Abstract:
จังหวัดสิงห์บุรีดำเนินโครงการอนุรักษ์แม่น้ำน้อยตั้งแต่ปี 2536 แต่ปัจจุบันยังมีปัญหาน้ำในแม่น้ำน้อยเน่าเสียอยู่ อาจเนื่องจากอาสาสมัครพิทักษ์แม่น้ำน้อยบางส่วนมีพฤติกรรมการอนุรักษ์แม่น้ำ ไม่ถูกต้อง การศึกษาเชิงพรรณานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา พฤติกรรมและปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์แม่น้ำของอาสาสมัครพิทักษ์ แม่น้ำน้อยในจังหวัดสิงห์บุรี เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามประกอบการสัมภาษณ์ระหว่างเดือนตุลาคม 2545-มกราคม 2546 กลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครพิทักษ์แม่น้ำน้อยทั้งหมด จำนวน 413 รายโดยไม่มีการสุ่ม วิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าต่ำสุด สูงสุด และมัธยฐาน ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ Chi Square test ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการอนุรักษ์แม่น้ำที่ถูกต้องในระดับปานกลาง และปัจจัยด้านเพศ อาชีพ ระยะเวลาที่อาศัยริมฝั่งแม่น้ำน้อย จำนวนสมาชิกในครัวเรือน ประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาน้ำเสีย การรับรู้ข่าวสาร ความรู้ และทัศนคติในการอนุรักษ์แม่น้ำ ก่อให้เกิดความแตกต่างในเรื่องพฤติกรรมการอนุรักษ์แม่น้ำน้อย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยเพศชายมีพฤติกรรมการอนุรักษ์แม่น้ำถูกต้องมากที่สุด ร้อยละ 50.0 ผู้ไม่เคยประสบปัญหาน้ำเสียมีพฤติกรรมการอนุรักษ์แม่น้ำถูกต้องมากกว่าเคย ร้อยละ 39.6 ต่อ ร้อยละ 33.5 ระยะเวลาที่อาศัยริมฝั่งแม่น้ำน้อยมีแนวโน้มจะมีความสัมพันธ์แบบผกผัน (Negative Relationship) กับพฤติกรรมการอนุรักษ์แม่น้ำที่ถูกต้อง ในขณะที่ระดับ การรับรู้ข่าวสาร ความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับการอนุรักษ์แม่น้ำที่ถูกต้อง ส่วนปัจจัยอื่นๆ ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการอนุรักษ์แม่น้ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการศึกษาดังกล่าว นำมาซึ่งการเสนอแนะแนวทางแก้ปัญหาพฤติกรรมการอนุรักษ์แม่น้ำของอาสาสมัคร พิทักษ์แม่น้ำน้อยให้ถูกต้องสูงขึ้น โดยเน้นการให้ความรู้และปรับเปลี่ยนทัศนคติในการอนุรักษ์แม้น้ำของอาสา สมัครฯ โดยประชาสัมพันธ์ผ่านโทรทัศน์และสื่ออื่นๆ