Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10454
Title: การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานสู่การรับรองคุณภาพโรงพยาบาลของบุคลากร โรงพยาบาลศรีธัญญา กรมสุขภาพจิต
Other Titles: The participation of personnel in proceeding toward hospital accreditation at Srithanya Hospital Mental Health Department
Authors: เสาวภา สรานพกุล
Advisors: บุรณี กาญจนถวัลย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Buranee.K@Chula.ac.th
Subjects: โรงพยาบาลศรีธัญญา
โรงพยาบาล -- การรับรองคุณภาพ
โรงพยาบาล -- การจัดการ -- การมีส่วนร่วมของลูกจ้าง
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษานี้เป็นเชิงพรรณนา ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับของการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานสู่การรับรองคุณภาพโรงพยาบาลของบุคลากรโรงพยาบาลศรีธัญญา และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วม ตัวอย่างจำนวน 335 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายแบบมีชั้นภูมิ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถามเกี่ยวกับ ปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้ ภาวะผู้นำองค์การ ความสัมพันธ์กับผู้ร่วมงาน ความผูกพันองค์การ การยอมรับและต้องการมีส่วนร่วมซึ่งพัฒนาจากแบบวัดของ กมลชนก รักขิตธรรม ที่ศึกษาการมีส่วนร่วมของแพทย์และพยาบาลในการพัฒนาคุณภาพหน่วยงานเพื่อมุ่งสู่การรับรองคุณภาพโรงพยาบาล และแบบสอบถามการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลซึ่งพัฒนาจากแบบวัดการมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพ ของ ประภาวดี กุวสาร สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ไค-สแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่าระดับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานสู่การรับรองคุณภาพโรงพยาบาลอยู่ในระดับปานกลาง ระดับความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล ระดับความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำองค์การ ระดับความสัมพันธ์กับหัวหน้างาน ระดับความผูกพันองค์การ ระดับการยอมรับและต้องการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพของบุคลากรอยู่ในระดับสูง ระดับความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานอยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ได้แก่ เพศ อายุ รายได้ ตำแหน่ง ระยะเวลาที่ทำงานและงานที่ได้รับมอบหมายในทีมพัฒนาคุณภาพ ความรู้มีความสัมพันธ์ในระดับต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ P< 0.01 กับความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ความผูกพันองค์การ สำหรับภาวะผู้นำองค์การมีความสัมพันธ์ในระดับค่อนข้างสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ P< 0.01 กับความสัมพันธ์กับหัวหน้างาน และมีความสัมพันธ์ในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ P< 0.01 กับความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ความผูกพันธ์องค์การ การยอมรับและต้องการมีส่วนร่วม สำหรับความสัมพันธ์กับหัวหน้างาน มีความสัมพันธ์ในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p< 0.01 กับความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ความผูกพันองค์การ การยอมรับและต้องการมีส่วนร่วม สำหรับความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน มีความสัมพันธ์ในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p< 0.01 กับความผูกพันองค์การ การยอมรับและต้องการมีส่วนร่วมความผูกพันองค์การ ส่วนความผูกพันองค์การมีความสัมพันธ์ในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ P<0.01 การยอมรับและต้องการมีส่วนร่วม ส่วนปัจจัยที่เกี่ยวข้องที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานในระดับต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ P<0.01 ได้แก่ ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ความผูกพันองค์การ การยอมรับและต้องการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน แต่เมื่อได้ควบคุมตัวแปรอื่น ๆ พบว่าปัจจัยที่เกี่ยวข้องที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานในระดับต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ P<0.01 ได้แก่การยอมรับและต้องการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน
Other Abstract: This descriptive research aimed to study the participation of personnel in proceeding toward Hospital Accreditation at Srithanya Hospital as well as related factors. The subjects were 335 personnels gathered by stratified simple random sampling. The questionaires developed from Kamonchanok Rakittham were used to measure including the personal data, knowledge, organization‘s leadership, personnel's relationship, organization's commitment, personnel's adoption and need to participate. The participation questionaire was developed from Prapavadee Kuvasarn. The data was analyzed by frequency, percentage, mean, Chi-square and Pearson correlation coefficient. The result showed that the level of personnel's participation in proceeding toward Hospital Accreditation was moderate level. The level of personnel's knowledge, the personnel's opinion about organization's leadership, the personnel’s relationship, the organization's commitment and the personnel's adoption were high level. There were significant correlation (p-value < 0.05) between the participation and personal factors such as sex, age, income, position and the length of working. There were significant correlation (p< 0.01) at mild level between knowledge and personnel's relationship and organization's commitment. Organization's leadership had significant correlation (p< 0.01) at mild level with personnel's relationship, organization's commitment and personnel's adoption. There was signficant correlation (p< 0.01) at moderate level between organization's commitment and personnel's adoption. There were significant correlation(p< 0.01) at mild level between the personnel's participation and the personnel's relationship, the organization's commitment and the personnel's adoption. After another factors were adjusted, it was found that the personnel's adoption was significantly correlated (p<0.01) at mild level to the personnel's participation in proceeding toward Hospital Accreditation.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขภาพจิต
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10454
ISBN: 9741716338
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Saowapa.pdf951.09 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.