Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10175
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเผดิมศักดิ์ จารยะพันธุ์-
dc.contributor.advisorณิฏฐารัตน์ ปภาวสิทธิ์-
dc.contributor.authorปิยวรรณ ไหมละเอียด-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2009-08-15T08:29:05Z-
dc.date.available2009-08-15T08:29:05Z-
dc.date.issued2539-
dc.identifier.isbn9746364936-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10175-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539en
dc.description.abstractการศึกษาการตอบสนองทางสรีรวิทยาของหอยเจาะปะการัง 3 ชนิด ต่อการเปลี่ยนแปลงปริมาณตะกอนแขวนลอย ความเค็มและปริมาณทองแดง หอยเจาะปะการัง 3 ชนิด ที่ทำการศึกษาได้แก่ Lithophaga malaccana Spengleria mytiloides และ Gastrochaena cuneiformis การศึกษาได้แบ่งออกเป็น 3 ส่วนได้แก่ นิเวศวิทยา ชีววิทยา และสรีรวิทยา ในส่วนของนิเวศวิทยาได้ทำการศึกษาจำนวนการกระจาย และแหล่งที่อยู่อาศัยของหอยเจาะปะการังที่พบโดยการนับจำนวนรูจากสถานีศึกษา 3 สถานีรอบเกาะค้างคาว พบจำนวนเฉลี่ยรวมของหอยเจาะปะการังทั้ง 3 ชนิดที่พบในสถานี A เท่ากับ 5 ตัว/ตารางเมตร สถานี C เท่ากับ 2 ตัว/ตารางเมตร และสถานี D เท่ากับ 1 ตัวต่อตารางเมตร หอยเจาะปะการังนี้พบในบริเวณแตกต่างกันคือ Lithophaga spp. พบในปะการังมีชีวิตหลายชนิดและปะการังตายส่วน S. mytiloides และ G. cuneiformis นั้นพบได้เฉพาะในปะการังตายหรือในส่วนที่ตายของปะการังมีชีวิต การศึกษาในส่วนของชีววิทยาของหอยเจาะปะการังโดยเฉพาะการศึกษาสัณฐานวิทยาแสดงให้เห็นว่าที่ขนาดของความยาวเปลือกเท่ากันนั้น L. malaccana จะมีน้ำหนักมากที่สุด รองลงมาคือ G. cuneifomis และ S. mytiloides ในการหาอัตราส่วนเพศของหอยเจาะปะการังพบว่าอัตราส่วนระหว่างตัวผู้ต่อตัวเมียมีค่าใกล้เคียง 1 ต่อ 1 หอยทั้ง 3 ชนิดมีลักษณะการเปลี่ยนแปลงของค่า BCI (Body Condition Index) ในระยะเวลา 6 เดือน ระหว่างเดือนมีนาคม ถึงกรกฎาคมต่างกันกล่าวคือ L.malaccana ค่า BCI มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ส่วนค่า BCI ของ S. mytiloides ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนตลอดระยะเวลา และ G. cuneiformis ค่า cuneiformis ค่า BCI มีแนวโน้มว่าจะลดลง ในส่วนของการศึกษาทางสรีรวิทยานั้นหอยเจาะปะการังทั้ง 3 ชนิดมีการตอบสนองต่อปริมาณตะกอนแขวนลอยเป็น 2 ลักษณะคือมีอัตราการหายใจเพิ่มขึ้นและมีอัตราการกรองลดลงใน G. cuneiformis และ S. mytiloides ส่วน L. malaccana มีอัตราการหายใจเพิ่มขึ้นแต่อัตราการกรองไม่เปลี่ยนแปลงในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงความเค็ม 3 ระดับคือ 16 ppt. 24 ppt. และ 32 ppt. นั้น พบว่าที่ความเค็มต่ำจะทำให้ค่าขอบเขตการเติบโตของ L. malaccana และ s. mytiloides ลดต่ำลงมากกว่าที่ความเค็มสูง ในการตอบสนองต่อสารละลายทองแดงที่ความเข้มข้นต่างๆ กัน คือ 0 ไมโครกรัม/ลิตร 10 ไมโครกรัม/ลิตร และ 20 ไมโครกรัม/ลิตร ผลการศึกษาพบว่า ที่ความเข้มข้น 10 ไมโครกรัม/ลิตร มีค่าขอบเขตการเติบโตของหอยเจาะปะการังทั้ง 3 ชนิดสูงสุด ผลการตอบสนองของการเปลี่ยนแปลงความเค็มร่วมกับความเข้มข้นของสารละลายทองแดงพบว่าผลร่วมของการลดความเค็มและการเพิ่มความเข้มข้นของทองแดงจะมีลักษณะเสริมกัน โดยที่ระดับความเข้มข้น 20 ไมโครกรัม/ลิตร และความเค็ม 16 ppt. ทำให้ค่าขอบเขตการเติบโตของ L. malaccana และ S. mytiloides ลดลงต่ำที่สุด เมื่อความเค็มเพิ่มขึ้นค่าขอบเขตการเติบโตก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วย ส่วนค่าขอบเขตการเติบโตใน G. cunelforris มีค่าเป็นลบในทุกชุดของการทดลองในส่วนการศึกษาทางสรีรวิทยาแสดงว่าหอยชนิดนี้มีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมมากที่สุด จากผลการศึกษานี้การที่หอยเจาะปะการังมีการตอบสนองทางสรีรวิทยาต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมต่างกันนั้น คือ L. malaccana มีความทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมมากที่สุดขณะที่ G. cuneiformis มีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงมากที่สุดซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาทางนิเวศวิทยา คือ L. malaccana พบเป็นจำนวนมากได้ในปะการังมีชีวิตและปะการังตาย แต่ G. cuneiformis พบเฉพาะในปะการังตายหรือส่วนที่ตายของปะการังนั้น ด้วยข้อแตกต่างของการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมที่ต่างกันนี้เองอาจนำไปพิจารณาถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมของแนวปะการังได้ดังนี้ คือ G. cuneiformis นั้นเหมาะสมที่จะใช้ในการพิจารณาถึงความเปลี่ยนแปลงในแนวปะการังที่เดียวกันแต่ระยะเวลาต่างกัน เนื่องจากพบได้เฉพาะในปะการังตายโดยมีข้อแม้ว่าจำนวนของปะการังตายนั้นจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปน้อย ส่วน L. malaccana นั้นพบได้ทั้งในปะการังมีชีวิตและปะการังตาย จึงอาจนำไปพิจารณาถึงความเปลี่ยนแปลงของแปลงของแนวปะการังต่างบริเวณในเวลาเดียวกันได้ โดยต้องนำผลการศึกษาทางสรีรวิทยามาประกอบในการพิจารณาด้วยen
