DSpace Repository

การเลือกรูปแบบการเดินทางของผู้เดินทางจากกรุงเทพมหานคร ถึง เชียงใหม่

Show simple item record

dc.contributor.advisor พงศา พรชัยวิเศษกุล
dc.contributor.author วาทินี สำราญจิตร์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
dc.coverage.spatial ไทย
dc.date.accessioned 2009-07-09T01:53:50Z
dc.date.available 2009-07-09T01:53:50Z
dc.date.issued 2548
dc.identifier.isbn 9745327859
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9139
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 en
dc.description.abstract วิทยานิพนธ์ฉบับนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเลือกรูปแบบการเดินทางและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกรูปแบบการเดินทางของผู้เดินทางในเส้นทางจากกรุงเทพมหานครถึงจังหวัดเชียงใหม่พร้อมทั้งพัฒนาแบบจำลอง Multinomial Logit ขึ้นเพื่อพยากรณ์ความน่าจะเป็นในการเลือกรูปแบบการเดินทางของผู้เดินทาง โดยใช้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้เดินทางจำนวน 390 ราย ซึ่งเดินทางโดยสายการบินต้นทุนต่ำ รถไฟด่วนพิเศษ และรถทัวร์ปรับอากาศ การวิเคราะห์ข้อมูลแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 1) ข้อมูลเกี่ยวกับการขนส่งในเส้นทางจากกรุงเทพมหานครถึงเชียงใหม่ 2) ข้อมูลพื้นฐานและหลักเกณฑ์ในการตัดสินใจเลือกเดินทางโดยขนส่งสาธารณะ โดยนำข้อมูลพื้นฐานรวมทั้งสิ่งที่ผู้เดินทางให้ความสำคัญต่อการเลือกเดินทางโดยขนส่งสาธารณะในด้านต่างๆ มาคำนวณสัดส่วน (Crosstabs) โดยแสดงในรูปของตาราง ซึ่งหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการตัดสินใจเดินทางโดยขนส่งสาธารณะ ประกอบด้วย ค่าโดยสาร ระยะเวลาในการเดินทาง ความถี่ของเที่ยวรถหรือเที่ยวบิน ความปลอดภัยในการเดินทาง ความสะดวกสบายในการเดินทาง การบริการและความคุ้นเคยในรูปแบบการเดินทาง แล 3) แบบจำลองการเลือกรูปแบบการเดินทาง Multinomial Logit ผลจากการประมาณค่าโดยแบบจำลอง พบว่า ตัวแปรที่มีนัยสำคัญต่อการเลือกรูปแบบการเดินทาง คือ ตัวแปรทางเศรษฐกิจและสังคม ได้แก่ เพศ อายุ รายได้ครัวเรือน จำนวนปีที่ศึกษา วัตถุประสงค์ในการเดินทาง ผู้ออกค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ประสบการณ์ในการเดินทาง รวมทั้งปัจจัยด้าน ระยะเวลาในการเดินทาง ความปลอดภัยในการเดินทาง และความสะดวกสบายในการเดินทาง แบบจำลองที่ได้มีค่าร้อยละการพยากรณ์ถูกต้องโดยรวมเท่ากับ ร้อยละ 73.6 และมีค่า McFadden-R[superscript2] เท่ากับ 0.443 สรุปได้ว่า แบบจำลอง Miltinomial Logit นี้มีความเหมาะสมกับการทำนายพฤติกรรมการเดินทางของผู้เดินทางที่ศึกษา en
dc.description.abstractalternative The purpose of this thesis is to define factors that affect the differences in mode choices by using questionnaire. The data collected from 390 travelers, who traveled form Bangkok to Chiang Mai by low-cost carrier, expressed train and conventional intercity bus. This study formulates a multinomial logit model of travel mode choice that accommodates variations in responsiveness to level of service measures due to individual characteristics. This study consists of 3 parts: 1) Transportation from Bangkok to Chiang Mai, giving a description of traveling by low-cost carrier, expressed train and conventional intercity bus; 2) Individual characteristics and mode selection criteria; reporting traveling data in term of crosstab table and the criteria are travel cost, travel time, frequency of service, safety, convenient, service and mode familiarity; 3) Multinomial logit model; the empirical result shows that statistically significant socio-economic variables are gender, age, household income, years of schooling, travel aim, fare payer, travel experience including travel time, safety and convenience factor. The correctly predicted percent of the model is 73.6 percent with 0.443 of McFadden-R[superscript2]. Therefore, the model is suitable to trace the traveling behavior patterns. en
dc.format.extent 2075526 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject การเดินทาง en
dc.subject การขนส่ง -- ไทย en
dc.title การเลือกรูปแบบการเดินทางของผู้เดินทางจากกรุงเทพมหานคร ถึง เชียงใหม่ en
dc.title.alternative Travel modal choice from Bangkok to Chiang Mai en
dc.type Thesis es
dc.degree.name เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline เศรษฐศาสตร์ es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor Pongsa.P@Chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record