dc.contributor.advisor |
วัชระ เพชรคุปต์ |
|
dc.contributor.author |
ธานัน จารุประกร, 2515- |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2006-05-27T07:02:36Z |
|
dc.date.available |
2006-05-27T07:02:36Z |
|
dc.date.issued |
2544 |
|
dc.identifier.isbn |
9741703686 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/95 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 |
en |
dc.description.abstract |
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวัดขนาดแรงกดฟันหน้าล่าง และเปรียบเทียบแรงกดฟันหน้าล่างของลวดโค้งไนไทขึ้นรูปสำเร็จรูปโค้งสปีกลับทาง (Ormco) และลวดโค้งทีเอ็มเอขึ้นรูปสำเร็จรูปโค้งสปีกลับทาง (Ormco)โดยมีสมมุติฐานของการวิจัยว่าลวดโค้งไนไทขึ้นรูปสำเร็จรูปโค้งสปีกลับทางและลวดโค้งทีเอ็มเอขึ้นรูปสำเร็จรูปโค้งสปีกลับทาง มีขนาดแรงกดฟันหน้าล่างแตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มแบบไม่เฉพาะเจาะจงแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ ลวดไนไทขึ้นรูปสำเร็จรูปโค้งสปีกลับทาง (Ormco) ชนิดหน้าตัดกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.016 และ 0.018 นิ้ว ชนิดหน้าตัดเหลี่ยมขนาด 0.016x0.022 นิ้ว และลวดโค้งทีเอ็มเอขึ้นรูปสำเร็จรูปโค้งสปีกลับทาง (Ormco) ชนิดหน้าตัดเหลี่ยมขนาด 0.016x0.022 นิ้ว กลุ่มละ 30 เส้น รวมทั้งหมด 120 เส้น นำมาวัดค่าแรงกดฟันหน้าล่างใช้เครื่องลอยด์ยูนิเวอร์แซลเทสติงมาชีน รุ่น LR 10K โดยจำลองลักษณะการใช้งานจริงในขากรรไกรล่างด้วยแบบจำลองขากรรไกรล่างที่ทำจากเรซินอะคริลิกชนิดบ่มตัวด้วยความร้อนและฟันปลอมที่ทำจากยางอีพอกซียี่ห้อ Major Dent ซี่ฟันตัดล่างซี่กลางและฟันกรามล่างซี่ที่หนึ่งซ้ายและขวา การให้แรงกดฟันหน้าล่างใช้กลไก "2 by 4" วัดแรงกดฟันหน้าล่างและแปลผลเป็นกราฟโหลด-ดีเฟล็กชัน จากนั้นทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของแรงกดฟันหน้าล่างของลวดโค้งไนไทและลวดโค้งทีเอ็มเอขึ้นรูปสำเร็จรูปโค้งสปีกลับทางที่มีขนาดและลักษณะหน้าตัดต่างๆกัน ทำการวิเคราะห์ ความแปรปรวนทางเดียว (one way analysis of variance : ANOVA) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และถ้าผลวิเคราะห์แสดงความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ จึงทดสอบเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของ Tukey test ที่ระดับ 0.05 โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS เวอร์ชั่น 10.0.7ผลการวิจัยสรุปว่าค่าเฉลี่ยแรงกดฟันหน้าล่างของลวดโค้งไนไทขึ้นรูปสำเร็จรูปโค้งสปีกลับทางชนิดหน้าตัดกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.016 และ 0.018 นิ้ว ชนิดหน้าตัดเหลี่ยมขนาด 0.016x0.022 นิ้ว และลวดโค้งทีเอ็มเอขึ้นรูปสำเร็จรูปโค้งสปีกลับทางชนิดหน้าตัดเหลี่ยมขนาด 0.016x0.022 นิ้ว วัดที่ระนาบอ้างอิงและที่ความสูง 2, 4, 6 มม.เหนือระนาบอ้างอิงมีค่าเป็นช่วงดังนี้ 0.21-0.25, 0.29-0.35, 0.56-0.69 และ 0.40-0.65 นิวตัน ตามลำดับ ค่าเฉลี่ยแรงกดฟันหน้าล่างของลวดโค้งไนไทขึ้นรูปสำเร็จรูปโค้งสปีกลับทางแต่ละชนิดและค่าเฉลี่ยแรงกดฟันหน้าล่างของลวดโค้งทีเอ็มเอขึ้นรูปสำเร็จรูปโค้งสปีกลับทาง มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 โดยลวดโค้งไนไทขึ้นรูปสำเร็จรูปโค้งสปีกลับทางชนิดหน้าตัดเหลี่ยมขนาด 0.016x0.022 นิ้ว มีค่าเฉลี่ยค่าแรงกดฟันหน้าล่างมากที่สุดที่ทุกระดับความสูงที่ศึกษารองลงมาได้แก่ ลวดโค้งทีเอ็มเอขึ้นรูปสำเร็จรูปสปีกลับทางชนิดหน้าตัดเหลี่ยมขนาด 0.016x0.022 นิ้ว ลวดโค้งไทไนขึ้นรูปสำเร็จรูปโค้งสปีกลับทางชนิดหน้าตัดกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.018 และ 0.016 นิ้ว ตามลำดับ และค่าเฉลี่ยแรงกดฟันหน้าล่างที่วัดได้ในลวดชนิดเดียวกัน ที่ระดับความสูง 6,4,2 มม.