Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10342
Title: การสื่อสารในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของชุมชนคีรีวง อ.ลานสกา จ.นครศรีธรรมราช
Other Titles: Communication for ecotourism management at Keereewong community, Lansaka district, Nakhon Sri Thammarat province
Authors: นพรัตน์ มุณีรัตน์
Advisors: ปาริชาติ สถาปิตานนท์ สโรบล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Parichart.S@Chula.ac.th
Subjects: การสื่อสาร
การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
ผู้นำชุมชน
ชุมชนคีรีวง (นครศรีธรรมราช)
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความเข้าใจเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของประชาชนในชุมชนคีรีวง รูปแบบการสื่อสารในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของประชาชนในชุมชนคีรีวง บทบาทของผู้นำชุมชน ปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไขปัญหา ในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของประชาชนในชุมชนคีรีวง โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์เจาะลึกประชาชนในชุมชนคีรีวงจำนวน 31 คน ผลการวิจัยพบว่า 1. ประชาชนในชุมชนคีรีวง มองว่า การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (Ecotourism) ก็คือ การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ โดยมีความเข้าใจเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ในมิติที่หลากหลาย ซึ่งสามารถสรุปได้เป็น 3 ประเด็น ได้แก่ 1) การท่องเที่ยวที่ไม่ทำลาย 2) การท่องเที่ยวที่ใช้ชีวิตกับชาวบ้าน 3) การท่องเที่ยวที่ชาวบ้านมีส่วนร่วมในการจัดการ 2. มีรูปแบบการสื่อสารปรากฏขึ้นในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของชุมชนคีรีวง ประกอบด้วย 4 รูปแบบ คือ 1) การสื่อสารสองทางที่ไม่เป็นทางการ 2) การสื่อสารสองทางที่เป็นทางการและมีปฏิกิริยาโต้ตอบมาก 3) การสื่อสารสองทางที่เป็นทางการแต่มีปฏิกิริยาโต้ตอบน้อย 4) การสื่อสารทางเดียวที่ไม่เป็นทางการ 3. ผู้นำในชุมชนคีรีวงซึ่งมีบทบาทสำคัญในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของชุมชนคีรีวงนั้นประกอบด้วย ผู้นำที่เป็นทางการ ได้แก่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกอบต. และผู้นำที่ไม่เป็นทางการ ได้แก่ ผู้อาวุโส ประธาน และ กรรมการ กลุ่มองค์กรในชุมชน โดยกลุ่มผู้นำเหล่านี้ต่างมีบทบาทร่วมกันในฐานะคณะกรรมการชมรม การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์บ้านคีรีวง นับตั้งแต่การก่อตั้ง ชมรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์บ้านคีรีวง รวมไปถึง การกำหนดแผนการจัดการ และ กฎ ระเบียบ การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร การดูแลและบริการนักท่องเที่ยว รวมทั้งการแก้ไขปัญหา 4. ปัญหาในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของชุมชนคีรีวงเกิดขึ้นจาก 1) ปัจจัยภายในชุมชน ได้แก่ ความสับสนด้านข้อมูล ความขัดแย้งระหว่างผู้นำ การประสานงานไม่ราบรื่น ชาวบ้านให้ความสำคัญกับอาชีพการทำสวน การปฏิบัติบางอย่างขัดแย้งกับแนวคิดการอนุรักษ์ ประธานชมรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์บ้านคีรีวงขาดอำนาจ และ อบต. ไม่ดำเนินการ 2) ปัญหาที่เกิดจากปัจจัยภายนอก ได้แก่ การรุกจาก ททท. จนชุมชนตั้งรับไม่ทัน ส่วนแนวทางการแก้ไขปัญหาในทรรศนะของชาวคีรีวง คือ ใช้ความสัมพันธ์ในระบบเครือญาติ การเลือกตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ เปลี่ยนแปลงแผนการจัดการท่องเที่ยวของชุมชนใหม่ และให้อบต.เข้ามามีบทบาทในการออกข้อบังคับ รวมทั้งแผนการจัดการในเชิงนโยบาย
Other Abstract: The objective of this research is to study the perceptions of Keereewong community members toward the concept of ecotourism, communication patterns in managing the ecotourism in Keereewong community, roles of community leaders, problems and their solutions in managing ecotourism. A qualitative research with the ethnographic approach was applied. The participant observation technique and in-dept interviewing technique were used to collect data from 31 samples in Keereewong community. The results are as follows: 1. The people in Keereewong perceived the ecotourism as the conservative tourism in terms of its non destruction, local accommodation and local participation. 2. Four communication patterns are found : informal two-way communication ; formal two-way communication with high interaction ; formal two-way communication with less interaction and informal one-way communication. 3. The leaders in Keereewong are the formal and informal leaders. The formal leaders include village chief, village headmen, members of district administrative council. The informal leaders include senior citizen, leaders and members of the local organizations. These leaders take part as members of ecotourism in Keereewong by setting up the working group, implementing ecotourism plan and regulations and providing information and services to tourists. 4. The problems of ecotourism management in Keereewong community come from both internal and external factors. The internal factors include information confusion, conflict among local leaders, irregulation cooperation, etc. The external factor include TOT's over reaction. The local solutions suggested by the villagers include : applying the kinship relation, election new committee members, reforming the management system and increasing the responsibility district administrative council.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตรพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10342
ISBN: 9743323635
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nopparat_Mu_front.pdf1.04 MBAdobe PDFView/Open
Nopparat_Mu_ch1.pdf927.1 kBAdobe PDFView/Open
Nopparat_Mu_ch2.pdf1.55 MBAdobe PDFView/Open
Nopparat_Mu_ch3.pdf786.55 kBAdobe PDFView/Open
Nopparat_Mu_ch4.pdf1.47 MBAdobe PDFView/Open
Nopparat_Mu_ch5.pdf1.12 MBAdobe PDFView/Open
Nopparat_Mu_back.pdf1.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.