Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10584
Title: การเพิ่มอัตราการกระจายตัวของเจ็ทระนาบและเจ็ทระนาบแบบวิ่งชนผนัง โดยใช้การปรับเปลี่ยนรูปแบบปากทางออก
Other Titles: Growth rate enhancement for plane jet and impinging plane jet by means of manipulation of a nozzle exit
Authors: ชมพิชาน์ คูหิรัญ
Advisors: อศิ บุญจิตราดุลย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Asi.B@Chula.ac.th
Subjects: เจ็ต -- พลศาสตร์ของไหล
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาผลของการปรับเปลี่ยนรูปแบบปากทางออก ที่มีต่อลักษณะการกระจายตัวของเจ็ทระนาบ (Plane jet) และเจ็ทระนาบแบบวิ่งชนผนัง (Impinging plane jet) โดยการปรับเปลี่ยนรูปแบบปากทางออกของเจ็ททั้งสองแบบนั้น ใช้โหลบรูปทรงคล้ายปิรามิดซึ่งมีความยาวคาบต่างกันสองค่าคือ 2 และ 4 เท่าของขนาดความกว้างปากทางออกเจ็ท (h) ตามลำดับ โดยในงานวิจัยนี้พิจารณาผลการกระจายตัวของอุณหภูมิของเจ็ทร้อนทั้งสองแบบ จากผลการทดลองในส่วนของการลดลงของสัมประสิทธิ์อุณหภูมิ (CTG) นั้นพบว่า ในแนวฐานโหลบชนกันนั้นการลดลงของอุณหภูมิลดลงอย่างมีความต่อเนื่อง ในขณะที่ลักษณะการลดลงของอุณหภูมิในแนวยอดโหลบชนกันนั้น เกิดมีจุดอุณหภูมิต่ำสุดและสูงสุดในบริเวณ Near field และในบริเวณ Near field นี้อุณหภูมิจะลดลงเร็วกว่าหากเปรียบเทียบกับกรณีไม่ติดโหลบ เมื่อพิจารณาผลการกระจายตัวของอุณหภูมิในแนวแกนยาว ของหน้าตัดทางออกเจ็ทที่ตำแหน่งต่างๆตามแนวการไหล พบว่าการกระจายตัวมีลักษณะเป็นคลื่นซึ่งเป็นไปตามลักษณะของโหลบโดยในบริเวณ Near field จำนวนลูกคลื่นอุณหภูมิมีเท่ากับจำนวนโหลบย่อย ถัดจากนั้นไปตามแนวการไหลจำนวนลูกคลื่นอุณหภูมิจะลดลงเรื่อยๆ จนในที่สุดการกระจายตัวของอุณหภูมิมีความสม่ำเสมอ จะเห็นได้ว่าลักษณะการกระจายตัวของอุณหภูมิดังกล่าวข้างต้นนี้ มีลักษณะอย่างเดียวกันสำหรับการติดโหลบทั้งสองแบบ สำหรับทั้งการไหลแบบเจ็ทระนาบและเจ็ทระนาบแบบวิ่งชนผนัง จากผลการทดลองนั้นโดยทั่วไปแล้วกล่าวได้ว่าโหลบแบบ L140 ซึ่งมีคาบยาวกว่าโหลบแบบ L120 นั้นส่งผลต่อการกระจายตัวของอุณหภูมิได้มากกว่า รวมทั้งการติดโหลบส่งผลต่อการไหลแบบเจ็ทระนาบ ได้มากกว่าการไหลแบบเจ็ทระนาบแบบวิ่งชนผนัง ซึ่งในส่วนรายละเอียดนั้นดูได้ในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้
Other Abstract: The effects of pyramid-like lobed nozzle on the characteristics of a plane jet and a plane impinging jet are investigated. Two lobe sets are used: one with a period (T) twice the nozzle widths (T=2h, L120), the other four times (T = 4h, L140). Heated jet is used and temperature distributions are surveyed. The results show that lobe has effects on the centerline temperature decay such that the decay at the through of the lobe exhibits the rather usual decay while the decay at the peak of the lobe exhibits a local minimum and a local maximum in the near field. In addition, the centerline decay along the peak shows steep decay in the near field region in comparison to the lobe-free nozzle. Furthermore, the spanwise distribution exhibits a periodic temperature distribution with the number of peaks and valleys equal to the number of lobes in the near field. As the flow develops further downstream, the number of peaks and valleys decrease until the spanwise temperature distribution reaches uniformity. These are common characteristic for both sets of lobed nozzle and for both cases of a plane jet and a plane impinging jet. In general, though, it is found that the lobe with longer period (L140) affects temperature distribution more than that with shorter period (L120), and that the lobe affects a plane jet more than a plane impinging jet. Details of temperature distribution are discussed.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเครื่องกล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10584
ISBN: 9741722176
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chompicha.pdf10.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.