Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10064
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | นิรมล ชยุตสาหกิจ | - |
dc.contributor.author | ไฉทยา ภิระบรรณ์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา | - |
dc.date.accessioned | 2009-08-14T02:27:05Z | - |
dc.date.available | 2009-08-14T02:27:05Z | - |
dc.date.issued | 2546 | - |
dc.identifier.isbn | 9741746954 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10064 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการสอนเด็กออทิสติกให้เข้าใจเรื่องความเชื่อที่ผิด และ 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลของความสามารถในการถ่ายโยงการเรียนรู้เรื่องความเชื่อที่ผิดของเด็กออทิสติกไปสู่เรื่องความเชื่อที่ผิดในรูปแบบที่ได้รับการสอนและในรูปแบบที่ไม่ได้รับการสอน ทั้งในการวัดผลทันทีหลังการสอนและในการวัดติดตามผลหลังการสอน 1 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กออทิสติก จำนวน 30 คน อายุ 4 -15 ปี แบ่งเด็กออทิสติกออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ได้รับการสอนเรื่องความเชื่อที่ผิดในรูปแบบการเปลี่ยนสถานที่ จำนวน 15 คน และกลุ่มที่ได้รับการสอนเรื่องความเชื่อที่ผิดในรูปแบบการเปลี่ยนสิ่งของ จำนวน 15 คน โดยสอนทั้งหมด 5 วันต่อเนื่องกัน วันละ 5 เรื่อง และทดสอบความเข้าใจเรื่องความเชื่อที่ผิดทั้งสองรูปแบบเพื่อทดสอบความสามารถในการถ่ายโยงการเรียนรู้เรื่องความเชื่อที่ผิด และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติวิเคราะห์ที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. เด็กออทิสติกสามารถรับการสอนให้เข้าใจเรื่องความเชื่อที่ผิดได้ในรูปแบบที่เฉพาะเจาะจง 2. เด็กออทิสติกที่ได้รับการสอนเรื่องความเชื่อที่ผิดในรูปแบบที่แตกต่างกัน ได้แก่ รูปแบบการเปลี่ยนสถานที่และรูปแบบการเปลี่ยนสิ่งของ มีความสามารถในการถ่ายโยงการเรียนรู้เรื่องความเชื่อที่ผิดไปสู่เรื่องในรูปแบบที่ได้รับการสอนได้ดีกว่าเรื่องในรูปแบบที่ไม่ได้รับการสอนทั้งในการวัดผลทันทีหลังการสอนและการวัดติดตามผลหลังการสอน 1 สัปดาห์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 | en |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this thesis were to 1) study the result of teaching autistic children to understand false belief. and 2) compare the ability to transfer the learning of the false belief tasks in autistic children both in the test right after teaching and in the 1-week-follow up after teaching.The subjects were 30, 4-15 year-old autistic children.They were devided into two groups: 15 autistic children were taught the unexpected location tasks and the other 15 autistic children were taught the unexpected content tasks.The children were taught for 5 days consecutively, 5 stories in each day and tested their understanding of false belief in both conditions. Statistical analyses were conducted with t-test. The results are: 1. Autistic children can be taught to understand false belief with specific tasks. 2. Autistic children who are taught the false belief tasks in two different conditions: the unexpected location tasks and the unexpected content tasks show significantly better ability to transfer the learning of false belief in the learned tasks rather than the unlearned tasks (p < .01). | en |
dc.format.extent | 1003954 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | เด็กออทิสติก | en |
dc.subject | ความเชื่อ | en |
dc.title | การสอนเด็กออทิสติกให้เข้าใจเรื่องความเชื่อที่ผิด | en |
dc.title.alternative | Teaching autistic children to understand false belief | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | จิตวิทยาพัฒนาการ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Niramol.Ch@Chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Psy - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Chaitaya.pdf | 980.42 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.