Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10204
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุนทร ณ รังษี-
dc.contributor.authorศรีนวล ศรีจินดาภรณ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2009-08-17T08:30:36Z-
dc.date.available2009-08-17T08:30:36Z-
dc.date.issued2523-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10204-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2523en
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะเปรียบเทียบคำสอนที่เกี่ยวกับความหลุดพ้นในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทและนิกายเซ็น แม้ว่าเถรวาทและเซ็นจะเป็นพระพุทธศาสนาที่ต่างนิกายก็ตาม แต่ทั้งสองนิกายก็มีความเชื่อในเรื่องความหลุดพ้นเช่นเดียวกัน และต่างก็ถือว่าความหลุดพ้นเป็นจุดมุ่งหมายที่สำคัญสูงสุด ประเด็นที่มุ่งเปรียบเทียบ ได้แก่ หลักธรรมสำคัญที่เกี่ยวข้องกับความหลุดพ้น, จุดมุ่งหมายสูงสุด, วิธีปฏิบัติเพื่อเข้าถึงความหลุดพ้น, ขั้นตอนของความหลุดพ้น, และผู้เข้าถึงความหลุดพ้น จากการวิจัยได้พบว่า พระพุทธศาสนาทั้งสองนิกายนี้มีสิ่งที่คล้ายและแตกต่างกันในประเด็นที่สำคัญดังต่อไปนี้ สำหรับหลักธรรมสำคัญที่เกี่ยวข้องกับความหลุดพ้น เซ็นมักพูดถึง ความว่าง, ศูนยตา และปริศนาธรรมต่าง ๆ เมื่อพิจารณาถึงสาระสำคัญของคำสอนเหล่านี้จะพบว่าคำสอนเหล่านี้มิใช่ของใหม่ที่ต่างไปจากของฝ่ายเถรวาท แต่เป็นการย้ำหลักธรรมในเรื่องอนัตตาของฝ่ายเถรวาทนั่นเอง จึงพอจะกล่าวได้ว่า หลักธรรมต่าง ๆ ของเซ็นกับเถรวาทนั้นเข้ากันได้ในตัว เกี่ยวกับจุดมุ่งหมายสูงสุด จากการวิจัยทำให้เราทราบว่า ทั้งเถรวาทและเซ็น มีความเห็นสอดคล้องว่า ชีวิตเป็นสภาพที่มากไปด้วยทุกข์ การพ้นทุกข์จึงเป็นสิ่งสำคัญเหนือสิ่งอื่นใด ทั้งสองนิกายจึงมีจุดมุ่งหมายปลายทางอย่างเดียวกัน คือ แสวงหาแนวทางที่จะทำให้ชีวิตหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง แล้วบรรลุถึงความสุขอันยั่งยืนถาวร ส่วนที่ต่างกันก็คือ เซ็นเน้นความหลุดพ้นชนิดที่เร่งด่วนกว่าฝ่ายเถรวาท เกี่ยวกับการปฏิบัติเพื่อเข้าถึงความหลุดพ้น จะพบว่า การปฏิบัติธรรมของเถรวาทและเซ็นมีปทัฏฐานอยู่บนศีล สมาธิ ปัญญา หรือระบบมัชฌิมปฏิปทาอย่างเดียวกัน แต่มีรายละเอียดปลีกย่อยที่ต่างกันอยู่บ้าง เช่น ฝ่ายเถรวาทมีการพิจารณาร่างกายว่าเป็นของปฏิกูล แต่ฝ่ายเซ็นไม่มี ฝ่ายเซ็นนิยมการขบปริศนาธรรม ในขณะที่ฝ่ายเถรวาทไม่นิยม เป็นต้น อนึ่ง การวิจัยเชิงเปรียบเทียบเกี่ยวกับความหลุดพ้นนี้ นับว่าได้ทำความลำบากแก่ผู้วิจัยอย่างยิ่ง ทั้งนี้เพราะเรื่องของความหลุดพ้นนั้น เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสภาภายใน อันผู้รู้ผู้เข้าถึงเท่านั้น จึงจะรู้แจ้งเห็นจริง อีกทั้งยังมีเหตุผลอื่น ๆ อีก อาทิ ความลึกลับซับซ้อน อันจะต้องอาศัยการปฏิบัติทดลองซึ่งกินเวลานาน ดังนั้นการวิจัยเชิงเปรียบเทียบเท่าที่ได้ทำมา เห็นว่าเป็นไปเพียงเพื่อให้ได้รับความรู้ความเข้าใจในลักษณะกว้าง ๆ เท่านั้น คำตอบจากการวิจัย พอจะสรุปสั้น ๆ ในที่นี้ว่า คำสอนที่เกี่ยวกับความหลุดพ้นของฝ่ายเถรวาทและเซ็นนั้น สอดคล้องกันในหลักการใหญ่ๆ มีรายละเอียดปลีกย่อยที่ผิดเพี้ยนกันบ้าง แต่ก็กล่าวได้ว่า ไม่ขัดแย้งกับหลักการใหญ่en
dc.description.abstractalternativeThis thesis aims at a comparative study of the concept of liberation in Theravada and Zen Buddhism. Although Theravada and Zen belong to different schools of Buddhism, they have the same belief in emanicipation and realize that emanicipation is the highest goal. The scope of comparative study confines to 5 topics : 1) the unique teachings about liberation, 2) the highest goal, 3) the method of attaining liberation, 4) different stages of liberation, 5) the state of one who has attained liberation. The research has revealed that Theravada and Zen Buddhism have similarities and differences on following significant considerations: Some important teachings about the liberation: Zen fundamentally deals with Sunyata, Emptiness or Voidness and Koans. Considering the essence of these teachings of Zen, it may be said that they are not absolutely alien from the Theravada's doctrine of Anatta. Thus, the teachings of both school may be regarded as in accord with each other. The highest goal: Both Theravada and Zen agree that life is full of suffering. To eliminate suffering is of utmost importance. Thus the highest aspiration of Theravada and Zen Buddhism is one and the same, i.e. to find out the way leading to the end of suffering and attaining to the highest happiness. The only difference in this regard is that Zen lays more emphasis on a sudden liberation than Theravada. The method of liberation: The ways of practice for attaining liberation in Theravada and Zen bases necessarily on three successive methods : Sila, Samadhi and Panna which are collectively called the Noble eighfold path. But there are some minor differences in the details of practice such as, for intance, while Theravada prescribes contemplation on the loathesomeness of the body, Zen Buddhism does not have this method, and while Zen regards Koan as indispensable stepping-stone to the final goal, theravada has nothing of the same. There are some problems involve in this research. liberation is a matter of spiritual and individual experience; only one who has already attained it can comprehend it fully, and this attainment always requires a long time of practice. This research is, therefore, an attempt to give a general outlook regarding similar and different aspects of Theravada and Zen Buddhism. The reserarch, however, reveals that with regard to the general idea of liberation Theravada and Zen have many thing in common ; the differences found between them are only of the minor details.en
dc.format.extent12558928 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectพุทธปรัชญาen
dc.subjectนิกายเซนen
dc.subjectพุทธศาสนาเถรวาทen
dc.subjectนิพพานen
dc.titleการศึกษาเปรียบเทียบเรื่อง ความหลุดพ้น ตามทรรศนะพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท และนิกายเซ็นen
dc.title.alternativeThe concept of liberation in Theravada and Zen Buddhism :a comparative studyen
dc.typeThesises
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineปรัชญาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Srinual.pdf12.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.