Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10083
Title: การศึกษาการใช้กลวิธีการปรับโครงสร้างภาษาในการเขียนภาษาอังกฤษและความสามารถในการเขียนความเรียงภาษาอังกฤษของนิสิตวิชาเอกภาษาอังกฤษระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนเรศวร
Other Titles: A study on using restructuring strategies and abilities in English language expository writing of undergraduate English majors, Naresuan University
Authors: ฐิติรัตน์ สุวรรณสม
Advisors: สุมิตรา อังวัฒนกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Sumitra.A@chula.ac.th
Subjects: ภาษาอังกฤษ -- การศึกษาและการสอน (อุดมศึกษา)
ภาษาอังกฤษ -- การเขียน
มหาวิทยาลัยนเรศวร -- นักศึกษา
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการใช้กลวิธีการปรับโครงสร้างภาษาในการเขียนความเรียง 3 รูปแบบได้แก่ การเขียนแบบเล่าเรื่อง แบบบรรยาย และแบบให้เหตุผลของนิสิตวิชาเอกภาษาอังกฤษระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนเรศวร ซึ่งประกอบด้วยกลวิธี 4 ประเภทคือ กลวิธีทางความคิด กลวิธีทางคำศัพท์ กลวิธีทางลีลาภาษา และกลวิธีทางโครงสร้าง (2) ศึกษาความสามารถในการเขียนความเรียงภาษาอังกฤษของนิสิตวิชาเอกภาษาอังกฤษระดับปริญญาตรีในการเขียนความเรียง 3 รูปแบบ (3) เปรียบเทียบการใช้กลวิธีการปรับโครงสร้างภาษาในการเขียนความเรียงภาษาอังกฤษ 3 รูปแบบ ของนิสิตวิชาเอกภาษาอังกฤษระดับปริญญาตรี และ(4) เปรียบเทียบการใช้กลวิธีการปรับโครงสร้างภาษาในการเขียนความเรียงของนิสิตวิชาเอกภาษาอังกฤษระดับปริญญาตรี กลุ่มที่มีความสามารถในการเขียนความเรียงภาษาอังกฤษสูงและต่ำในการเขียนความเรียงแต่ละรูปแบบ ตัวอย่างประชากรได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เป็นนิสิตชั้นปีที่ 4 วิชาเอกภาษาอังกฤษภาคปกติ ปีการศึกษา 2544 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จำนวน 73 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ หัวข้องานเขียน 3 รูปแบบ รายการกลวิธีการปรับโครงสร้างภาษา และแบบสัมภาษณ์การใช้กลวิธีการปรับโครงสร้างภาษาที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ซึ่งได้รับการตรวจสอบความตรงของเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่านและผ่านการทดลองใช้กับนิสิตที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างประชากร ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่ามัชฌิมเลขคณิต มัชฌิมเลขคณิตคิดเป็นร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าไคสแควร์ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. นิสิตวิชาเอกภาษาอังกฤษระดับปริญญาตรีใช้กลวิธีการปรับโครงสร้างภาษาเรียงตามลำดับความถี่จากมากไปหาน้อยดังนี้คือ กลวิธีทางความคิด กลวิธีทางโครงสร้าง กลวิธีทางคำศัพท์ และกลวิธีทางลีลาภาษา นิสิตใช้กลวิธีการปรับโครงสร้างภาษามากที่สุดในการเขียนแบบเล่าเรื่อง รองลงมาคือแบบให้เหตุผล และแบบบรรยายตามลำดับ 2. นิสิตวิชาเอกภาษาอังกฤษระดับปริญญาตรีมีความสามารถในการเขียนความเรียงโดยรวม 3 รูปแบบอยู่ในระดับปานกลางโดยมีค่ามัชฌิมเลขคณิตคิดเป็นร้อยละ 61.61 เมื่อพิจารณาความเรียงในแต่ละรูปแบบพบว่า นิสิตมีความสามารถในการเขียนความเรียงแบบเล่าเรื่องและแบบให้เหตุผลอยู่ในระดับปานกลางโดยมีค่ามัชฌิมเลขคณิตคิดเป็นร้อยละ 63.23 และ 61.18 ตามลำดับ และมีความสามารถในการเขียนความเรียงแบบบรรยายอยู่ในระดับผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำโดยมีค่ามัชฌิมเลขคณิตคิดเป็นร้อยละ 59.91 3. นิสิตวิชาเอกภาษาอังกฤษระดับปริญญาตรีใช้กลวิธีการปรับโครงสร้างภาษาในการเขียนแบบเล่าเรื่อง แบบบรรยาย และแบบให้เหตุผลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4.นิสิตวิชาเอกภาษอังกฤษระดับปริญญาตรีกลุ่มที่มีความสามารถในการเขียนความเรียงภาษาอังกฤษสูงและต่ำใช้กลวิธีทางความคิด กลวิธีทางลีลาภาษา กลวิธีทางคำศัพท์ และกลวิธีการปรับโครงสร้างภาษาในการเขียนความเรียงแบบบรรยายแตกต่างกันอยางมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purposes of this study were: (1) to study 4 types of restructuring strategy used: ideational, textual, lexical and morpho-syntactic on 3 modes of expository writing: narrative, descriptive and argumentative of the undergraduate English majors of Naresuan University; (2) to study the English writing abilities of the undergraduate English majors on 3 modes of expository writing; (3) to compare the restructuring strategies used by the undergraduate English majors on 3 modes of expository writing and(4) to compare the restructuring strategies used between the groups of undergraduate English majors with high and low expository writing abilities on each mode of expository writing. The samples of the study were 73 of 4th year undergraduate English majors of Faculty of Humanities and Social Science, Naresuan University selected by purposive sampling technique. The instruments used in this study were: topics on 3 modes of expository writing, a list of restructuring strategies and a structured interview form constructed by the researcher and approved the content validity by 3 specialists before trying with undergraduate English majors who were not the samples. The data were analyzed by means of arithmetic mean, percentage of mean score, standard deviation and Chi Square. The results of the study were as follows: 1. The undergraduate English majors used ideational strategies the most, next were morpho- syntactic, lexical and textual strategies respectively. They also used restructuring strategies on narrative writing the most, next were argumentative and descriptive writing respectively. 2. The undergraduate English majors had the moderate ability on overall expository writing with the mean score at the percentage of 61.61 and had the moderate ability on narrative and argumentative writing with the mean score at the percentage of 63.23 and 61.18 respectively, while their ability on descriptive writing was at the passing minimum criteria with the percentage of 59.91. 3. The undergraduate English majors used restructuring strategies on 3 modes of expository writing differently at .05 level of significance. 4. The groups of undergraduate English majors with high and low expository writing abilities used restructuring strategies: ideational, textual, lexical and morpho-syntactic indifferently. They also used restructuring strategies on narrative and argumentative writing indifferently but used restructuring strategies on descriptive writing differently at .05 level of significance.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10083
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2001.623
ISBN: 9741704399
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2001.623
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thitirat.pdf1.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.