากระบบผลิตน้ำประปาและเถ้าลอยแอสฟัลท์ร่วมกับการออกซิเดชันด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ โดยเปรียบเทียบกับสารส้มและปูนขาว การทดสอบหาสภาวะที่เหมาะสมใช้วิธีทดสอบของดันแคน (Duncan’s new multiple range test) ที่ระดับความมีนัยสำคัญ 0.05 จากผลการศึกษาความสามารถของกากตะกอนจากระบบผลิตน้ำประปาและเถ้าลอยแอสฟัลท์ในการเป็นโคแอกกูแลนต์เพื่อลดซีโอดีและสีในน้ำกากส่าเมื่อเปรียบเทียบกับสารส้มและปูนขาว พบว่าร้อยละการบำบัดซีโอดีจากการตกตะกอนที่สภาวะเหมาะสมด้วยปูนขาวจะมีค่ามากที่สุด รองลงมาคือกากตะกอนจากระบบผลิตน้ำประปา สารส้ม และเถ้าลอยแอสฟัลท์ ซึ่งมีค่าเป็น 40.20, 30.77, 22.88 และ13.51% ตามลำดับ ส่วนร้อยละการบำบัดความเข้มสีจากการตกตะกอนด้วยปูนขาวจะมีค่าสูงสุด รองลงมาคือ สารส้ม กากตะกอนจากระบบผลิตน้ำประปา และเถ้าลอยแอสฟัลท์ ซึ่งมีค่าเป็น 37.76, 26.32, 23.50 และ -15.71% ตามลำดับ ต่อมาเมื่อทำการออกซิไดซ์ด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ พบว่า ร้อยละการบำบัดซีโอดีจากการตกตะกอนด้วยกากตะกอนจากระบบผลิตน้ำประปาจะมีค่ามากที่สุด รองลงมาคือ สารส้มเถ้าลอยแอสฟัลท์และปูนขาว ซึ่งมีค่าเป็น 51.92, 42.24, 26.87 และ 24.31% ตามลำดับ ส่วนร้อยละการบำบัดความเข้มสีจากการตกตะกอนด้วยเถ้าลอยแอสฟัลท์จะมีค่าสูงสุด รองลงมาคือกากตะกอนจากระบบผลิตน้ำประปา สารส้มและปูนขาว ซึ่งมีค่าการบำบัดเป็น 54.92, 14.85, 11.92 และ 3.20% ตามลำดับโดยค่าพีเอชในน้ำสุดท้ายมีค่าเป็น 2.86, 2.82, 3.23 และ 7.71 ตามลำดับเมื่อพิจารณาทั้งกระบวนการบำบัด พบว่า กากตะกอนจากระบบผลิตน้ำประปาสามารถบำบัดน้ำกากส่าร่วมกับไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ให้ประสิทธิภาพการบำบัดซีโอดีรวมมากที่สุด คือ 67.26% (240 ก./ล.ของ H[subscript 2]O[subscript 2]) และปูนขาวสามารถบำบัดน้ำกากส่าร่วมกับไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ให้ประสิทธิภาพการบำบัดสีรวมมากที่สุด 43.83% (150 ก./ล.ของ H[subscript 2]O[subscript 2]) และเมื่อทดสอบผลของเหล็ก (FeSO[subscript 4]) เพื่อเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในขั้นออกซิเดชัน พบว่า สามารถบำบัดค่าซีโอดีได้สูงกว่าการใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์เพียงอย่างเดียวในโคแอกกูแลนต์ทั้ง 4 ชนิด แต่ไม่สามารถบำบัดสีได้ ทำให้การใช้กากตะกอนจากระบบผลิตน้ำประปาและปูนขาวเป็นโคแอกกูแลนต์เป็นที่น่าสนใจ เนื่องจากให้ผลการทดลองที่ดี ในสภาวะที่ไม่เติมเฟอร์รัสซัลเฟต และเมื่อพิจารณาด้านเศรษฐศาสตร์จะเห็นว่าปูนขาวเป็นโคแอกกูแลนต์ที่มีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้บำบัดน้ำกากส่าร่วมกับการออกซิเดชันด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์มากที่สุด en
dc.description.abstractalternative This research was studied the potential of using water treatment sludge and asphaltic fly ash as coagulants for COD removal and color removal in comparison with alum and lime by using jar test. The efficiency of molasses distillery slops treatment using water treatment sludge and asphaltic fly ash in combination to hydrogen peroxide were studies. The appropriate condition was determined using the Duncan’s new multiple range test at the 0.05 level of significance. The potential of using water treatment sludge and asphaltic fly ash as coagulant, comparing with alum and lime showed that lime at optimum dosage and pH can remove COD at the highest efficiency (40.20%) and water treatment sludge, alum and asphaltic fly ash can remove 30.77, 22.88 and 13.51%, respectively. Lime can reduce color at the highest efficiency (37.76%) and alum, water treatment sludge and asphaltic fly ash can reduce 26.32, 23.50 and -15.71%, respectively. Oxidation with hydrogen peroxide, showed that water treatment sludge as coagulant can reduce COD at the highest efficiency (51.92%) and alum, asphaltic fly ash and lime can reduce 42.24, 26.87 and 24.31%, respectively. Asphaltic fly ash can reduce color at the highest efficiency (54.92%) and water treatment sludge, alum and lime can reduce 14.85, 11.92 and 3.20%, respectively, but pH at the end of reaction were 2.86, 2.82, 3.23 and 7.71, respectively. Consideration on the combined process of coagulation and oxidation, the result suggested that using water treatment sludge as coagulant combined with hydrogen peroxide gave the highest efficiency of COD removal of molasses distillery slops at 67.26% (H[subscript 2]O[subscript 2] 240 g/l) and lime as coagulant combined with hydrogen peroxide gave the highest efficiency of color removal of molasses distillery slops at 43.83% (H[subscript 2]O[subscript 2] 150 g/l). Studied effect of ferrous sulfate iron (FeSO[subscript 4]) on hydrogen peroxide oxidation, showed that all coagulants can reduce COD more than oxidation with hydrogen peroxide only but can reduce color at fairly efficiency. The results are well although an oxidation without FeSO[subscript 4] on water treatment sludge and lime as coagulants. On the economic, lime to be extremely possible as coagulant on treatment of molasses distillery slops combined with hydrogen peroxide. en
dc.description.sponsorship ทุนวิจัยกองทุนรัชดาภิเษกสมโภช en
dc.format.extent 3068098 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject กากตะกอนน้ำเสีย
dc.subject น้ำกากส่า
dc.subject การตกตะกอน (เคมี)
dc.subject ขี้เถ้าลอย
dc.subject ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์
dc.subject ออกซิเดชัน
dc.title การลดซีโอดีและสีของน้ำกากส่าโดยใช้กากตะกอนระบบผลิตน้ำประปาเถ้าลอยแอสฟัลท์และไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ : รายงานวิจัย en
dc.title.alternative COD and color removal of molasses distillery slops using water treatment sludge, asphaltic fly ash and hydrogen peroxide en
dc.type Technical Report es
dc.email.author Thares.S@chula.ac.th
dc.email.author ไม่มีข้อมูล


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record