dc.contributor.advisor |
วิศรุต ศรีบุญนาค |
|
dc.contributor.author |
ณัฐกานต์ วัชรชัยทโลสถ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี |
|
dc.date.accessioned |
2009-07-10T07:50:44Z |
|
dc.date.available |
2009-07-10T07:50:44Z |
|
dc.date.issued |
2549 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9207 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 |
en |
dc.description.abstract |
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาว่านักลงทุนใช้รายการคงค้างในดุลยพินิจของผู้บริหารเป็นข้อมูลในการตัดสินใจลงทุนหรือไม่ โดยผู้วิจัยศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรายการคงค้างในดุลยพินิจของผู้บริหาร อัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์ ความสามารถในการทำกำไรอนาคตของกิจการ และอัตราผลตอบแทนเกินปกติในอนาคต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่ดำเนินงานในช่วงปี พ.ศ. 2538-2547 ทั้งนี้รายการคงค้างในดุลยพินิจของผู้บริหารวัดค่าโดยใช้แบบจำลอง 5 ชนิด คือ แบบจำลอง Modified Jones แบบจำลอง Jones แบบจำลอง Healy แบบจำลอง De Angelo และแบบจำลอง Industry ผู้วิจัยใช้การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ และการวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยใช้สถิติทดสอบ t-test ในการทดสอบ ผลการศึกษาพบว่ากระแสเงินสดจากการดำเนินงานและรายการคงค้างรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับอัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์ และผลการดำเนินงานในอนาคตของกิจการ โดยที่กระแสเงินสดจากการดำเนินงานมีความสัมพันธ์กับอัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์ และผลการดำเนินงานในอนาคตมากกว่ารายการคงค้างรวม ผู้วิจัยจึงสรุปว่ากระแสเงินสดจากการดำเนินงาน และรายการคงค้างรวมเป็นข้อมูลที่นักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยใช้เพื่อการตัดสินใจลงทุน โดยที่นักลงทุนให้ความสำคัญกับกระแสเงินสดจากการดำเนินงานมากกว่ารายการคงค้างรวม การศึกษานี้ไม่พบว่านักลงทุนตัดสินใจลงทุนอย่างไม่เหมาะสม ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างรายการคงค้างในดุลยพินิจของผู้บริหาร อัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์ ความสามารถในการทำกำไรในอนาคต และอัตราผลตอบแทนเกินปกติในอนาคตแตกต่างกันไปตามแบบจำลองที่ผู้วิจัยใช้วัดค่ารายการคงค้างในดุลยพินิจของผู้บริหาร |
en |
dc.description.abstractalternative |
The main objective of this study is to examine the pricing of discretionary accruals. In particular, the study investigated the relationships among discretionary accruals, contemporaneous security returns, future profitability measures, and subsequent abnormal returns of companies listed in the Stock Exchange of Thailand during 1995 – 2004. Five models are used to estimated discretionary accruals : Modified Jones, Jones, Healy, De Angelo and Industry. This study employs the multiple regression technique and t-test in the examinations. The results indicate that operating cash flows and total accruals are positively related to stock returns and future profitability. The relation for operating cash flows is stronger than that for total accruals. The evidence suggests that the stock market price operating cash flows and total accruals, and that the market pricing for operating cash flow is stronger than that for total accruals. There is no supporting evidence of mispricing in the accrued items. The relationships among discretionary accruals, security returns, future profitability and subsequent abnormal returns are not robust to the models regression specifications used to estimate discretionary accruals. |
en |
dc.format.extent |
1406459 bytes |
|
dc.format.mimetype |
application/pdf |
|
dc.language.iso |
th |
es |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.522 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.subject |
การบัญชีเกณฑ์คงค้าง |
en |
dc.subject |
การลงทุน -- การตัดสินใจ |
en |
dc.title |
ความสัมพันธ์ระหว่างรายการคงค้างในดุลยพินิจของผู้บริหาร กับการตัดสินใจลงทุนของนักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย |
en |
dc.title.alternative |
The relationship between discretionary accruals and decision of investors in the Stock Exchange of Thailand |
en |
dc.type |
Thesis |
es |
dc.degree.name |
บัญชีมหาบัณฑิต |
es |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
es |
dc.degree.discipline |
การบัญชี |
es |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.email.advisor |
fcomvsb@phoenix.acc.chula.ac.th |
|
dc.identifier.DOI |
10.14457/CU.the.2006.522 |
|