Abstract:
วัตถุประสงค์: ศึกษาหาวิธีการสร้างแบบจำลองสันเหงือกไร้ฟันต้นแบบบน และล่าง เพื่อนำไปใช้สร้างถาดพิมพ์ปากไร้ฟันต้นแบบ แล้วทดสอบถาดพิมพ์ปากไร้ฟันต้นแบบบน และล่างโดยศึกษาความหนาของวัสดุพิมพ์ปากอัลจิเนต วิธีการวิจัย: สร้างแบบจำลองสันเหงือกไร้ฟันต้นแบบบนและล่าง 4 ขนาด จากข้อมูลความกว้าง, ความยาว และความสูงของสันเหงือกไร้ฟัน ที่ได้จากงานวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท เรื่อง การจำแนกสันเหงือกไร้ฟันในประชากรไทยกลุ่มหนึ่ง โดยนางเยาวภา สายใหม่ นำแบบจำลองที่ได้มาสร้างถาดพิมพ์ปากไร้ฟันต้นแบบบน และ ล่าง 4 ขนาด เว้นที่ไว้สำหรับวัสดุพิมพ์ปาก 3 มิลลิเมตร นำแบบหล่อหลักจำลองที่ถูกจัดขนาดไว้ตรงกับขนาดถาดพิมพ์ปากไร้ฟันต้นแบบมากลุ่มละ 11 แบบจำลอง ยกเว้นกลุ่มสันเหงือกบนขนาดใหญ่มาก และกลุ่มสันเหงือกล่างขนาดใหญ่มากจะนำมาทดสอบเพียง 10 และ 3 แบบจำลองตามลำดับ ขึ้นกับจำนวนแบบจำลองในแต่ละกลุ่ม ทดสอบโดยใช้ถาดพิมพ์ปากไร้ฟันต้นแบบพิมพ์แบบหล่อหลักจำลองด้วยวัสดุพิมพ์ปากอัลจิเนต วัดความหนาวัสดุพิมพ์ปากอัลจิเนตในรอยพิมพ์ด้วยเครื่องมือขยายคลองรากฟันติด รับเบอร์สทอฟ ร่วมกับ ดิจิตอล เวอร์เนียร์ ค่าลิปเปอร์ จุดอ้างอิงการวัดรอยพิมพ์แบบจำลองบนมี 26 ตำแหน่ง รอยพิมพ์แบบจำลองล่างมี 43 ตำแหน่ง นำค่าความหนาของวัสดุพิมพ์ปากอัลจิเนตที่ได้มาวิเคราะห์การแจกแจงความถี่ และวิเคราะห์ผลในเชิงพรรณา โดยเปรียบเทียบความหนาของวัสดุพิมพ์ปากอัลจิเนต ที่ผู้ชำนาญการเฉพาะทางสาขาทันตกรรมประดิษฐ์ 9 ท่าน ให้ความเห็นว่าเหมาะสม คือ 3-5 มิลลิเมตร ผลการวิจัย: สามารถสร้างแบบจำลองสันเหงือกไร้ฟันต้นแบบ และถาดพิมพ์ปากไร้ฟันต้นแบบบนและล่าง 4 ขนาด โดยวิธีการที่ใช้ในงานวิจัยนี้ ผลการทดสอบ พบว่า 51.16% ของรอยพิมพ์แบบหล่อหลัก จำลองบน และ 16.67% ของรอยพิมพ์แบบหล่อหลักจำลองล่าง มีความหนาอัลจิเนตอยู่ในช่วง 3-5 ม.ม. มากกว่า 50% ของจุดอ้างอิงการวัดทั้งหมด