Abstract:
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความทนแรงดึง (TBS) ระหว่างฐานฟันปลอมอะคริลิกยึดกับซี่ฟันปลอมอะคริลิกที่กรอผิวด้านประชิดสัน เหงือกให้เรียบและซี่ฟันปลอมที่กรอด้านประชิดสันเหงือกออก โดยศึกษาจากซี่ฟันปลอม 4 ชนิด คือ 1) ซึ่ฟันปลอมพอลิเมทิลเมทาคริเลตชนิดเส้น (เมเจอร์เดนท์, Major Dent, M) 2) ซี่ฟันปลอมแบบอัด 3 ชั้นพอลิเมทิลเมทาคริเลตชนิดเส้น (เบสิก, Basic, B) 3) ซี่ฟันปลอมแบบอัด 3 ชั้นพอลิเมทิลเททาคริเลตชนิดที่มีสารเชื่อมขวางและวัสดุอัดแทรกซิลิกา (เอนดูรา, Endura, D) และ 4) ซี่ฟันปลอมแบบอัด 4 ชั้นพอลิเมอร์สหพันธ์ของเมทลเทมาคริเลต (เอสอาร์วิโวเดนพีอี, SR Vivodent PE, S) ในแต่ละชนิดแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 24 ซี่ คือ กลุ่มที่กรอผิวด้านประชิดสันเหงือก 1 มิลลิเมตรเพื่อให้เกิดความเรียบเป็นกลุ่มควบคุม (control, C) และกลุ่มที่กรอด้านประชิดสันเหงือกออก 4 มิลลิเมตรเป็นกลุ่มทดลอง (experiment, X) จากนั้นนำมายึดกับวัสดุทำฐานฟันปลอมอะคริลิกชนิดบ่มด้วยความร้อนที่อัดขึ้น รูปด้วยแบบทองเหลืองเพื่อให้พื้นที่ผิวสัมผัสระหว่างซี่ฟันปลอมกับฐานฟัน ปลอมอะคริลิกเท่ากันในทุกชิ้นทดสอบ นำชิ้นทดสอบไปแช่ในน้ำกลั่นที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 7 วัน จากนั้นนำไปทดสอบค่าความทนแรงดึงด้วยเครื่องทดสอบสากล (Instron, model 5583) ที่มีอัตราเร็วของหัวดึงเท่ากับ 0.254 มิลลิเมตรต่อนาที ได้ค่าเฉลี่ยของ TBS (X+-SD, MPa) ดังนี้คือ กลุ่ม MC 16.35+-3.84 กลุ่ม MX 16.31+-3.19 กลุ่ม BC 23.00+-3.55 กลุ่ม BX 22.88+-3.97 กลุ่ม EC 25.92+-5.44 กลุ่ม EX 24.34+-6.06 กลุ่ม SC 27.89+-4.15 และกลุ่ม SX 25.34+-4.87 จากการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของ TBS ระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองในซี่ฟันปลอมชนิดเดียวกันโดยใช้สถิติการวิ เคราะห์ทีเทสต์ ส่วนการหาความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของ TBS ของซี่ฟันปลอมต่างชนิดกัน ภายในกลุ่มเดียวกันนั้น ใช้สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนและการทดสอบแบบทูกีย์ ได้ผลดังนี้คือ ซี่ฟันปลอม M, B, E และ S ค่า TBS ระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ส่วนการเปรียบเทียบภายในกลุ่มเดียวกัน (กลุ่มควบคุมหรือกลุ่มทดลอง) พบว่าซี่ฟันปลอม M มีค่า TBS ต่ำกว่าซี่ฟันปลอมอื่นทั้งในกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติ (p is less than or equal to 0.05) จากผลการทดลองสามารถสรุปได้ว่าการกรอพื้นผิวด้านประชิดสันเหงือกของซี่ฟัน ปลอมออกไม่ทำให้การยึดแน่นกับวัสดุทำฐานฟันปลอมเปลี่ยนไป