Abstract:
ศึกษาหาตัวแบบพยากรณ์ วิธีการพยากรณ์ที่เหมาะสมสำหรับการพยากรณ์ จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคที่ต้องเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ของจังหวัดฉะเชิงเทรา และเพื่อพยากรณ์จำนวนผู้ป่วย อัตราการป่วยของการเกิดโรคที่ต้องเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ของจังหวัดฉะเชิงเทราล่วงหน้าในปี พ.ศ. 2542-2544 โดยเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยร้อยละของความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์ จากการพยากรณ์ เพื่อคัดเลือกตัวแบบ โดยในการศึกษาครั้งนี้ได้นำเทคนิคการพยากรณ์ และทฤษฎีทางสถิติมาช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย วิธีการบอกซ์และเจนกินส์ เทคนิคการปรับให้เรียบ การวิเคราะห์อนุกรมเวลาแบบคลาสสิค และวิธีการพยากรณ์ร่วมโดยการให้ค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก ด้วยวิธีการให้น้ำหนักที่เท่ากัน และด้วยวิธีการค่าสัมบูรณ์ต่ำสุด ข้อมูลที่ใช้เป็นข้อมูลทุติยภูมิรวบรวมจากกองระบาดวิทยา จังหวัดฉะเชิงเทรา มีลักษณะข้อมูลอนุกรมเป็นเวลารายเดือนระหว่างปี พ.ศ. 2526-2541 จำแนกตามโรคทั้งหมด 10 โรคด้วยกัน จากการศึกษาเปรียบเทียบการพยากรณ์ข้อมูลอนุกรมเวลา ที่นำมาวิเคราะห์ทั้ง 5 วิธี พบว่าวิธีการพยากรณ์ร่วมด้วยวิธีการค่าสัมบูรณ์ต่ำสุด และวิธีการบอกซ์และเจนกินส์ เหมาะสมกว่าวิธีการพยากรณ์อื่นๆ ที่นำมาศึกษาเปรียบเทียบสำหรับข้อมูลจำนวนผู้ป่วยทุกประเภทของโรค ได้ตัวแบบการพยากรณ์ของข้อมูลอนุกรมเวลาที่นำมาวิเคราะห์ ดังนี้ 1. ตัวแบบพยากรณ์สำหรับจำนวนผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วง 2. ตัวแบบพยากรณ์สำหรับจำนวนผู้ป่วยโรคอาหารเป็นพิษ 3. ตัวแบบพยากรณ์สำหรับจำนวนผู้ป่วยโรคตับอักเสบ 4. ตัวแบบพยากรณ์สำหรับจำนวนผู้ป่วยโรคตาแดง 5. ตัวแบบพยากรณ์สำหรับจำนวนผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ 6. ตัวแบบพยากรณ์สำหรับจำนวนผู้ป่วยโรคสุกใส 7. ตัวแบบพยากรณ์สำหรับจำนวนผู้ป่วยโรคหัด 8. ตัวแบบพยากรณ์สำหรับจำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก 9. ตัวแบบพยากรณ์สำหรับจำนวนผู้ป่วยโรคปอดบวม 10. ตัวแบบพยากรณ์สำหรับจำนวนผู้ป่วยโรควัณโรค