Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10536
Title: การวิเคราะห์ต้นทุนกิจกรรมการบริการพยาบาล ตามระบบต้นทุนกิจกรรม:หอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์
Other Titles: Cost analysis of nursing service activities based on activity-based costing system: in-patient units, Yuwaprasatwaitayopathum Hospital
Authors: บุญรื่น ไชยชนะ
Advisors: พวงทิพย์ ชัยพิบาลสฤษดิ์
วรศักดิ์ ทุมมานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Puangtip.C@Chula.ac.th
Vorasak.T@chula.ac.th
Subjects: การวิเคราะห์คุณค่า (การควบคุมต้นทุนการผลิต)
ต้นทุนและประสิทธิผล
การพยาบาลจิตเวชศาสตร์
โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนกิจกรรมในการบริการพยาบาลจิตเวชเด็กและวัยรุ่น ในหอผู้ป่วยใน ทั้งหมด 4 หอผู้ป่วย โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์ โดยใช้ระบบต้นทุนกิจกรรม ที่แยกออกมาเป็นอิสระจากระบบบัญชี (Stand-alone Personal Computer Based System) ใช้วิธีการสัมภาษณ์กลุ่ม ผู้บริหารทางการพยาบาล 11 คน เพื่อวิเคราะห์กิจกรรม ระบุกิจกรรมและระบุตัวผลักดันกิจกรรม ได้กิจกรรมปฐมภูมิ 19 กิจกรรม และกิจกรรมทุติยภูมิ 1 กิจกรรม นำมาจัดเข้าศูนย์กิจกรรมได้ 12 ศูนย์กิจกรรม รวบรวมค่าใช้จ่ายต่างๆ และปันส่วนต้นทุนเข้าไปในกิจกรรม ตามเกณฑ์ที่เหมาะสม ซึ่งได้คำนึงถึงผลประโยชน์ที่จะได้รับ และต้นทุนในการเก็บรวบรวมข้อมูล เครื่องมือที่ใช้มี 13 ชุด ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้น ผ่านการตรวจความตรงตามเนื้อหา จากผู้ทรงคุณวุฒิ 4 ใน 5 คน ใช้เวลาในการรวบรวมข้อมูล 3 เดือน คือ ตั้งแต่เดือน มกราคม ถึง มีนาคม พ.ศ. 2545 ผลการวิเคราะห์ต้นทุนพบว่า ต้นทุนการบริการพยาบาล ในหอผู้ป่วยใน รวมทั้งสิ้น 3,679,554.64 บาท ประกอบด้วย ต้นทุนค่าแรงทางตรง เท่ากับ 2,045,058.14 บาท และ ต้นทุนค่าใช้จ่าย (รวมค่ายา) เท่ากับ 1,634,496.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 55.58 และ 44.42 สัดส่วนต้นทุนค่าแรงทางตรงของพยาบาลวิชาชีพ: พยาบาลเทคนิค: ผู้ช่วยเหลือคนไข้ เท่ากับ 1.28: 1: 1.26 กิจกรรมที่มีต้นทุนค่าแรงทางตรงสูงที่สุด คือ การส่งเสริมพัฒนาการและฟื้นฟูสมรรถภาพทางอารมณ์และสังคม รองลงมา คือ การดูแลทั่วๆ ไป เท่ากับ 515,720.28 บาท และ 395,470.98 บาท กิจกรรมที่มีต้นทุนค่าใช้จ่าย สูงที่สุด คือ การดูแลทั่วๆ ไป รองลงมา คือ การส่งเสริมพัฒนาการและฟื้นฟูสมรรถภาพทางอารมณ์และสังคม เท่ากับ 397,389.72 บาท และ 361,624.27 บาท กิจกรรมที่มีต้นทุนรวมสูงที่สุด คือ การส่งเสริมพัฒนาการและฟื้นฟูสมรรถภาพ ทางอารมณ์และสังคม รองลงมา คือ การดูแลทั่วๆ ไป เท่ากับ 877,344.55 บาท และ 792,860.70 บาท กิจกรรมที่มีต้นทุนรวมต่อรายสูงที่สุด คือ การพยาบาลที่ให้กับครอบครัว รองลงมา คือ การจำหน่ายผู้ป่วย เท่ากับ 1,274.32 บาท/ราย และ1,037.44 บาท/ราย กิจกรรมที่มีต้นทุนรวมต่อครั้งสูงที่สุด คือ การพัฒนาทักษะการดูแลตนเอง รองลงมา คือ การส่งเสริมพัฒนาการและฟื้นฟูสมรรถภาพทางอารมณ์และสังคม เท่ากับ 3,054.58 บาท/ครั้ง และ 1,642.97 บาท/ครั้ง กิจกรรมที่มีต้นทุนรวมสูงที่สุดในผู้ป่วยประเภทที่ 1 และ 4 คือ การดูแลทั่วๆ ไป และในผู้ป่วยประเภทที่ 2 และ 3 คือ การส่งเสริมพัฒนาการและฟื้นฟูสมรรถภาพทางอารมณ์และสังคม เท่ากับ 16,258.95 บาท 68,834.28 บาท 575,378.55 บาท และ 226,289.04 บาท ตามลำดับ กิจกรรมที่มีต้นทุนรวมต่อรายสูงที่สุดในผู้ป่วยประเภทที่ 1 และ 2 คือ การรับใหม่ และในผู้ป่วยประเภทที่ 3 และ 4 คือ การพัฒนาทักษะการดูแลตนเอง เท่ากับ 723.13 บาท/ราย 672.65 บาท/ราย 302.54 บาท/ราย และ 201.35 บาท/ราย ตามลำดับ
Other Abstract: The purpose of this research was to analyze the costs of nursing activities at the four in-patient units of the Yuwaprasatwaitayoprathum Hospital. The analysis was performed by using the Activity-Based Costing system (ABC) separated from its existing accounting system (Stand-alone Personal Computer Based System). Focus group discussion was conducted with 11 nurse administrators to spell out the macro activities. The activities and activity drivers were then identified. There were 19 primary activities and 1 secondary activity that were assigned into 12 activity pools or activity centers. Collection of overhead cost and cost allocation to activities were performed under appropriate criteria of high benefits and low cost of the measurement. The thirteen form instruments were developed for data collection in the period of 3 months, from January to March 2002. Major findings were as follows: all cost of nursing service was ฿3,679,554.64. The cost divided into direct labor cost ฿2,045,058.14 (55.58%) and overhead cost (include medicine) ฿1,634,496.50 (44.42%). The ratio of labor cost among professional nurses: technical nurses: nurse aides was 1.28: 1: 1.26. Social development and rehabilitation consumed highest labor cost ฿515,720.28 with overhead cost consumed mostly in general caring ฿397,389.72. Total cost of social development and rehabilitation was the highest ฿877,344.55 and general caring was secondary level ฿792,860.70. Cost per patient day was highest in caring to the family of ฿1,274.32 and discharge was secondary level ฿1,037.44. Cost per batch was highest in self-care training ฿3,054.58 and social development and rehabilitation was secondary level ฿1,642.97. Highest total cost in patient level 1 and level 4 was general caring and in patient level 2 and level 3 was social development and rehabilitation ฿16,258.95; ฿68,834.28; ฿575,378.55; and ฿226,289.04 respectively. Highest cost per patient day in patient level 1 and level 2 was admission and in patient level 3 and level 4 was self-care training ฿723.13; ฿672.65; ฿302.54; and ฿201.35 respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบริหารการพยาบาล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10536
ISBN: 9741712367
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Boonruen.pdf1.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.