เหนือระนาบอ้างอิง และที่ระนาบอ้างอิงมีค่าลดลงตามลำดับและมีค่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ยกเว้นในลวดโค้งไนไทขึ้นรูปสำเร็จรูปโค้งสปีกลับทางชนิดหน้าตัดกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.016 และ 0.018 นิ้ว ซึ่งไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของค่าเฉลี่ยแรงกดฟันหน้าล่างที่วัดได้ที่ระดับ 2 มม. เหนือระนาบอ้างอิงและที่ระนาบอ้างอิง |
en |
dc.description.abstractalternative |
The purpose of the present study was to measure the intrusive forces on the lower anterior teeth exerted by the reverse curve Ni-Ti (Ormco) and the reverse curve TMA (Ormco) on an in vitro model. Three different types of the reverse curve Ni-Ti, 0.016 inch, 0.018 inch and 0.016x0.022 inch, and 0.016x0.022 inch reverse curve TMA were tested. By non-purposive sampling, thirty of each groups were placed in the acrylic resin model. Intrusive force, from "2 by 4" mechanics, was measured by the Lloyd universal testing machine at the reference plane and at 2, 4, 6 mm. above the reference plane. Reported data was recorded during the unloading process to simulate the intrusive force on the lower incisors. A one way ANOVA and Tukey's test were used to evaluate the mean intrusive force differences. Intrusive forces of 0.016 inch, 0.018 inch, and 0.016x0.022 inch reverse curve NiTi and 0.016x0.022 inch reverse curve TMA ranged 0.21-0.25, 0.29-0.35, 0.56-0.69 and 0.40-0.65 N respectively. Results showed significant difference (p<0.05) in mean intrusive force among 0.016 inch, 0.018 inch, 0.016x0.022 inch reverse curve Ni-Ti and 0.016x0.022 inch reverse curve TMA. The 0.016x0.022 inch reverse curve Ni-Ti produced the greatest intrusive force at every level measured (p<0.05), followed by 0.016x0.022 inch reverse curve TMA, 0.018 inch and 0.016 inch reverse curve Ni-Ti respectively. Only 0.016 inch and 0.018 inch reverse curve Ni-Ti gave relatively constant intrusive force when measured between 2 mm. above the reference plane and at the reference plane. |
en |
dc.format.extent |
1515787 bytes |
|
dc.format.mimetype |
application/pdf |
|
dc.language.iso |
th |
en |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.14457/CU.the.2001.509 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.subject |
ทันตกรรมจัดฟัน |
en |
dc.subject |
ลวดโค้งทางทันตกรรมจัดฟัน |
en |
dc.title |
การศึกษาแรงกดฟันหน้าล่างของลวดโค้งรูปโค้งสปีกลับทางต่างชนิด |
en |
dc.title.alternative |
A study of intrusive force on lower anterior teeth produced by various types of reverse curve archwire |
en |
dc.type |
Thesis |
en |
dc.degree.name |
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
en |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
en |
dc.degree.discipline |
ทันตกรรมจัดฟัน |
en |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.email.advisor |
Vachara.Ph@Chula.ac.th |
|
dc.identifier.DOI |
10.14457/CU.the.2001.509 |
|