Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10137
Title: การเปรียบเทียบผลระหว่างการฝึกเสริมไอโซโทนิคควบคู่พลัยโอเมตริก, กับไอโซโทนิค, ไอโซเมตริกควบคู่พลัยโอเมตริก ที่มีต่อพลังกล้ามเนื้อขาและแขน
Other Titles: A comparison between the effects of supplementation training with isotonics and plyometrics, and isotonics, isometrics and plyometrics on legs and arms muscular power
Authors: ภูสิต ถาดา
Advisors: ถนอมวงศ์ กฤษณ์เพ็ชร์
วันชัย บุญรอด
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Thanomwong.K@Chula.ac.th
Wanchai.B@chula.ac.th
Subjects: สมรรถภาพทางกาย
การฝึกกำลังกล้ามเนื้อ
การฝึกน้ำหนัก
พลัยโอเมตริก (การฝึกกำลัง)
ไอโซเมตริก (กายบริหาร)
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เปรียบเทียบผลระหว่างการฝึกเสริมไอโซโทนิคควบคู่พลัยโอเมตริก กับไอโซโทนิค ไอโซเมติกควบคู่พลัยโอเมตริก ที่มีต่อพลังกล้ามเนื้อขาและแขน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาชายประเภทฟุตบอลและรักบี้ฟุตบอล ที่กำลังศึกษาอยู่ในวิทยาลัยพลศึกษาจังหวัดมหาสารคาม ปีการศึกษา 2540 ที่มีอายุระหว่าง 18-22 ปี จำนวน 65 คน ทดสอบวัดพลังกล้ามเนื้อขาและแขนก่อนการทดลอง แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มๆ ละ 15 คน โดยการสุ่มแบบกำหนดคือ กลุ่มควบคุมฝึกแบบปกติ กลุ่มทดลองฝึกไอโซโทนิคควบคู่พลัยโอเมติกและกลุ่มทดลองฝึกไอโซโทนิค ไอโซเมตริกควบคู่พลัยโอเมตริก ฝึก 3 วันต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ ทดสอบพลังกล้ามเนื้อขา แขน ความแข็งแรงกล้ามเนื้อแขน ความแข็งแรงกล้ามเนื้อขาท่อนบนด้านหลัง (Hamstrings) ความแข็งแรงกล้ามเนื้อขาท่อนบนด้านหน้า (Quadriceps) และความแข็งแรงกล้ามเนื้อขาท่อนล่าง (Gastrocnermius) ก่อนและหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 4 และหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 6 นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติ โดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way analysis of variance) วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ (One-way analysis of variance with repeated measures) และเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ โดยวิธีตูกี เอ ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 6 ทั้ง 3 กลุ่ม (กลุ่มควบคุม กลุ่มทดลองฝึกไอโซโทนิคควบคู่พลัยโอเมตริก และกลุ่มทดลองฝึกไอโซโทนิค ไอโซเมตริกควบคู่พลัยโอเมตริก) มีพลังกล้ามเนื้อขาและแขน ความแข็งแรงกล้ามเนื้อแขน ความแข็งแรงกล้ามเนื้อขาท่อนบนด้านหลัง (Hamstringes) ความแข็งแรงกล้ามเนื้อขาท่อนบนด้านหน้า (Quadriceps) และความแข็งแรงกล้ามเนื้อขาท่อนล่าง (Gastrocnemius) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่เมื่อทดสอบเป็นรายคู่ พบว่า พลังกล้ามเนื้อขาและแขนของกลุ่มควบคุมกับกลุ่มทดลองที่ 2 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่กลุ่มควบคุมกับกลุ่มทดลองที่ 1 และ 2 ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ส่วนความแข็งแรงกล้ามเนื้อแขน ความแข็งแรงกล้ามเนื้อขาท่อนบนด้านหลัง (Hamstrings) ความแข็งแรงกล้ามเนื้อขาท่อนบนด้านหน้า (Quadriceps) และความแข็งแรงกล้ามเนื้อขาท่อนล่าง (Gastrocnemius) ของกลุ่มควบคุมกับกลุ่มทดลองที่ 1 และ 2 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่กลุ่มทดลองที่ 1 กับ 2 มีพลังกล้ามเนื้อและความแข็งแรงกล้ามเนื้อทุกตัวแปร ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: To a compare the effects of supplementation training with isotonics and plymetrics, and isotonics, isometrics and plyometrics on legs and arms muscular power. The subjects were 65 male athletes, 18-22 year of age, from the College of Physical Education Mahasarakham. The subjects were randomly assigned into 3 groups, according to the legs arms muscular power. Each group consisted of 15 athletes : the control group had no training, the first experimental group did isotonics and polymetrics and the second experimental group did isotonics, isometrics and polymetrics. Both experimental groups trained three day a week for a period of six weeks. The data of legs and arms muscular power and strength, the hamstrings muscular strength, the quadriceps muscular strength and the gastrocnemius muscular strength of all groups were taken before and after the fourth and sixth week, respectively, to analyze the means and standard deviations, one-way analysis of variance and one-way analysis of variance with repeated measure and multiple comparison by the Tukey (a) were also employed for statistical significant. The results indicated that after the sixth week of experiments, there were significant difference at the .05 level among 3 groups (control group, first experimental group did isotonics and polymetrics and second experimental group did isotonics, isometics and polymetrics) on legs and arms muscular power, the arms muscular strength, the hamstrings muscular strength, the quadriceps and gastrocnemius muscular strength. By comparing in pair, there were significant difference at the .05 level on legs and arms muscular power between the control group and the second experimental groups. There were no significant difference at the .05 level between the first and second experimental group. There were significant difference at the .05 level among the control group and the first experimental and the second experimental group on the arms muscular strength, the hamstrings muscular strength, the quadriceps and gastrocnemius muscular strength. However, there were no significant differences in all variables on muscle power and strength between the first experimental group the second experimental group at the .05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10137
ISBN: 9746388347
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Poosit_Th_fron.pdf1.03 MBAdobe PDFView/Open
Poosit_Th_ch1.pdf952.63 kBAdobe PDFView/Open
Poosit_Th_ch2.pdf2.46 MBAdobe PDFView/Open
Poosit_Th_ch3.pdf833.67 kBAdobe PDFView/Open
Poosit_Th_ch4.pdf1.42 MBAdobe PDFView/Open
Poosit_Th_ch5.pdf975.33 kBAdobe PDFView/Open
Poosit_Th_back.pdf2.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.