Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10500
Title: การศึกษาแนวทางการจัดการเศษสิ่งก่อสร้างในประเทศไทย
Other Titles: A study of construction waste management in Thailand
Authors: จิรานุวัฒน์ จันทร์จร
Advisors: ธนิต ธงทอง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: fcettt@eng.chula.ac.th, Tanit.T@Chula.ac.th
Subjects: วัสดุและอุปกรณ์ก่อสร้าง
การกำจัดขยะ
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในโครงการก่อสร้างจำเป็นต้องใช้วัสดุและอุปกรณ์ก่อสร้างจำนวนมาก ทำให้เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงปัญหาเศษสิ่งก่อสร้างที่เกิดขึ้นได้ และปัจจุบันในประเทศไทยยังขาดการศึกษาวิธีการจัดการเศษสิ่งก่อสร้างที่มีประสิทธิภาพอันนำไปสู่การลดค่าใช้จ่ายของผู้รับเหมา รวมถึงผลดีต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นโครงการวิจัยนี้จึงศึกษาหาแนวทางในการจัดการกับเศษสิ่งก่อสร้างจากโครงการก่อสร้างในประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์ย่อยเพื่อศึกษาสาเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิดเศษสิ่งก่อสร้าง และศึกษาลักษณะองค์ประกอบของเศษสิ่งก่อสร้างจากโครงการก่อสร้างในประเทศไทย ซึ่งขอบเขตการศึกษาเป็นการศึกษาเฉพาะเศษสิ่งก่อสร้าง (Construction Waste) ที่เกิดขึ้นในระหว่างการก่อสร้างเท่านั้น ไม่รวมถึงเศษสิ่งก่อสร้างจากการรื้อถอน (Demolition Waste) ขยะชุมชนจากคนงานก่อสร้าง และการศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอันเนื่องจากเศษสิ่งก่อสร้าง โครงการวิจัยนี้ใช้ข้อมูลจากโครงการก่อสร้างอาคาร ที่มีมูลค่าโครงการตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไปและอยู่ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 32 โครงการ ซึ่งเก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์ผู้รับเหมาหรือผู้ควบคุมงาน เพื่อนำข้อมูลไปศึกษาหาลักษณะองค์ประกอบของเศษสิ่งก่อสร้างในโครงการก่อสร้างของไทย และศึกษาถึงอิทธิพลต่อการเกิดเศษสิ่งก่อสร้างของฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง โดยใช้หลักการทางสถิติเชิงอนุมาน (Inference Statistics) ได้แก่ การวิเคราะห์ความแปรปรวน (Analysis of Variance ANOVA) และการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเลขคณิตระหว่างสองกลุ่มโดยวิธีของเชฟเฟ (Scheffe’ Test for All Possible Comparrison) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.10 สำหรับการศึกษาสาเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิดเศษสิ่งก่อสร้าง ได้ศึกษาเกี่ยวกับสาเหตุของการเกิดเศษสิ่งก่อสร้างเนื่องจากการใช้วัสดุก่อสร้างแต่ละชนิด ได้แก่ ไม้ คอนกรีตและวัสดุผสมคอนกรีต แบบหล่อคอนกรีต เหล็ก เสาเข็ม สี วัสดุก่อ วัสดุปูพื้น วัสดุมุงหลังคา และวัสดุแผ่นสำเร็จรูป โดยใช้หลักการทางสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ได้แก่ การหาค่าสัดส่วน ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่าผู้รับเหมาและผู้ควบคุมงานก่อสร้างอาคารในอุตสาหกรรมก่อสร้าง มีความเห็นว่าองค์ประกอบของเศษสิ่งก่อสร้างที่มีปริมาณมากที่สุด คือ เศษไม้ รองลงมาคือเศษสิ่งก่อสร้างจำพวกคอนกรีต กรวด หิน ทราย เหล็ก วัสดุก่อและกระดาษ สำหรับเศษสิ่งก่อสร้างที่มีปริมาณน้อยในลำดับต่อไป ได้แก่ วัสดุปูพื้น พลาสติก วัสดุแผ่นสำเร็จรูป วัสดุมุงหลังคา อลูมิเนียม และสี ส่วนเศษสิ่งก่อสร้างที่มีจำนวนน้อยที่สุด คือ ยาง สำหรับสาเหตุของการเกิดสิ่งก่อสร้างเนื่องจากการใช้วัสดุก่อสร้างชนิดต่างๆส่วนใหญ่เกิดจากการขาดการวางแผนการใช้วัสดุก่อสร้าง การออกแบบโดยไม่คำนึงถึงเศษก่อสร้าง การกองเก็บวัสดุก่อสร้างไม่ดี และความเสียหายเนื่องจากการขนส่งและขนย้าย เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้ควบคุมงาน ผู้รับเหมา และคนงานก่อสร้าง มีอิทธิพลต่อการเกิดเศษสิ่งก่อสร้างได้มากกว่า เจ้าของโครงการ ผู้บริหารโครงการ ผู้ออกแบบ และผู้จำหน่ายวัสดุ ที่ระดับความผิดพลาดของการสรุปผลร้อยละ 10
Other Abstract: As a large number of materials and equipment were used in the construction projects, the construction waste was unavoidably increased. Unfortunately, a management of construction waste in Thailand was insufficient and ineffective thus led to an increase in construction cost and environmental problems. This research is to study the method of managing the construction waste in Thailand and analyze causes and contributing factors that are associated with the construction waste. However, this research concerned only waste that was occurred during construction phase. The demolition waste, the waste from labor’s consumption and the effect of waste to environment were not covered in this research. This research compiled information from 32 construction projects in Bangkok where their construction cost were more than five million baht. The interviews and questionnaires were used to collect the data of construction waste. Inference Statistics, by means of Analysis of Variance - ANOVA and Scheffe' Test for All Possible Comparison at significance level of 10 percent, were employed to determine the characteristics of construction waste and the influence from all parties involved in the particular construction projects to construction waste. Descriptive Statistics, by means of the proportion, arithmetic mean and standard deviation, was used to analyze the cause of construction waste such as timber, concrete, formwork, steel, pile, paint and so on. The conclusion from this research is that the construction waste, arranged accordingly to its quantity from maximum to minimum, are timber, concrete, aggregate, brick, paper, tile, roof tile, paint and rubber waste. The major causes of construction waste are the lack of plan for using materials, the ignorance to consider waste during design process, unsuitable stock, damage from delivery and transportation. Besides, the influence from the contractors and labor are more directly associated with construction waste than that from the owners, consultants, designers and suppliers.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10500
ISBN: 9741721021
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chiranuwad.pdf6.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.