Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10308
Title: การพัฒนาระบบวัดระดับวัสดุผงโดยใช้เทคนิครังสีแกมมา
Other Titles: Development of a level measurement system for powder materials using gamma-ray techniques
Authors: จิรศักดิ์ จงจิตวิมล
Advisors: ธัชชัย สุมิตร
นเรศร์ จันทน์ขาว
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Tatchai.S@Chula.ac.th
fnenck@eng.chula.ac.th, Nares.C@Chula.ac.th
Subjects: รังสีแกมมา
หัววัดรังสีโซเดียมไอโอไดด์
เครื่องวัดระดับ
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ได้พัฒนาและทดสอบระบบวัดระดับของวัสดุผง โดยใช้รังสีแกมมาพลังงาน 662 กิโลอิเล็กตรอนโวลต์ โดยใช้เทคนิคการส่งผ่านรังสีแกมมาและกระเจิงกลับของรังสีแกมมา เพื่อวัดระดับของทรายแห้งในถังเหล็กขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 50 เซนติเมตร สูง 100 เซนติเมตร และหนา 1.5 มิลลิเมตร การทดลองวัดระดับได้ทำทั้งในขณะที่เติมทรายและถ่ายทรายออก ต้นกำเนิดรังสีซีเซียม-137 ความแรงรังสี 3.6 มิลลิคูรี (133 เมกะเบคเคอเรล) พร้อมทั้งคอลลิเมเตอร์ ถูกติดตั้งไว้ข้างนอกถังที่ระดับสูง 48 เซนติเมตร และใช้หัววัดรังสีโซเดียมไอโอไดด์ (ทัลเลียม) ขนาด 2"x2" พร้อมทั้งคอลลิเมเตอร์ ติดตั้งไว้ที่ด้านตรงข้ามเพื่อวัดรังสีแกมมาที่ทะลุผ่านออกมา ผลการวิจัยพบว่า ความเข้มของรังสีแกมมาทะลุผ่านเป็นปฏิภาคผกผันกับความหนาของทรายระหว่างต้นกำเนิดรังสีกับหัววัดรังสี เมื่อติดตั้งหัววัดรังสีโซเดียมไอโอไดด์ (ทัลเลียม) เพิ่มอีกหนึ่งหัววัด เพื่อวัดรังสีแกมมาทะลุผ่านที่อีกตำแหน่งหนึ่งหรือเพื่อวัดรังสีแกมมากระเจิงกลับ ทำให้สามารถทำนายลักษณะผิวหน้าของทรายในขณะที่เติมและถ่ายออกได้
Other Abstract: A level measurement system for powder materials using 662-keV gamma-rays was developed and tested. Two techniques namely gamma-ray transmission and gamma-ray backscattering were employed to detect dry sand level in a steel cylindrical tank of 50 cm diameter, 100 cm height and a wall thickness of 1.5 mm. The level measurements were made during both filling and emptying operations. A 3.6 mCi (133 MBq) Cs-137 source was collimated and installed on the outside of the tank at a height of 48 cm. A2"x2" NaI(Tl) detector was collimated and installed on the opposite side to detect transmitted gamma-rays. Teh transmitted gamma-ray intensity was inversely proportional to the thickness of the sand between the source and the detector. When an additional NaI(Tl) detector was installed either to detect transmitted gamma-rays at another position or to detect backscattered gamma-rays, it was possible to predict the sand surface profile during filling and emptying operations.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิวเคลียร์เทคโนโลยี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10308
ISBN: 9743325298
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chirasak_Ch_front.pdf1.07 MBAdobe PDFView/Open
Chirasak_Ch_ch1.pdf754.83 kBAdobe PDFView/Open
Chirasak_Ch_ch2.pdf1.32 MBAdobe PDFView/Open
Chirasak_Ch_ch3.pdf1.34 MBAdobe PDFView/Open
Chirasak_Ch_ch4.pdf1.53 MBAdobe PDFView/Open
Chirasak_Ch_ch5.pdf893.42 kBAdobe PDFView/Open
Chirasak_Ch_back.pdf1.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.