Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10583
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพิมพันธ์ เดชะคุปต์-
dc.contributor.authorจารุณี วัยเจริญ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2009-08-27T09:11:49Z-
dc.date.available2009-08-27T09:11:49Z-
dc.date.issued2545-
dc.identifier.isbn9741725132-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10583-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545en
dc.description.abstractศึกษา 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ที่เรียนโดยใช้บันทึกการเรียนรู้ 2) ความคงทนของผลการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ที่เรียนโดยใช้บันทึกการเรียนรู้ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ต่อการเขียนบันทึกการเรียนรู้ 4) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ระหว่างกลุ่มที่เรียนโดยใช้บันทึกการเรียนรู้ และกลุ่มที่เรียนโดยไม่ใช้บันทึกการเรียนรู้ และ 5) เปรียบเทียบความคงทนของผลการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ ระหว่างกลุ่มที่เรียนโดยใช้บันทึกการเรียนรู้ และไม่ใช้บันทึกการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนศรีอยุธยา โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มทดลอง 56 คนและกลุ่มควบคุม 56 คน เรียนโดยใช้บันทึกการเรียนรู้และไม่ใช้บันทึกการเรียนรู้ ตามลำดับ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ที่มีค่าระดับความยากอยู่ระหว่าง 0.15-0.75 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.20-0.70 และค่าความเที่ยง 0.83 2) แบบสอบถามความพึงพอใจ ต่อการเขียนบันทึกการเรียนรู้ และ 3) แบบสัมภาษณ์ความพึงพอใจต่อการเขียนบันทึกการเรียนรู้ นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัชฌิมเลขคณิตร้อยละ สถิติทดสอบค่าที ( t-test ) และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนที่เรียนโดยใช้บันทึกการเรียนรู้ ได้คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดคือต่ำกว่า 70% 2. นักเรียนที่เรียนโดยใช้บันทึกการเรียนรู้ มีความคงทนของผลการเรียนรู้ 3. นักเรียนที่เรียนโดยใช้บันทึกการเรียนรู้ มีความพึงพอใจต่อการเขียนบันทึกการเรียนรู้ในระดับปานกลาง 4. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ที่เรียนโดยใช้บันทึกการเรียนรู้ ไม่แตกต่างจากนักเรียนที่เรียน โดยไม่ใช้บันทึกการเรียนรู้ อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 5. ความคงทนของผลการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ที่เรียนโดยใช้บันทึกการเรียนรู้แตกต่างจากนักเรียน ที่เรียนโดยไม่ใช้บันทึกการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05en
dc.description.abstractalternativeTo study 1) science learning achievement of lower secondary student learning by using learning logs 2) retention of lower secondary students learning by using learning logs 3) satisfaction on writing learning logs of lower secondary students learning by using learning logs 4) compare science learning achievement between the groups learning by using and non-using learning logs and 5) compare retention between the groups learning by using and non-using learning logs. The samples were two groups of mathayom suksa one students of Sri-Ayudhya school devided into two groups : an experimental group with 56 students and controlled group with 56 students, learning by using and non-using learning logs respectively. The research instruments were 1) a science learning achievement test. The difficulty level were 0.15-0.75, the discriminative level were 0.20-0.70 and the reliability was 0.83 2) an questionnairs for surveying students' satisfaction on writing learning logs and 3) the interview form for surveying students' satisfaction on writing learning logs. The collected data were analyzed by means of arithmetic, mean, standard deviation, mean of percentage, t-test and content analysis. The research finding were summarized as follows 1. The average score of science learning achievement of the students learning by using learning logs was lower then criteria of 70%. 2. The student was learning by using learning logs have retention of learning. 3. Generally, satisfaction of the students on writing learning logs was at the medium level, 4. The science learning achievement of students learning by using learning logs was not different from those learning by non-using learning logs at the 0.05 level of significance. 5. The retention of students learning by using learning logs was different from those learning by non-using learning logs at the 0.05 level of significance.en
dc.format.extent2845274 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2002.784-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectวิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)en
dc.subjectผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนen
dc.titleผลการเรียนโดยใช้บันทึกการเรียนรู้ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ความคงทนของผลการเรียนรู้ และความพึงพอใจต่อการเขียนบันทึกการเรียนรู้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นen
dc.title.alternativeEffects of using learning logs on science learning achievement and retention, and the satisfaction of writing learning logs of lower secondary school studentsen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการศึกษาวิทยาศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorPimpan.d@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2002.784-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jarunee.pdf2.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.