DSpace Repository

ภาพลักษณ์ของห้องสมุดยุคใหม่ : การประยุกต์ใช้กลยุทธ์การตลาดเพื่อการบริหารคุณภาพในห้องสมุดคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Show simple item record

dc.contributor.author นฤมล กิจไพศาลรัตนา
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
dc.date.accessioned 2009-06-11T08:07:29Z
dc.date.available 2009-06-11T08:07:29Z
dc.date.issued 2552
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9042
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้เป็นการประยุกต์ใช้กลยุทธ์การตลาดเพื่อปรับปรุง พัฒนาและสร้างสรรค์แนวทางการให้บริการเพื่อตอบสนองการให้บริการเพื่อตอบสนองความพึงพอใจของผู้ใช้ โดยการศึกษาปัจจัยที่เข้าใช้ห้องสมุดคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ประเด็นที่ควรปรับปรุง ประเภทบริการ ความพึงพอใจห้องสมุดในภาพรวม ความพึงพอใจกิจกรรมและปัจจัยด้านต่างๆ รวมทั้งศึกษาเปรียบเทียบกับห้องสมุดคณะทางสังคมศาสตร์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ใช้ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายจำนวน 25 คน จากแบบสอบถามจำนวน 398 ชุด และจากข้อมูลตัวชี้วัดปริมาณการยืมหนังสือ และจำนวนผู้เข้าใช้ห้องสมุด และประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูปSPSS for Windows (Statistical Package for the Social for Windows) version 13.0 และผลการวิจัยครั้งพบว่า 1. ปัจจัยสำคัญที่สุด 3 ประการที่ทำให้ผู้เข้าใช้ห้องสมุดได้แก่ บรรยากาศและสภาพแวดล้อมในห้องสมุด (ร้อยละ 26.38) เจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ (ร้อยละ 24.63) และสิ่งพิมพ์หลากหลายตรงกับความต้องการ (19.85) 2. ประเด็นสำคัญที่ห้องสมุดควรรีบปรับปรุงได้แก่ จำนวนคอมพิวเตอร์มีน้อย เครื่องถ่ายเอกสารคุณภาพไม่ดี (ร้อยละ 22.87) และหนังสือมีจำนวนชื่อเรื่อง (Title) และจำนวนเล่ม (Copy) น้อยเกินไป (ร้อยละ 17.09) 3. มีการใช้บริการยืม-คืนหนังสือมากที่สุดเป็นอันดับ 1 (ค่าเฉลี่ยน้ำหนัก 57.17) ใช้บริการอ่านและถ่ายสำเนาวารสารเป็นอันดับ 2 (ค่าเฉลี่ยน้ำหนัก 24.67) ใช้บริการCyber zone เป็นอันดับ 3 (ค่าเฉลี่ยน้ำหนัก 22.94)ใช้บริการมุมกาแฟเป็นอันดับ4 (ค่าเฉลี่ยน้ำหนัก 21.61)และใช้บริการห้องน้ำสะอาด...เสียงเพลงตามสายเป็นอันดับ 5 (ค่าเฉลี่ยน้ำหนัก 21.00) 4.ในการจัดกลุ่มบริการ18 ประเภทของห้องสมุดคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ผู้ใช้เห็นว่าเป็นบริการพื้นฐานที่ห้องสมุดต้องมี 10 ประเภท ได้แก่ บริการยืม-คืนหนังสือ บริการอ่าน/ถ่ายสำเนาวารสาร บริการอ่าน/ถ่ายสำเนาวิทยานิพนธ์ บริการอ่าน/ถ่ายสำเนาข่าวเด่นประเด็นร้อน บริการโสตทัศนวัสดุค้น/อ่านข้อมูลออนไลน์ บริการยืมระหว่างห้องสมุดจุฬาฯบริการ Cyber zone บริการห้องน้ำสะอาด...เสียงเพลงตามสาย และWireless area บริการที่ห้องสมุดควรมี 3 ประเภท ได้แก่ บริการห้องสัมมา บริการยืมต่อหนังสือด้วยตนเองระบบออนไลน์ และบริการหนังสือใหม่ทันใจในวันเดียว ส่วนบริการประเภทเหนือความคาดหมาย 5 ประเภทได้แก่ บริการห้องปฏิบัติศาสนกิจ (ละหมาด) บริการข่าวเที่ยงวันทันเหตุการณ์ บริการมุมกาแฟ บริการ Citation clinic และบริการยืมระหว่างห้องสมุดต่างมหาวิทยาลัย 5. ผู้ใช้พึงพอใจกิจกรรรม 9 ประเภทได้แก่ Cyber zone คนละ 45 นาที/ครั้ง การเปลี่ยนรองเท้าเมื่อเข้าห้องน้ำ การเก็บค่าธรรมเนียมบุคคลภายนอก (ยกเว้นนักเรียน) การให้นิสิตต่างคณะ/คนภายนอกใช้ห้องสมุดได้ตลอดเวลา การกำหนดระเบียบการแต่งกายของผู้ใช้ การให้นิสิตต่างคณะยืมหนังสือเพิ่มได้คนละ 3 เล่มทุกวันอังคาร การให้เฉพาะนิสิต/อาจารย์รัฐศาสตร์ใช้ห้อง Study room การให้ยืมต่อหนังสือออนไลน์ด้วยตนเองได้คนละ 1 ครั้ง และการบริการยืมระหว่างห้องสมุดในจุฬาฯเฉพาะอาจารย์/นิสิตปริญญาโทและเอก และไม่พึงพอใจกิจกรรม 5 ประเภทได้แก่ การให้นิสิตต่างคณะ/สถาบันจุฬาฯ และบุคคลภายนอกใช้ Cyber zone ได้ การให้สิทธิ์อาจารย์รัฐศาสตร์ยืมหนังสือได้ไม่จำกัด การอนุญาตให้ใช้โทรศัพท์มือถือในห้องสมุด การมีบริการ “เสียงตามสาย” เตือนเมื่อผู้ใช้เสียงดัง ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีเพราะการมีเสียงเตือนเป็นการรบกวนผู้ใช้ และการมีบริการ “กล่องรับคืนหนังสือ”หน้าห้องสมุดไม่จำเป็นต้องมีเพราะห้องสมุดเปิดบริการทุกวัน 6. โดยรวมผู้ใช้พึงพอใจห้องสมุดระดับมาก ([Mean] = 3.91 จากคะแนนเต็ม 5) โดยพึงพอใจด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการสูงกว่าด้านอื่น ([Mean] = 4.08) รองลงมาเป็นด้านลักษณะการบริการ ([Mean] = 4.05) ด้านบรรยากาศ สภาพแวดล้อมและสถานที่ ([Mean] = 3.82) ด้านทรัพยากรสารสนเทศ ([Mean] = 3.81) และด้านอุปกรณ์และเครื่องมือ ([Mean] = 3.79) ตามลำดับ 7. จุดเด่นของห้องสมุดคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ได้แก่ เจ้าหน้าที่มีอัธยาศัย และมีจิตใจรักการบริการ และห้องสมุดมีสภาพแวดล้อมที่ดี สะอาด และมีห้องน้ำที่สะอาดมาก สำหรับด้านที่ควรปรับปรุงได้แก่ บางครั้งนิสิตเสียงดังรบกวนผู้ใช้คนอื่น อุณหภูมิในห้องสมุดต่ำเกินไป จำนวนคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการอินเตอร์เน็ตมีน้อยเกินไป และเจ้าหน้าที่แผนกวารสารดุ 8. จากการเปรียบเทียบห้องสมุดคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ กับห้องสมุดทางสังคมศาสตร์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อีก 6 แห่ง ได้พาณิชยศาสตร์ และการบัญชี ห้องสมุดคณะครุศาสตร์ ห้องสมุดคณะนิติศาสตร์ ห้องสมุดคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ และห้องสมุดคณะเศรษฐศาสตร์ และห้องสมุดคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระหว่างเดือนมิถุนายน 2551 – มกราคม 2552 พบว่าห้องสมุดคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ เป็นห้องสมุดที่มีการยืมหนังสือมากที่สุด โดยมีการยืมทั้งสิ้น 57,229 เล่ม หรือคิดเป็นร้อยละ 24.15 รองลงมาเป็นห้องสมุดคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ มีจำนวน 55,249 เล่ม หรือร้อยละ 23.31 และอันดับที่ 3 ได้แก่ ห้องสมุดคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จำนวน 30,835 เล่ม หรือร้อยละ 13.01 สำหรับห้องสมุดที่มีผู้เข้าใช้มากที่สุดได้แก่ ห้องสมุดคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ มีผู้เข้าใช้จำนวน 310,734 คน หรือร้อยละ 29.68 รองลงมาได้แก่ ห้องสมุดคณะครุศาสตร์ จุฬาฯมีผู้เข้าใช้จำนวน 210,089 คน หรือร้อยละ 20.07 และอันดับ 3 ได้แก่ ห้องสมุดคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ มีผู้เข้าใช้ 175,764 คน หรือร้อยละ 16.79 ส่วนห้องสมุดคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ มีผู้เข้าใช้มากเป็นอันดับ 4 จำนวนทั้งสิ้น 127,613 คน หรือร้อยละ 12.19
dc.description.abstractalternative The purpose of this study is to analyze the user satisfaction in Political Science Library, Chulalongkorn University by applying marking strategies to improve, develop and create library services. This study was carried out on library use factors, areas of improvement, group of services and satisfaction in various services and activities. This study also include the comparison with social science libraries in Chulalongkorn University and Thammasat University by using interview (25 users). Questionnaires (398 users) and two indicators: number of books borrowed and number of users. The results were then processed by SPSS for Windows program (Statistical Package for Social Science for Windows) version 13.0 and summarized as follows: 1. The most three important factors affected using Political Science Library are the environment and atmosphere, library staffs and availability of required books. 2. The urgent issues to improve library services are increasing the number or computers, the number of titles and copies of book and improving poor quality of photocopying machines. 3. The services most highly used in Political Science Library was books (weighted average = 57.17). The second rank was periodicals (weighted average = 24.67). The third rank was cyber zone (weighted average = 22.94). The fourth rank was coffee corner (weighted average = 21.61) and the fifth rank was toilet (weighted average = 21.00). 4. Among 18 service currently provided, users viewed that 10 of them are basic service (Books, Periodicals, Published thesis, Hot news, Audiovisual materials, Online publications, Interlibrary loan in Chulalongkorn University, Cyber zone, Toilet and Wireless area) 3 of them are one-dimensional (Study rooms, Book renew online and Cataloging) and 5 of them are attractive services (Islamic ritual room, Midday news, Coffee corner, Citation clinic and Interlibrary loan). 