DSpace Repository

โลกาภิวัตน์ การเมืองและนโยบายแปรรูป : กรณีบริษัทบางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ประเทศไทย

Show simple item record

dc.contributor.advisor พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว
dc.contributor.author เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
dc.coverage.spatial ไทย
dc.date.accessioned 2009-07-30T04:49:11Z
dc.date.available 2009-07-30T04:49:11Z
dc.date.issued 2544
dc.identifier.isbn 9740302416
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9411
dc.description วิทยานิพนธ์ (ร.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 en
dc.description.abstract งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึงอิทธิพลของโลกาภิวัตน์ต่อนโยบายการแปรรูปบริษัทบางจาก มีประเด็นที่ต้องการศึกษา 3 ประเด็น คือ (1) อิทธิพลของโลกาภิวัตน์และการเมืองที่มีต่อนโยบาย (2) การเปลี่ยนแปลงนโยบาย และ (3) พฤติกรรมในกระบวนนโยบาย ประเภทการวิจัย จัดเป็นประเภทพรรณนาและแปลความ ส่วนวิธีการรวบรวมข้อมูลกระทำโดยการวิจัยเอกสารและสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า (1) นโยบายการแปรรูปบางจากมีข้อจำกัดเชิงโครงสร้าง 3 ด้าน คือ ด้านแรก การเร่งแปรรูปตามกรอบเวลา IMF ด้านที่สอง โลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจมีผลทำให้เกิดการต่อต้านโดยความพยายามสร้างกระแสท้องถิ่นนิยมของบริษัทบางจาก และด้านที่สาม บริษัทบางจากมีปัญหาพื้นทางด้านหนี้ เทคโนโลยี การดำเนินงานและสถานที่ ทำให้การแปรรูปโดยการขายหุ้นทำได้ยาก โดยเฉพาะการขายให้คนไทยและได้ราคาดี (2) การแปรรูปมีการเมืองในกระบวนนโยบาย เกิดความขัดแย้งเรื่องการกำหนดแนวทางในการแปรรูป การต่อสู้เพื่อผลักดันนโยบายและการตอบโต้กันในนโยบาย การแปรรูปบางจากมีปัญหาตั้งแต่แรกว่าจะขายหุ้นให้ใคร จำนวนเท่าไร ฝ่ายรัฐบาลต้องการขายหุ้นให้พันธมิตร ขณะที่ฝ่ายบางจากต้องการขายหุ้นให้คนไทย แต่ก็ไม่สามารถหาคนมาซื้อได้ ฝ่ายบางจากประสบความสำเร็จในการสร้างกระแสท้องถิ่นนิยมขึ้นมาในระดับหนึ่ง และเป็น ผู้กล่าวหาว่าฝ่ายที่ต้องการขายหุ้นมีคอมมิสชั่น จนอีกฝ่ายหนึ่งออกมาตอบโต้ เป็นผลให้กิจการ บางจากเสียหาย ราคาหุ้นตก เกิดการแตกแยกและเสียชื่อเสียง การต่อสู้กันทำให้แนวทางของนโยบายแปรรูปปรับเปลี่ยนไปมา การวิจัยได้เสนอให้คำนึงถึงปัจจัยของความสำเร็จในการแปรรูป ระวังปัญหาการเมือง วาระซ่อนเร้นในนโยบาย และควรกำหนดบทบาทและทิศทางของบริษัทบางจาก ให้ชัด รวมทั้งการพิจารณาแก้ปัญหาพื้นฐานอย่างจริงจัง en
dc.description.abstractalternative The objective of this research was to investigate the influence of globalization on the privatization of the Bangchak Petroleum, Plc. The study focused on three main areas: (1) the influence of globalization and politics on policy making, (2) changing policies and (3) behaviors in policy processes. This study was a descriptive and interpretive research, and relevant data were gathered through the documentary research and interviews of key persons. The results of the research revealed that (1) the privatization of Bangchak encountered three policy constraints, namely, the actual IMF policy prescriptions for Thailand, especially towards the privatization of Bangchak in mid 1998, the localism movement initiated by Bangchak since 1994 and the structural problems of Bangchak in terms of debt, technology, performance and location. (2) There was considerable political involvement in the privatization of Bangchak. A high degree of conflict was found over the privatization goals and objectives because Bangchak opposed the governmentʼs plan to sell company stock to foreigners. Still, this resulted in little impact. Meanwhile, implementation of the privatization policy of Bangchak resulted in business loss, decreased value of stock prices, incoherence, and loss in reputation. en
dc.format.extent 2320569 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject บริษัทบางจากปิโตรเลียม en
dc.subject การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ -- ไทย en
dc.title โลกาภิวัตน์ การเมืองและนโยบายแปรรูป : กรณีบริษัทบางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ประเทศไทย en
dc.title.alternative Globalization, politics and privatization policy : the case of the Bangchak Petroleum PLC., Thailand en
dc.type Thesis es
dc.degree.name รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาเอก es
dc.degree.discipline การปกครอง
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record