Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10357
Title: มัลติยูสเซอร์ดีเทกชันแบบป้อนกลับที่ใช้กระบวนการปรับอัตโนมัติชนิดบอดสำหรับระบบการสื่อสารแบบแบ่งแยกด้วยรหัสชนิดไดเรกต์ซีเควนซ์
Other Titles: Blind adaptive decorrelating decision feedback multiuser detection for DS-CDMA
Authors: เพียรพร หลินประเสริฐ
Advisors: สมชาย จิตะพันธ์กุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Somchai.J@chula.ac.th
Subjects: การเข้าถึงแบบหลายทางด้วยการแบ่งรหัส
ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้เสนอการนำกระบวนการปรับอัตโนมัติแบบบอดมาใช้ลดความซับซ้อนในกระบวนการทำงานของมัลติยูสเซอร์ดีเทกชันแบบป้อนกลับซึ่งใช้ในการกำจัดสัญญาณแทรกสอดระหว่างผู้ใช้ที่สถานีฐานของระบบการสื่อสารแบบแบ่งแยกด้วยรหัสชนิดไดเรกต์ซีเควนซ์ เริ่มจากใช้อัลกอริทึมบูตสแทรปในการปรับค่าน้ำหนักถ่วงของวงจรกรองป้อนไปข้างหน้าเพื่อกำจัดสัญญาณแทรกสอดจากผู้ใช้ที่มีกำลังต่ำกว่าผู้ใช้ที่ต้องการ หลังจากนั้นจะกำจัดสัญญาณแทรกสอดจากผู้ใช้ที่เหลือโดยส่วนป้อนกลับซึ่งใช้กระบวนการปรับค่าน้ำหนักถ่วงโดยอาศัยหลักการลดค่าเฉลี่ยกำลังของสัญญาณก่อนตัดสินบิต พิจารณาในระบบซิงโครนัสซึ่งส่งผ่านช่องสัญญาณที่มีการรบกวนจากสัญญาณรบกวนเกาส์เซียนแบบขาวโดยใช้ค่า BER เป็นตัววัดสมรรถนะของระบบ ผลการจำลองระบบพบว่าเครื่องรับชนิดบอดนี้ให้สมรรถนะที่ใกล้เคียงกับมัลติยูสเซอร์ดีเทกชันแบบป้อนกลับชนิดค่าน้ำหนักถ่วงคงที่ในกรณีที่สัญญาณรบกวนเท่ากัน เช่น ที่ SNR 12 dB เมื่อมีผู้ใช้ในระบบ 4 คน และสเปรดด้วยโกลล์โค้ดขนาด 7 บิต ในกรณีควบคุมกำลังส่งสมบูรณ์เครื่องรับแบบบอดนี้มีค่า BER เป็น 0.0017 ในขณะที่เครื่องรับชนิดค่าน้ำหนักถ่วงคงที่มีค่า BER เป็น 0.0013 นอกจากนั้นความทนทานต่อปรากฏการณ์ใกล้-ไกลของเครื่องรับทั้งสองจะเป็นไปในลักษณะเดียวกันด้วย เช่น กรณีระบบ 4 คน และสเปรดด้วยโกลล์โค้ดขนาด 7 บิต เครื่องรับทั้งสองจะมีค่า BER ไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อกำลังของผู้ใช้คนอื่นๆ สูงกว่าผู้ใช้ลำดับที่ 4 มากกว่า 5 dB เช่นเดียวกัน และเครื่องรับทั้งสองจะให้ความจุของระบบใกล้เคียงกันด้วย เช่น ที่ค่า BER เฉลี่ยของระบบเป็น 10 -2 เครื่องรับทั้งสองจะสามารถรองรับผู้ใช้ในระบบได้ 19 คน เท่ากันเมื่อใช้สเปรดดิงโค้ดแบบสุ่มขนาด 31 บิต แต่เครื่องรับแบบบอดนี้จะมีความทนทานต่อความผิดพลาดในการซิงโครไนซ์สัญญาณที่เครื่องรับได้ดีกว่าเครื่องรับชนิดค่าน้ำหนักถ่วงคงที่ เช่น เมื่อผู้ใช้ในลำดับแรกซิงโครไนซ์สัญญาณผิดไป 0.5 ชิฟ เครื่องรับแบบบอดมีค่า BER เป็น 0.0255 ในขณะที่เครื่องรับชนิดค่าน้ำหนักถ่วงคงที่จะมีค่า BER ถึง 0.1823 เมื่อพิจารณาในระบบ 4 คน และสเปรดด้วยโกลล์โค้ดขนาด 7 บิต
Other Abstract: This thesis presented blind adaptive algorithms for reducing the complexity of decorrelating decision feedback multiuser detection (DDFMD). The DDFMD has been used to eliminate multiple access interference (MAI) at the base station in the DS-CDMA system. Bootstrap algorithm was used at feed forward filter to eliminate the MAI of weaker users from desired user, and the minimum Mean Output Energy (MOE) criterion was used to cancel the remaining MAI at feedback filter. Considering synchronous system transmitting over an AWGN channel, BER was used to measure performances of the system. The results showed that the performance of this blind adaptive DDFMD was closed to the performance of the fixed weight DDFMD at the same noise condition. For the 4-users system using gold code of length 7, at SNR 12 dB in perfect power control case, the BER of this blind adaptive detector was 0.0017 close to 0.0013 of the fixed weight detector. Moreover, the near-far resistance of both detectors had the same characteristic. Both detectors had stable BER when the power of interferences was 5 dB larger than that of desired user in the 4-users system using Gold code, spreading gain of 7. Likewise, the capacity of both detectors had the same characteristic. When the BER of 31 lengths random code system was 10 -2, the blind adaptive receiver was able to support 19 users as was the fixed weight receiver. However, this blind adaptive detector had more robustness to synchronize error at receiver than the fixed weight detector did. The BER of the blind adaptive receiver was 0.0255 which is much less than the BER of the fixed weight detector, 0.1823, when the 0.5 chip synchronize error occurred to the first user in the 4-users system using gold code of length 7.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมไฟฟ้า
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10357
ISBN: 9743338128
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pianporn_Li_front.pdf1.35 MBAdobe PDFView/Open
Pianporn_Li_ch1.pdf1.4 MBAdobe PDFView/Open
Pianporn_Li_ch2.pdf1.85 MBAdobe PDFView/Open
Pianporn_Li_ch3.pdf1.54 MBAdobe PDFView/Open
Pianporn_Li_ch4.pdf3.8 MBAdobe PDFView/Open
Pianporn_Li_ch5.pdf830.58 kBAdobe PDFView/Open
Pianporn_Li_back.pdf1.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.