Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10216
Title: ประสิทธิภาพในการกำจัดสีจากน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้วจากโรงงานฟอกย้อมของควอเทอร์ไนซ์ครอสลิงค์เซลลูโลสที่เตรียมจากเส้นใยลูกปาล์ม
Other Titles: Efficiency of color removal from textile wastewater by quaternized crosslinked cellulose prepared from palm oil fiber
Authors: ธนากร จันทสุบรรณ
Advisors: เพ็ชรพร เชาวกิจเจริญ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Petchporn.C@Chula.ac.th
Subjects: น้ำเสีย -- การบำบัด -- การกำจัดสี
เซลลูโลส
เส้นใยลูกปาล์ม
คาร์บอนกัมมันต์
สีย้อมและการย้อมสี
ของเสียจากโรงงาน
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการกำจัดสีในน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้วจากโรงงาน ฟอกย้อมสำหรับควอเทอร์ไนซ์ครอสลิงค์เซลลูโลส(QC)ที่เตรียมจากเส้นใยลูกปาล์ม เปรียบเทียบกับถ่านกัมมันต์ ทำการทดลองแบบแบตช์โดยใช้วัสดุ 100 กรัมต่อน้ำเสีย 0.5 ลิตร ทำการแปรเปลี่ยนระยะเวลาสัมผัส อัตราการกวนและศึกษาผลของพีเอชที่มีต่อประสิทธิภาพในการกำจัดสี ผลการศึกษาพบว่าการกำจัดสีเข้าสู่สมดุลภายในเวลาสัมผัส 60 นาที และถ่านกัมมันต์เข้าสู่สมดุลเร็วกว่าเส้นใยลูกปาล์ม พบว่าอัตราเร็วการกวนไม่มีผลต่อประสิทธิภาพในการกำจัดสีเมื่อกวนด้วยความ เร็วมากกว่า 60 รอบต่อนาที โดยในอัตราเร็วการกวนที่เท่ากันถ่านกัมมันต์เข้าสู่สมดุลการดูดซับเร็วกว่า QCเส้นใยลูกปาล์ม ผลของค่าพีเอชพบว่า ถ่านกัมมันต์และ QCเส้นใยลูกปาล์ม กำจัดสีได้ดีที่พีเอชต่ำและประสิทธิภาพในการกำจัดสีลดลงเมื่อพีเอชเพิ่มขึ้น การศึกษาประสิทธิภาพในการกำจัดสีในน้ำเสียสังเคราะห์และน้ำเสียจริงที่มี ความเข้มสีใกล้เคียงกัน พบว่าถ่านกัมมันต์และ QCเส้นใยลูกปาล์มกำจัดสีในน้ำเสียสังเคราะห์ได้ดีกว่าในน้ำเสียจริง QCเส้นใยลูกปาล์มกำจัดสีในน้ำเสียสังเคราะห์ได้ดีกว่าถ่านกัมมันต์ แต่ถ่านกัมมันต์กำจัดสีในน้ำเสียจริงได้ดีกว่าเส้นใยลูกปาล์ม ค่าเฉลี่ยประสิทธิภาพการกำจัดสีของถ่านกัมมันต์ในน้ำเสียสังเคราะห์และน้ำ เสียจริง เป็น 81.3% และ 84.6% และของ QCเส้นใยลูกปาล์มเป็น 99.9% และ 74.3% ตามลำดับ จากการศึกษาไอโซเทอม Q[subscript max] ในการดูดซับสีในน้ำเสียสังเคราะห์แบบสีเดียวและน้ำทิ้งจากโรงงานฟอกย้อมของ ถ่านกัมมันต์เป็น 1,456 และ 438 กรัมSUต่อกรัมวัสดุ และ Q[subscript max] ของเส้นใยลูกปาล์มในการดูดซับน้ำเสียสังเคราะห์แบบสีเดียว น้ำเสียสังเคราะห์แบบสีผสม และน้ำทิ้งจากโรงงานฟอกย้อมเป็น 1,705 780 และ 286 กรัมSUต่อกรัมวัสดุ อัตราค่าบำบัดสีเฉลี่ยในน้ำทิ้งจากโรงงานฟอกย้อมของถ่านกัมมันต์และเส้นใย ลูกปาล์มเป็น 0.13 บาทต่อลิตร และ 1.35 บาทต่อลิตร ตามลำดับ
Other Abstract: The optimal conditions for activated carbon and quaternized crosslinked cellulose prepare from palm oil fiber (QCP) in color removal from treated textile wastewater are studied. In fixed-conditioned batch reactors, the system reach adsorption equilibrium within 60 minute for all samples and activated carbon system always reach equilibrium faster than QCP. In studying the effect of speed of agitation we found that varied speeds of agitation does not affect the equilibrium when reactor runs faster than 60 rpm. PAC need lower speed of agitation to achieve adsorption equilibrium than QCP at the same contact time. For effect of pH, efficiency of PAC and QCP are best at pH 2 and decrease as pH rise. In the study of adsorption efficiency in single solute synthetic wastewater and treated textile wastewater, it was found that PAC and QCP remove color in synthetic wastewater better than in treated wastewater. QCP are better remove color in synthetic wastewater than PAC. But PAC is better than QCP in case of treated textile wastewater. Average color removal efficiency of PAC in single solute synthetic wastewater and treated textile wastewater are 81.3 % and 84.6%, which of QCP are 99.9% and 74.3%, respectively. The study isotherm found that Q[subscript max] in adsorption isotherm of PAC in single solute synthetic wastewater and treated textile wastewater are averagely 1,456 and 438 gSU/g . Q[subscript max] of QCP in single solute synthetic wastewater, bisolute synthetic wastewater are 1705 , 780 and 286 gSU/g, respectively. Costs of color removal from treated textile wastewater of PAC and QCP are averagely 0.13 and 1.35 baht/litre, respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10216
ISBN: 9741727119
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tanakorn.pdf2.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.