DSpace Repository

การศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคซึมเศร้ารุนแรง ชนิดเฉียบพลันและชนิดเรื้อรัง

Show simple item record

dc.contributor.advisor นิพัทธิ์ กาญจนธนาเลิศ
dc.contributor.advisor ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน
dc.contributor.advisor อำไพขนิษฐ์ สมานวงศ์ไทย
dc.contributor.author อังคาร ศรีชัยรัตนกูล
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2009-08-11T05:22:20Z
dc.date.available 2009-08-11T05:22:20Z
dc.date.issued 2543
dc.identifier.isbn 9741312849
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9921
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 en
dc.description.abstract ศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคซึมเศร้ารุนแรงชนิดเฉียบพลัน และผู้ป่วยโรคซึมเศร้ารุนแรงชนิดเรื้อรัง ศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิต ของผู้ป่วยโรคซึมเศร้ารุนแรงชนิดเฉียบพลัน และผู้ป่วยโรคซึมเศร้ารุนแรงชนิดเรื้อรัง โดยศึกษาในผู้ป่วยโรคซึมเศร้ารุนแรงจำนวน 217 คน ที่มารับการรักษาแผนกผู้ป่วยนอกจิตเวช ของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา และโรงพยาบาลศรีธัญญา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ 1) แบบประเมินคุณภาพชีวิต 2) แบบวัดระดับความรุนแรงของอาการซึมเศร้า ค่าสถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างโดย Chi-square test, Mann-Withney, correlation, multiple linear regression ซึ่งการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSs/PC+ ผลการศึกษา ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ารุนแรงชนิดเฉียบพลัน จำนวน 43 คน และผู้ป่วยโรคซึมเศร้ารุนแรงชนิดเรื้อรัง จำนวน 174 คน พบว่าคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคซึมเศร้ารุนแรงชนิดเฉียบพลัน (คะแนนคุณภาพชีวิตเฉลี่ย = 172.88) และผู้ป่วยโรคซึมเศร้ารุนแรงชนิดเรื้อรัง (คะแนนคุณภาพชีวิตเฉลี่ย = 220.43) ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<0.05 และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิต ของผู้ป่วยโรคซึมเศร้ารุนแรงชนิดเฉียบพลันคือ ระดับความรุนแรงของอาการซึมเศร้า และการมีปัญหาค่าใช้จ่ายในการรักษา โดยมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ p<0.05 ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิต ของผู้ป่วยโรคซึมเศร้ารุนแรงชนิดเรื้อรังคือ การมีปัญหาครอบครัว ระยะเวลาการป่วย และระดับความรุนแรงของอาการซึมเศร้า โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<0.05 en
dc.description.abstractalternative To study the level of quality of life and predictive factors between acute and chronic major depression. The subject of this study include 217 major depressive patients who had attended the clinics at King Chulalongkorn Memorial Hospital, Somdedjoaphaya, and Srithunya Hospital. The instruments were quality of life questionnaire (SF-36), Hamilton Rating Scale for Depression Thai version (HAM-D). Percentage, mean, standard deviation were determined. Chi-square test, Mann Whitney, correlation and multiple linear regression were used for statistical analysis. All of data were analyzed with SPSS program. The study revealed that the quality of life of 43 acute major depressive patients (mean score = 172.88) and 174 chronic major depressive patients (mean score = 220.43) were significantly no difference at p<0.05. The predictive factors to quality of life of acute major depressive patients were the severity of depressive symptoms and economic problem. (p<0.05) The predictive factors to quality of life of chronic major depressive patients were family problems, preiod of illness, severity of depression (HAM-D). (p<0.05). en
dc.format.extent 911858 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject ความซึมเศร้า en
dc.subject คุณภาพชีวิต en
dc.title การศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคซึมเศร้ารุนแรง ชนิดเฉียบพลันและชนิดเรื้อรัง en
dc.title.alternative A comparative study of quality of life between acute and chronic major depression en
dc.type Thesis es
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline สุขภาพจิต es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record