Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10020
Title: การศึกษากระบวนการทำให้ลอยตัวด้วยอากาศที่ละลายน้ำเพื่อกำจัดสาหร่ายออกจากน้ำดิบ
Other Titles: A study of dissolved air flotation process for algae removal from raw water
Authors: พิษณุพล สงวนนวล
Advisors: ชวลิต รัตนธรรมสกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: fencrt@kankrow.eng.chula.ac.th, Chavalit.R@Chula.ac.th
Subjects: สาหร่าย
น้ำ -- การทำให้บริสุทธิ์
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาประสิทธิภาพและสภาวะที่เหมาะสมของการกำจัดสาหร่ายออกจากน้ำดิบ โดยใช้กระบวนการทำให้ลอยตัวด้วยอากาศที่ละลายน้ำหรือดีเอเอฟ โดยการทดลองแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ในส่วนแรกเป็นการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของกระบวนการดีเอเอฟ ใน 2 กรณี คือ กรณีใช้ตัวอย่างน้ำสงเคราะห์ซึ่งเตรียมให้มีปริมาณของสาหร่ายพันธุ์คลอเรลลาที่เลี้ยงในห้องปฏิบัติการประมาณ 10x10x10x10x10 เซลล์/มล. กับกรณีใช้ตัวอย่างน้ำจากแหล่งน้ำซึ่งมีปริมาณสาหร่ายสูง ส่วนการทดลองในส่วนที่สองเป็นการทดลองเพื่อศึกษาผลของตัวแปรต่างๆ ที่อาจมีต่อประสิทธิภาพการทำงานของกระบวนการดีเอเอฟ โดยตัวแปรที่ทำการศึกษา คือความดันที่ใช้, ความเข้มข้นเริ่มต้นของสาหร่าย, ความขุ่น, กรดฮิวมิก และโซเดียมลอรีลซัลเฟต และทำการทดลองศึกษาหาสภาวะที่เหมาะสมของการใช้กระบวนการโคแอกกูเลชันร่วมกับกระบวนการดีเอเอฟในการกำจัดสาหร่าย จากผลการทดลองพบว่าอัตราเวียนกลับที่เหมาะสมทั้งของตัวอย่างน้ำสังเคราะห์และน้ำจากแหล่งน้ำ (ในที่นี้ใช้น้ำจากบ่อโพลิชชิง) มีค่าประมาณ 10% และเมื่อใช้ค่าอัตราการเวียนกลับ 10% ความดัน 4 บาร์ ประสิทธิภาพการกำจัดสาหร่ายสำหรับตัวอย่างน้ำสังเคราะห์เท่ากับ 28.50% ส่วนตัวอย่างน้ำจากบ่อโพลิชชิง จะได้ประสิทธิภาพสูงกว่าน้ำสังเคราะห์ โดยมีประสิทธิภาพโดยเฉลี่ยเท่ากับ 42.24% ส่วนการทดลองศึกษาผลของตัวแปรต่างๆ พบว่าการเพิ่มความดันมีผลทำให้ประสิทธิภาพของกระบวนการดีเอเอฟสูงขึ้น แต่เมื่อความดันสูงกว่า 5 บาร์ ประสิทธิภาพไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก นอกจากนี้ยังพบว่าประสิทธิภาพของดีเอเอฟมีค่าสูงขึ้นเมื่อความเข้มข้นของสาหร่ายเพิ่มขึ้น ในขณะที่กรดฮิวมิกน่าจะมีผลทำให้ดีเอเอฟมีประสิทธิภาพดีขึ้นเล็กน้อย ส่วนการเพิ่มความขุ่น (ไม่เกิน 130 เอ็นทียู) และโซเดียมลอรีลซัลเฟตไม่มีผลต่อประสิทธิภาพของกระบวนการดีเอเอฟ และจากการทดลองปรับสภาพน้ำเบื้องต้นโดยกระบวนการโคแอกกูเลชันพบว่าทำให้ดีเอเอฟมีประสิทธิภาพดีขึ้นกว่าการใช้กระบวนการดีเอเอฟอย่างเดียว โดยเมื่อใช้ความดันเท่ากับ 5 บาร์ อัตราการเวียนกลับเท่ากับ 10% ในการกำจัดสาหร่ายคลอเรลลาเข้มข้น 10x10x10x10x10 เซลล์/มล. พบว่าเมื่อใช้ดีเอเอฟอย่างเดียวประสิทธิภาพการกำจัดสาหร่ายเท่ากับ 28.5% ในขณะที่เมื่อใช้สารส้มเป็นโคแอกกูแลนท์ ปริมาณที่เหมาะสมคือ 40 มก./ล. ค่าพีเอชที่เหมาะสมคือ 7 ได้ประสิทธิภาพ 82.4% ส่วนกรณีที่ใช้เฟอร์ริกคลอไรด์เป็นโคแอกกูแลนท์ ปริมาณที่เหมาะสมคือ 40 มก./ล. ค่าพีเอชที่เหมาะสม คือ 5 ได้ประสิทธิภาพ 78% ส่วนการทำฟล้อคคูเลชันก่อนใช้กระบวนการดีเอเอฟ โดยใช้เวลาทำฟล้อคคูเลชั่น 5 นาที พบว่าไม่ทำให้ประสิทธิภาพของดีเอเอฟดีขึ้น
Other Abstract: This research is study on efficiency and optimum condition for algae removal from raw water by Dissolved Air Flotation (DAF) process. The study was done by using bench-scale DAF model and performed by spiking Chlorella species (unicellular green algae) with initial cell concentration of 10x10x10x10x10 cells/mL into tap water, and the other experiment was sampling water from pond containing high algae laden. Both of water types were investigated to find optimum recycle ratio and removal efficiency. For synthetic water, some variables that might affect DAF efficiency (pressure, initial feed concentration, turbidity, humic acid and sodium lauryl sulfate) and pre treatment by coagulation process were studied. The result of experiment indicated that optimum recycle ratio was about 10% and removal efficiency was 28.50% for synthetic water, higher performance was found with polishing pond water where the removal efficiency was about 42.24%. The variable parameters in this study showed that pressure change did obviously influence in DAF performance, higher pressure had the higher efficiency, but little change of efficiency could be seen when operated with higher pressure than 5 bars. The study also found that removal efficiency increased with initial feed concentration, and present of humic acid may be beneficial for DAF performance, while turbidity (not excess 130 NTU) and sodium lauryl sulfate did not affect on DAF. Pre treatment by coagulation was necessary to obtain high efficiency. Coagulant dosage and pH adjustment improved DAF performance. From the experiment operated with pressure of 5 bars, 10% recycle and 10x10x10x10x10 cells/mL of Chlorella as initial feed concentration, removal efficiency was only 28.5% without pre treatment, while the efficiency was 82.4% when used alum at optimum dose of 40 mg/L and adjusted to optimum pH as 7, in case of ferric chloride was used as coagulant, the optimum dose was 40 mg/L, pH as 5, the efficiency was 78%. While flocculation process with 5 minutes of flocculation time showed no improvement of removal efficiency
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10020
ISBN: 9741305222
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pisanupon.pdf4.98 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.