Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10119
Title: | การวิเคราะห์เชิงการเมืองของพัฒนาการ และทางเลือกในการพัฒนานโยบายการกระจายอำนาจทางการศึกษา |
Other Titles: | A political analysis of development and development alternative of decentralization policy in education |
Authors: | ภาณุวัฒน์ ภักดีวงศ์ |
Advisors: | ชนิตา รักษ์พลเมือง วิชัย ตันศิริ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | chanita.r@chula.ac.th ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | การศึกษา -- ไทย การจัดการศึกษา -- ไทย นโยบายการศึกษา -- ไทย การเมืองกับการศึกษา -- ไทย |
Issue Date: | 2540 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิเคราะห์พัฒนาการของนโยบายการกระจายอำนาจทางการศึกษาของไทย วิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับนโยบายการกระจายอำนาจทางการศึกษา และวิเคราะห์ทางเลือกในการพัฒนานโยบายการกระจายอำนาจทางการศึกษา ผู้วิจัยใช้การวิจัยเอกสารและการวิเคราะห์เชิงอุปนัย ในการวิเคราะห์พัฒนาการของนโยบายและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง การวิเคราะห์ทางเลือกในการพัฒนานโยบาย ใช้การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเป็นแนวทางในการศึกษา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. พัฒนาการของนโยบายการกระจายอำนาจทางการศึกษา พบว่า การดำเนินนโยบายการกระจายอำนาจทางการศึกษา ปรากฏเป็นรูปธรรมเป็นครั้งแรก เมื่อมีการประกาศจัดตั้งโรงเรียนมูลศึกษาในปี พ.ศ. 2435 ในระยะแรก (พ.ศ. 2435-2474) เป็นการกระจายอำนาจทางการศึกษาในรูปแบบการให้อำนาจ ต่อมาจึงมีการกระจายอำนาจทางการศึกษาในรูปแบบการมอบอำนาจควบคู่กันไป ต่อมาในระยะที่ 2 (พ.ศ. 2475-2499) และระยะที่ 3 (พ.ศ. 2500-2516) การกระจายอำนาจทางการศึกษาปรากฏในรูปแบบผสมผสาน ระหว่างการมอบอำนาจและการแบ่งอำนาจ ในระยะปัจจุบัน (พ.ศ. 2517-2538) นโยบายการกระจายอำนาจทางการศึกษา ยังคงรูปแบบการมอบอำนาจและการแบ่งอำนาจอยู่ ในขณะที่มีกระแสการเรียกร้องนโยบายการกระจายอำนาจทางการศึกษา ในรูปแบบการให้อำนาจ ดังจะเห็นได้จากการนำเสนอ ร่างพระราชบัญญัติการกระจายอำนาจการจัดการ และการบริหารการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ แต่ไม่ได้รับการอนุมัติจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี 2. ปัจจัยทางการเมือง ที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับการพัฒนานโยบายการกระจายอำนาจทางการศึกษา พบว่า ในระยะแรกของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย โครงสร้างส่วนบนโดยเฉพาะระบบราชการมีบทบาทเป็นอย่างมาก โดยมีการพัฒนานโยบายการกระจายอำนาจทางการศึกษา ในลักษณะการแบ่งอำนาจและการมอบอำนาจ ระยะต่อมากลุ่มการเมืองมีความเข้มแข็งมากขึ้น และเข้ามามีบทบาทในการพัฒนานโยบายในขั้นการก่อตัวของนโยบาย กับมีข้อสังเกตว่า ประชาชนในท้องถิ่น ซึ่งเป็นโครงสร้างทางการเมืองระดับพื้นฐาน กลับไม่มีบทบาทโดยตรงต่อ กระบวนการพัฒนานโยบายการกระจายอำนาจทางการศึกษา 3. ทางเลือกของการพัฒนา นโยบายการกระจายอำนาจทางการศึกษา พบว่า ผู้เชี่ยวชาญเสนอให้การกระจายอำนาจทางการศึกษา เป็นไปในรูปแบบการผสมผสานระหว่างการให้อำนาจกับการแบ่งอำนาจ รวมทั้งเสนอให้มีแนวทางในการพัฒนาความพร้อมของประชาชน ข้าราชการ และนักการเมือง ในด้านความรู้ ความเข้าใจ และการเข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองตนเองและการกระจายอำนาจ |
Other Abstract: | To analyze the development of decentralization policy in education, to analyze factors relating to the policy, and to analyze alternatives in developing educational decentralization policy. Documentary research and analytic induction were employed in analyzing the policies and related factors. Interviewed experts' opinions were gathered to analyze alternatives for the policy development. Findings of the study were as follow: 1. Development of decentralization policy in education. It was found that the policy was first implemented with the annoucement of organizing "Mula-Suksa schools" in B.E. 2435. During the first period (B.E. 2435-2474), educational decentralization policies were proposed and implemented in the form of devolution followed by delegation. Policies during the second (B.E. 2475-2499) and third (B.E. 2500-2516) could be analyzed as delegation and deconcentration. At present (B.E. 2517-2538), the delegation and deconcentration educational policies were still implemented while there was increasing public demand for devolution as indicated by "the Decentralization Policy in Education Act of Ministry of Education" being proposed in B.E. 2538 but was not approved by the Cabinet. 2. Factors relating to policy development process. It was found that in the beginning of democratic government, the superstructure in political structure, especially state bureaucracy played important roles in developing deconcentration and delegation educational policies. Political groups increasingly played more active roles in the policy formation. Moreover, it was noted that local people who were the substructure in political structure did not played any direct roles in the educational decentralization policy development process. 3. Alternatives for the development of decentralization policy in education. Experts suggested that devolution and deconcentration should be combined as basic concept of decentralization in educational policy. Also, they proposed that there should be some measures which would strengthen potentialities of local people, government officers and politicians with emphasis on knowledge and understanding as well as participation in self-governing and decentralization |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | พัฒนศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10119 |
ISBN: | 9746371622 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Panuwat_Pa_front.pdf | 859.75 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Panuwat_Pa_ch1.pdf | 1.02 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Panuwat_Pa_ch2.pdf | 2.53 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Panuwat_Pa_ch3.pdf | 932.21 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Panuwat_Pa_ch4.pdf | 4.7 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Panuwat_Pa_ch5.pdf | 1.61 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Panuwat_Pa_ch6.pdf | 1.09 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Panuwat_Pa_back.pdf | 1.63 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.