Abstract:
วางแผนการกระตุ้นพัฒนาการเฉพาะบุคคล สำหรับเด็กกำพร้าในสถานสงเคราะห์เด็กอ่อนพญาไท โดยใช้วิธีกรณีศึกษา กับกลุ่มตัวอย่าง 7 ราย ซึ่งประกอบด้วย กรณีศึกษา 3 ราย ที่ได้รับการกระตุ้นพัฒนาการ และตัวควบคุมเทียม 4 ราย ที่ไม่ได้รับการกระตุ้นพัฒนาการ โดยสร้างแผนการกระตุ้นพัฒนาการ ด้วยแบบประเมินพัฒนาการ Hawaii Early Learning Profile (HELP) ผลจากการวิจัยพบว่า แผนการกระตุ้นพัฒนาการมีประสิทธิภาพ เนื่องจากหลังการกระตุ้นพัฒนาการ 4 เดือน กลุ่มกรณีศึกษาที่ได้รับการกระตุ้นพัฒนาการ จะเกิดพฤติกรรมเป้าหมายเร็วกว่า และเกิดมากกว่ากลุ่มควบคุมเทียมในพัฒนาการทุกๆ ด้าน