Abstract:
การศึกษาบทโขนที่แต่งขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ผ่านนาฏยกระบวนทัศน์จากต้นฉบับตัวเขียน และฉบับตีพิมพ์ครั้งต่างๆ ในบทความนี้เป็นความพยายามจะทดลองพิจารณาบทโขนด้วยวิธีวิทยาซึ่งแตกต่างไปจากที่ได้เคยมีผู้ศึกษาไว้แล้ว เพื่อยืนยันพื้นฐานความคิดที่ว่า การศึกษาในสาขาวิชานาฏยศิลป์ไทยนั้น สามารถศึกษาโดยอาศัย “ตัวบท” เป็นข้อมูลหลักได้ และผลจากการทดลองศึกษาครั้งนี้ พบว่าวิธีการสร้างบทโขนที่แตกต่างกันในแต่ละยุคสมัย และตามลักษณะเฉพาะของบุคคลนั้น มีนัยสำคัญต่อความเปลี่ยนแปลงของกระบวนเล่นโขนอย่างชัดเจน และเห็นจริง