5.Users are satisfied with 9 activities- Cyber zone with 45 minutes/use, take off the shoes and wear provided slippers before entering the toilet, library fee for external visitors, permission for other faculty’s students and external visitors to use the library any time, the restriction on the attire of the users, permission for other faculty’s students to borrow more three books on every Tuesday, permission for only Political Science faculty members and students to use the study room, book renewal online and interlibrary loan. Apart from these, users are dissatisfied with 5 activities: permission for other faculty’s students and external visitors to use cyber zone, Political Science faculty members can borrow books with no limit, permission to use mobile phone in the library, warning sound (it is annoying) and the use of book drop in front of the library (The library opens daily) 6.Overall, users are highly satisfied with the Library ([Mean] =3.91; maximum scale = 5). They are very much satisfied with the four major aspects of library criteria pertaining to competence and demeanor of library staffs ([Mean] = 4.08); progressive services ([Mean] =4.05); library equipment ([Mean] = 3.79). The average score for competence and demeanor of library staffs is higher than the other aspects. 7. The strength of the library are the competence and demeanor of library staffs, pleasant environment and clean toilet. Users experience some difficulties concerning loud noise of the users, cool temperature in the library, inadequacy of computer and poor quality of photocopying machines. 8. From the comparison between Polities Science Library, Chulalongkorn University and the other six social science libraries: Commerce and Accountancy Library, Education Library, Law Library and Economic Library in Chulalongkorn University and Economics Library and Political Science Library in Thammasat University during June 2008-January 2009 we found that the number of books borrowed was highest at the Political Science Library, Chulalongkorn University at 57,229 volumes (24.15%), followed by Education Library, Chulalongkorn University at 55,249 volumes (23.31%) and Political Science Library, Thammasat University at 30,835 volumes (13.01%) respectively. The lowest level was Economics Library, Chulalongkorn University at 10,185 volumes (4.30%). The number of users was highest at Commerce and Accountancy Library, Chulalongkorn University at 310,734 persons (29.68%), followed by Education Library, Chulalongkorn University at 210,089 persons (20.07%) and Economics Library, Chulalongkorn University at 175,764 persons (16.79%). Political Science Library, Chulalongkorn University was at the fourth rank at 127,613 persons (12.19%). The lowest level was Political Science Library, Thammasat University at 57,438 persons (5.49%)
dc.description.sponsorship ทุนสนับสนุนจากโครงการ DD : Diagnosis & Development Project ส่วนประกันคุณภาพ สำนักบริหารวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีงบประมาณ 2551 en
dc.format.extent 11837781 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ห้องสมุดคณะรัฐศาสตร์
dc.subject ห้องสมุด -- การบริหาร
dc.subject ห้องสมุด -- การควบคุมคุณภาพ
dc.subject ห้องสมุด -- การตลาด
dc.title ภาพลักษณ์ของห้องสมุดยุคใหม่ : การประยุกต์ใช้กลยุทธ์การตลาดเพื่อการบริหารคุณภาพในห้องสมุดคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.title.alternative The image of library in new era : The implementation of marketing strategy for quality management in Political Science Library, Chulalongkorn University en
dc.type Technical Report es
dc.email.author Narumon.K@chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record