Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10321
Title: การวิเคราะห์วิธีการเขียนบทละครสำหรับสื่อมวลชน : บทเรียนจากงานของสมสุข กัลย์จาฤก
Other Titles: Technuque of playwriting for mass media : Lesson learned from Somsuk Kanjaruek's work
Authors: ขจีรัตน์ หินสุวรรณ
Advisors: กาญจนา แก้วเทพ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Kanjana.Ka@chula.ac.th
Subjects: บทละคร
ละครวิทยุ
ละครโทรทัศน์
การเขียนบทละคร
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อรวบรวมบทเรียนเกี่ยวกับวิธีการเขียนบทละครสำหรับสื่อมวลชน อันได้แก่ ละครวิทยุ และละครโทรทัศน์ของสมสุข กัลย์จาฤก ซึ่งเป็นนักเขียนบทละครมืออาชีพ ด้วยวิธีการศึกษาประวัติชีวิตและการทำงานโดยมุ่งวิเคราะห์ถึงปัจจัยภายในแลปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อการทำงานประพันธ์บทละครสำหรับสื่อมวลชน พร้อมทั้งรวบรวมคุณสมบัติที่ดีของนักเขียนบทละครสำหรับสื่อมวลชนจากทัศนะของสมสุข กัลย์จาฤก ผลจากการวิจัยพบว่า ปัจจัยภายในอันมีผลต่อความสามารถในการเขียนบทละครมีจุดเริ่มต้นมาจากอุปนิสัยส่วนตัวการศึกษาและการอบรมบ่มเพาะของบุคคลในครอบครัว รวมทั้งการแต่งงานกับผู้ที่ทำงานอยู่ในวงการละครวิทยุจนมีโอกาสได้เขียนบทละครวิทยุ ส่วนปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อการประพันธ์บทละครคือการเข้าสู่อาชีพเพื่อช่วยประหยัดในการผลิตการปรับเปลี่ยนงานเขียนไปตามพัฒนาการของสื่อและความนิยมของผู้ชมผู้ฟัง ทั้งนี้จากการที่เป็นผู้อยู่ในองค์กรผลิตสื่อมวลชนเองเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้มีอิสระในการทำงานในระดับหนึ่ง บทเรียนที่การวิจัยได้พบจากการศึกษาวิธีการเขียนบทละครสำหรับสื่อมวลชนของสมสุข กัลย์จาฤก ก็คือ การเขียนบทละครสำหรับสื่อมวลชนต้องเริ่มต้นจากการแสวงหาแนวความคิดจากแหล่งต่างๆ อาจเป็นประสบการณ์ของตนเองหรือผู้อื่น สื่อมวลชนแขนงต่างๆ ประวัติศาสตร์ เค้าโครงเรื่องเดิมหรือจินตนาการ ในขั้นตอนที่จะนำมาขยายต่อให้เป็นโครงเรื่องนักเขียนบทละครต้องคำนึงปัจจัยต่างๆ ได้แก่ เนื้อหาที่สนุก มีคุณค่า ผลกำไร นายทุน ผู้ชม ทุนและสมรรถภาพ คู่แข่ง ช่วงเวลาในการนำเสนอ และกฎระเบียบทางสังคม จากนั้นจึงนำโครงเรื่องมาขยายเป็นบทละคร ซึ่งมีองค์ประกอบที่สำคัญอยู่ 6 ส่วน คือ ชื่อเรื่อง โครงเรื่อง ตัวละคร บทสนทนา ฉาก ในกรณีของบทละครวิทยุต้องคำนึงถึงปัจจัยกำหนด 3 ประการ ได้แก่ กลุ่มผู้ฟัง ช่วงเวลา และความเป็นสื่อที่นำเสนอด้วยเสียง หากเป็นบทละครโทรทัศน์ต้องคำนึ่งถึงปัจจัยกำหนด 5 ประการ คือ เรื่องที่เลือกมานั้นเป็นเรื่องที่แต่งขึ้นใหม่หรือเป็นเรื่องที่ดัดแปลงมาจาก บทประพันธ์ในรูปแบบอื่นเป้าหมายที่ต้องการส่งถึงผู้ชม ธรรมชาติของสื่อโทรทัศน์ ผู้ชมและเวลาในการนำเสนอคุณสมบัติที่ดีของนักเขียนบทละครสำหรับสื่อมวลชนในทัศนะของสมสุข กัลย์จาฤก เห็นว่า นอกจากจะต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติเยี่ยงศิลปินทั่วไปแล้ว ยงต้องเข้าใจในเทคนิคการเล่าเรื่องในรูปแบบของละครและกระบวนการผลิตละครสำหรับสื่อมวลชน รวมทั้งต้องยอมรับในระบบธุรกิจที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับวงการละครที่นำเสนอทางสื่อมวลชน ดังนั้น นักเขียนบทละครสำหรับสื่อมวลชนที่ดีจึงต้องสามารถสร้างสมดุลระหว่างศิลปะและการพาณิชย์ในการสร้างสรรค์บทละครได้อย่างลงตัว
Other Abstract: The objectives of this research were to accumulate technique of playwriting for mass media specifically referred to radio and television plays written by Somsuk Kanjaruek who was a professional playwright. The analysis of her biography, internal and external factors that would effect the playwriting for mass media and gathering proper qualifications of playwright for mass media from opinion of Somsuk Kanjaruek. The result of the research has shown that internal factors which effect her ability of playwriting initiates from her own characteristics, education, family members, as well as the marriage to the person working in radio entertainment business gave her the opportunity to write playwriting for radio, whereas, external factors which drive her career as to be a playwright is to minimize the production cost. The writing has been adapted to the development of media and audience demands. Thus, her being in the mass media production business by herself is one of many factors that give her freedom in playwriting to a certain degree. The knowledge derived from the analysis technique of playwriting for mass media of Somsuk Kanjaruek is that it initiates from searching idea from many resources such as experience of self and others, mass media, history, original plot and imagination, before expanding it into a plot. The factors that a playwright should consider are content, worthiness, profit, investor, audience, budget & performance, competitors, timing & scheduling, and social rules & regulations. The next step is expanding the plot into a play, these 6 elements-title, theme, plot, characters, dialogue, and setting. In radio playwriting, these 3 factors-listener group, timing & scheduling and vocal media should be considered while in writing television script, the playwright should considered these 5 factors-whether the story is from original or adapted novel, objectives, nature of televised media, viewers and timing & scheduling. In Somsuk Kanjaruek's opinion, good qualifications of playwright for mass media include those characteristic of a general artist, the comprehension of narrative techniques in the from of plays, its production process, as well as, the acceptance of the fact that entertainment as plays for mass media and commerce are inseparable. Thus, good playwright for mass media should be able to compromise and balance the arts and commerce to create a perfect playwriting.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสื่อสารมวลชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10321
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.1999.329
ISBN: 9743342117
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.1999.329
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Khajeerat_Hi_front.pdf944.31 kBAdobe PDFView/Open
Khajeerat_Hi_ch1.pdf1.24 MBAdobe PDFView/Open
Khajeerat_Hi_ch2.pdf2.34 MBAdobe PDFView/Open
Khajeerat_Hi_ch3.pdf890.19 kBAdobe PDFView/Open
Khajeerat_Hi_ch4.pdf3.53 MBAdobe PDFView/Open
Khajeerat_Hi_ch5.pdf6.24 MBAdobe PDFView/Open
Khajeerat_Hi_ch6.pdf1.39 MBAdobe PDFView/Open
Khajeerat_Hi_ch7.pdf1.56 MBAdobe PDFView/Open
Khajeerat_Hi_back.pdf2.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.