dc.description.abstractalternativePhysiological responses of coral boring bivalves to changes in suspended sediment, salinity and copper concentration were carried out in three coral boring bivalves found around coral reef of Khang Khao Island i.e. Lithophaga malaccana Spengleria mytiloides and Gastrochaena cuneiformis. In this study the three major aspects of ecology, biology and physiology were investigated. The density, distribution pattern and natural habitats were studied. Average density of coral boring bivalves in stations A C and D were 5, 2 and 1 bivalves/m2 respectively. Lithophaga spp. were found in many species of living corals and dead corals. S. mytiloides and G. cuneiformis were found only in dead coral or dead part of coral. The biological results showed that at the same shell length, the highest weight was L. malaccana. In declining order were G. cuneiformis and S. mytiloides respectively. The sex ratio recorded in the three bivalves were closed to 1:1. The values of BCI (Body Condition Index) altered during 6 months. The BCI of L. malaccana tended to increase whereas in G. cuneiformis tended to decrease. S. mytiloides did not showed significant variations in BCI during the study period. The physiological responses of boring bivalves to suspended sediment demonstrated two different patterns. The first pattern was the increases in respiration while the clearance rate decreased as found in G. cuneiformis and S. mytiloides. The second pattern was increases in respiration but the clearance rate unchanged as in L. malaccana. The responses to salinity changes at three levels i.e. 16 ppt., 24 ppt. and 32 ppt. showed the same trends in the three boring bivalves with low scope for growth at low salinity. In the responses to copper concentrations i.e. 0 microg/l 10 microg/l and 20 microg/l, the highest scope for growth occurred in the three bivalves was recorded at 10 microg/l The responses to the combinations of salinity and copper concentrations showed synergistic effect. At salinity 16 ppt. and copper concentration 20 microg/l, the scope for growth for L. malaccana and S mytiloides were lowest. The scope for growth increased with increasing salinity. The scope for growth of G. cuneiformis in all physiological experiments were minus. This may be concluded that this species was the most sensitive boring bivalve to environmental changes. It can be concluded from the physiological responses of coral boring bivalves to environmental changes that L. malaccana was most tolerant species while G. cuneiformis was the most the most sensitive species. This correlated to the ecological study that L. malaccana was the most dominant speceis found in manyspecies of living and dead corals. G. cuneiformis was rare and limited its distribution only in dead corals or dead part of corals. Moreover these results can be applicable to the monitoring on the changes in coral reefs. G. cuneiformis can be used as the indicator species on the changes occurred at one location but of different time periods. It is on condition that the percent coverage of dead corals should not change over the time course. L. malaccana can be used to monitor the changes in coral reefs at different localities during the same period. However the physiological responses must also be considered.en
dc.format.extent812395 bytes-
dc.format.extent1171927 bytes-
dc.format.extent806482 bytes-
dc.format.extent915115 bytes-
dc.format.extent826575 bytes-
dc.format.extent724853 bytes-
dc.format.extent1082463 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectหอยเจาะปะการังen
dc.subjectตะกอนแขวนลอยen
dc.subjectความเค็มen
dc.subjectทองแดงen
dc.subjectนิเวศวิทยาชายฝั่งen
dc.subjectเกาะค้างคาว (ชลบุรี)en
dc.subjectเกาะสีชัง (ชลบุรี)en
dc.titleการตอบสนองทางสรีรวิทยาของหอยเจาะปะการังต่อการเปลี่ยนแปลง ปริมาณตะกอนแขวนลอย ความเค็ม และปริมาณทองแดงen
dc.title.alternativePhysiological responses of coral boring bivalves to changes in suspended sediment salinity and copper concentrationen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์ทางทะเลes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorPadermsak.J@Chula.ac.th, DirARRI@Chula.ac.th-
dc.email.advisorNittharatana.P@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Piyawan_Ma_front.pdf793.35 kBAdobe PDFView/Open
Piyawan_Ma_ch1.pdf1.14 MBAdobe PDFView/Open
Piyawan_Ma_ch2.pdf787.58 kBAdobe PDFView/Open
Piyawan_Ma_ch3.pdf893.67 kBAdobe PDFView/Open
Piyawan_Ma_ch4.pdf807.2 kBAdobe PDFView/Open
Piyawan_Ma_ch5.pdf707.86 kBAdobe PDFView/Open
Piyawan_Ma_back.pdf1.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.